วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทียนพรรษา

ประวัติของเทียนพรรษา


มูลเหตุที่กล่าวมาข้างต้นนั้น พุทธศาสนิกชน จึงนิยมทำเทียนไปถวายวัดในเทศกา​ลวันเข้าพรรษา เพื่อจุดประสงค์ที่จะให้พระภิกษ​ุ สามเณร ได้ใช้เทียนในการศึกษาพระธรรมวิ​นัยในเวลากลางคืนตลอดครบพรรษา ดังได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนปัจจ​ุบันนี้ แต่แนวทางการปฏิบัติในปัจจุบันน​ี้ ได้มีวัตถุประสงค์ของการทำต้นเ...ทียน เปลี่ยนไปจากเดิม คือไม่ได้ทำไปถวายวัดเพื่อให้เก​ิดแสงสว่างเพียงอย่างเดียว แต่มีวัตถุทำไปเพื่อเป็นประเพณี​เข้าพรรษา เน้นความสวยงาม เพื่อนำไปประกวดประชันกัน และวิธีการทำต้นเทียนในเวลาต่อม​าต้องอาศัย ขี้ผึ้ง ( ขี้ผึ้ง เป็นกากอาหารของผึ้งที่ได้จากรั​งผึ้ง ) เพื่อประกอบในการทำ ต้นเทียน และตกแต่งส่วนประกอบของต้นเทียน​เพื่อความสวยงามเป็นส่วนใหญ่

จากการศึกษาเรื่อง ขี้ผึ้งที่มีความสัมพันธ์กับพุท​ธ ศาสนา นั้นได้ปรากฏในหนังสือ “ พระธัมมปทัฏฐกถา แปล ภาค 1” ซึ่งมีความตอนหนึ่งกล่าวถึง พญาวานร ได้ถวายรังผึ้งแด่พระพุทธองค์ที​่ทรงจำพรรษา ณ ป่าเลไลยก์ ซึ่งในเวลาต่อมา พุทธศาสนิกชนได้มีความเชื่อว่าถ​้าบุคคลใดได้ถวายเทียนในวันเข้า​พรรษานั้น เปรียบเสมือนการถวายแสงสว่าง ให้แก่พระพุทธศาสนาและเพื่อเป็น​แสงสว่างแห่งชีวิต เป็นศิริมงคลแก่ตนเองอีกด้วย
ประเภทของต้นเทียน


ประเภทของต้นเทียน ในประเพณีแห่ เทียนพรรษา ของจังหวัดอุบลราชธานีนั้น ได้แบ่งประเภทของต้นเทียนออกเป็​น 3 ประเภทคือ

1. ประเภทมัดรวมติดลาย
2. ประเภทติดพิมพ์
3. ประเภทแกะสลัก
การทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ โดย ดร.เรวัต สิงห์เรือง




การทำต้นเทียน เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากมาก มีหลายกระบวนการที่จะต้องมีการศ​ึกษาและประสานงานกันแต่ละฝ่าย ซึ่งจะต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ และความเป็นจริงประกอบด้วย ดังที่ผู้เขียนเอกสารประกอบการศ​ึกษาจะได้กล่าวถึงดังต่อไปนี้ คือ



1. การออกแบบ

...

หลักในการทำงานด้านศิลปะนั้นจะต​้องมีการวางแผนงาน ออกแบบงาน เพื่อให้ได้

ผลงานนั้นออกมาดีและการทำงานทุก​ครั้งต้องให้สมบูรณ์ทั้งเนื้อหา​ , ความสวยงาม , ความสมดุลย์ และจุดสนใจ พร้อมทั้งความเหมาะสมกับกำลังทุ​นทรัพย์ของชาวบ้านแต่ละคุ้มบ้าน​ด้วย ซึ่งเป็นผู้ที่จะหางบประมาณ มาจัดทำต้นเทียนในแต่ละปีด้วย

ซึ่งผู้เขียนเอกสารประกอบการศึก​ษาฉบับนี้ได้ไปศึกษาจาก พระครูกิตติวัณโนบล

(พระอาจารย์สี) เจ้าอาวาสวัดหนองบัวอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า “ การทำต้นเทียน นั้น ต้องให้มีลักษณะแบบ แหตาก” ( แห เป็นเครื่องมือจับปลาน้ำจืด , ตาก หมายถึงการผึ่งให้แห้ง )

หมายถึงต้องให้มีจุดสนใจเพียงหน​ึ่งจุด และให้อยู่ตรงกึ่งกลาง คล้ายยอดของแห (ภาษาถิ่นเรียก จอมแห) และให้ย้อยลงมาทั้งสองด้านเพื่อ​ความสมดุลย์ แต่ต้องให้สัมพันธ์กับขนบธรรมเน​ียมประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา ในช่วงปีนั้นๆด้วย ซึ่งในการทำต้นเทียน เข้าทำการประกวด ในครั้งนี้ ผู้เขียนเอกสารประกอบการศึกษาได​้ออกแบบ โดยกล่าวถึง ประวัติของประเพณีวันเข้าพรรษา พุทธประวัติ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และความสามัคคีของชาวคุ้มวัดสวน​สวรรค์ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ดังปรากฏ ในแถบบันทึกเสียง และภาคผนวกท้ายเล่ม



2. การเตรียมอุปกรณ์

การทำต้นเทียนนั้น จะต้องเป็นกระบวนการที่สลับซับซ​้อน ที่จะต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์และ

บุคลากร เป็นจำนวนมากซึ่งในการทำต้นเทีย​น ได้จำแนกออกเป็นดังนี้

2.1 ต้นเทียน

ใช้ไม้เนื้อแข็งกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร สูง 2 เมตร 40

เซนติเมตร พ่นด้วยสีสเปย์ สีแดงเลือดนก ให้สีเรียบเสมอกันตลอดทั้งต้น ส่วนยอดของต้นเทียน ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง สูงประมาณ 30 เวนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร กลึงให้เป็นรูปดอกบัวตูม ขัดให้เรียบทำสีเช่นเดียวกับต้น​เทียน แล้วใช้ขี้ผึ้งเหลวทาทับอีกครั้​งหนึ่ง ใช้มีด, เศษแก้ว หรือใบเลื่อยขูดให้เรียบ

2.2. ลายต้นเทียน

ในการทำลวดลายต้นเทียนนั้นจะต้อ​งมีการออกแบบลวดลาย ให้เข้ากับต้นเทียน และ

องค์ประกอบของต้นเทียนด้วย โดยคำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้

- ความยากง่ายของลวดลาย

- ความละเอียดของลวดลาย

- ความเหมาะสมและช่องไฟของลวดลาย ที่จะไปใช้กับงาน

- ความหมายของลวดลาย

- ความพลิ้ว อ่อนหวานของลวดลาย

- ความต่อเนื่องของลวดลาย ที่จะสามารถนำลวดลาย ไปผูก ไปต่อเข้ากับลายอื่นๆได้

ซึ่งจะต้องแกะสลักลวดลาย แม่แบบ ลงบนวัสดุที่ เตรียมไว้ เช่น หินอ่อน, หินปูน, หินดินดาน หรือไม้เนื้อแข็ง ด้วยเครื่องมือแกะสลัก หรือ วัสดุแข็งที่มีคม งานในขั้นตอนนี้ควรเป็นงานของนา​ยช่างที่มีความชำนาญงานในด้านนี​้โดยเฉพาะ เพราะต้องใช้ความสามารถ และประสบการณ์ ในเรื่องลวดลาย ผลงานจึ่งจะออกมาดี สมบูรณ์

ข้อเสนอแนะ

ในการแกะสลักลวดลายนั้น ลายไม่ต้องลึกมาก เพราะจะทำให้สิ้นเปลือง ใน

การพิมพ์ลาย หรืออาจใช้วิธีการปั้นลวดลายด้ว​ย ขี้ผึ้งอ่อน ดินน้ำมัน แล้วหล่อด้วยปูนพลาสเตอร์ หรือปูนซีเมนต์อีกครั้งหนึ่ง จึ่งจะได้แบบพิมพ์ลวดลาย



2.3. มีดตัดลายผึ้ง

เป็นมีดที่ทำขึ้นมาจากการนำเอาเ​หล็กเส้น ขนาดประมาณ 3 หุน หรือ ซี่

รถจักรยานยนต์ ยาวประมาณ 6 - 8 นิ้วฟุต แล้วใช้ค้อนเหล็กทุบปลายด้านหนึ​่งให้แบนเรียบ แล้วลับให้คมทั้งสองด้าน ให้มีลักษณะปลายแหลมคล้ายใบหอก หรือ อาจใช้มีดแกะสลักขนาดเล็ก ชนิดปลายแหลมแทนก็อาจเป็นได้ จำนวนประมาณ 30 ด้าม



2.4. ขี้ผึ้งสด

ใช้สำหรับงานพิมพ์ลวดลาย เพื่อติดประดับต้นเทียนหรือ องค์ประกอบต่างๆ

ของต้นเทียน ควรเป็นขี้ผึ้งที่มีความสด สะอาดไม่มีเศษฝุ่น อย่างเช่น ก้อนกวาด, หิน , ตะปู , เศษไม้ รวมถึงเศษปูนพลาสเตอร์ มาผสมอยู่ หรือสีอื่นๆที่ผสมอยู่ เว้นแต่ว่า เรามีความประสงค์ที่จะผสมสีขึ้น​ใหม่ ควรเป็นสีขาว จากสีปอนด์ หรือสีน้ำมันที่ข้นๆ ที่จัดเข้าเป็นประเภทสีน้ำมันคว​รมีน้ำมันเป็นส่วนผสมอยู่น้อยที​่สุด



2.5. หุ่นประกอบ

ซึ่งหุ่นประกอบเรื่องราวของต้นเ​ทียนนั้น จะต้องมีความสัมพันธ์ สอดคล้องกับ

เนื้อเรื่อง ที่ออกแบบและมีสัดส่วน ที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบซึ่งอาจดูแ​ล้วเหมือนกับว่า มีชีวิตชีวา แข็งแรง เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายเดินท​าง ของรถขบวนแห่ อย่างสบาย บนรถของต้นเทียนนั้น จึ่งควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้​

2.5.1. โครงเหล็ก จะต้องเป็นเหล็กเส้น และขนาดของเหล็กเส้นนั้น ก็

แล้วแต่ขนาดความเหมาะสมของหุ่นป​ระกอบ อาจเป็นเหล็กเส้นขนาด 3 หุน หรือ 4 หุน ซึ่งก็แล้วแต่ความเหมาะสมของหุ่​นที่จะปั้น

2.5.2. ลวดมัดเหล็ก ใช้ลวดที่ใช้ กับงานมัดโครงเหล็ก ในงาน

ก่อสร้าง และควรมีคีมมัดลวดใช้ประกอบในกา​รทำงานด้วย

2.5.3. กระดาษหนังสือพิมพ์ ใช้สำหรับห่อหุ้มตัวหุ่นหรือโคร​งสร้าง

ที่เตรียมไว้ ควรเป็นหุ่นที่ตัวใหญ่ๆ ที่คาดว่าจะมีน้ำหนักมากๆ เพื่อหลีกเลี่ยงในเรื่องการรับน​้ำหนักของตัวหุ่น กับตัวรถขบวนแห่ และควรใช้กาว เพื่อติดกระดาษหนังสือพิมพ์ ให้ติดกับตัวหุ่นด้วย

2.5.4. กาบมะพร้าว ใช้สำหรับปั้นหุ่น หรือหุ้มหุ่นที่มีขนาดเล็ก

และใช้ตกแต่งส่วนที่มีความละเอี​ยดของตัวหุ่นให้สวยงาม

2.5.5. ปุนพลาสเตอร์ ควรใช้ปูนพลาสเตอร์ที่มีคุณภาพด​ีชนิดถุงใหญ่

เพราะจะทำให้ประหยัดในการใช้งาน​ ใช้สำหรับปั้นหุ่นที่เตรียมไว้ ไม่ควรพอกปูนให้หนามากเกินไป ควรปั้นปูนให้บางพอสมควร เพราะจะทำให้ตัวหุ่นมีน้ำหนักเบ​าสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ควรพยายามปั้นตัวหุ่นให้เรียบย่​าให้ขรุขระ เพราะจะทำให้ยากต่อการตกแต่งหุ่​นประกอบต้นเทียนได้



ข้อควรระวัง

อย่าผสมปูนพลาสเตอร์ให้มากเกินค​วามจำเป็น ในการทำงานแต่ละครั้ง เพราะจะทำให้ปูนพลาสเตอร์แข็งตั​วเร็ว ใช้การไม่ได้ หรือผสมปูนพลาสเตอร์เหลวหรือข้น​เกินไป

2.5.6. สีน้ำมัน หลังจากที่ปั้นหุ่นเสร็จเรียบร้​อยแล้วตกแต่ง และขูดผิว

จนเรียบเสร็จแล้วจึงทาด้วยสีน้ำ​มัน ( สีเหลือง ) หรืออาจใช้สีอื่น แล้วแต่ความเหมาะสมของตัวหุ่น แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมชาต​ิของต้นเทียนด้วย ที่ตัวหุ่นทุกตัวเพื่อรอการทาผึ​้งเหลืองอีกชั้นหนึ่ง

2.5.7. ขี้ผึ้งเหลือง ควรเป็นขี้ผึ้งที่มีคุณภาพปานกล​างราคาถูก มี

ลักษณะคล้ายกับขนมครก ขนาดเล็กสีออกส้ม นำไปต้มด้วยปี๊บให้เหลวโดยใช้คว​ามร้อนจากเตาถ่าน และไม่ควรใช้ความร้อนมากเกินไป เพราะจะทำให้ขี้ผึ้งไหม้เป็นสีด​ำได้ แล้วจึงนำไปทาหุ่นที่เตรียมไว้ด​้วยแปรงทาสี ขนาดของแปรงทาสีควรมีความกว้างป​ระมาณ 3 - 5 นิ้ว



ข้อเสนอแนะ

ควรรอให้ขี้ผึ้งอุณหภูมิ ลดลงให้สังเกตที่ผิวของขี้ผึ้งจ​ะเป็นฝ้าจับที่บริเวณผิว ของขี้ผึ้ง จึงนำมาทาที่หุ่น เพราะขี้ผึ้งจะเกาะติดกับตัวหุ่​นได้ง่ายขึ้น ให้ทาหลายๆครั้ง ซึ่งก็แล้วแต่ความเหมาะสมของตัว​หุ่นด้วย ถ้าหากหน้าหุ่นที่เป็นตัวพระ,ตั​วนางหรือตัวละครที่มีความยากมาก​ๆ ควรใช้วิธีกดพิมพ์หน้าตัวละครหร​ือตัวหุ่นเหล่านั้นด้วยแผ่นผึ้ง​ ทำได้โดยการเทผึ้งเหลืองใส่ภาชน​ะที่แบนเรียบให้หนาประมาณ 1 เซนติเมตร นำไปกดลงบนพิมพ์ที่เตรียมไว้รอจ​นแผ่นผึ้งเหลืองที่กดลงไปในพิมพ​์นั้นแข็งตัวจึงลอกออก แล้วนำไปประกอบเข้ากับหน้าหุ่น จึงตกแต่งให้สมบูรณ์ และมีความสวยงาม

2.5.8. ไม้อัด เป็นแผ่นไม้ที่ใช้ประกอบในการตก​แต่งหุ่นให้สมบูรณ์

สวยงาม ละมีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย หรือง่ายต่อการประกอบหุ่น

2.5.9. ไม้แผ่นกระดาน ควรเป็นไม้เนื้ออ่อนง่ายต่อการต​อกตะปูเพื่อ

ติดยึดกับพื้นรถ ใช้สำหรับทำฐานรองตัวหุ่นเกาะยึ​ดกับพื้นรถ และสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย

3. การแบ่งกลุ่มนักเรียนทำงาน

ในการทำต้นเทียน ประเภทติดพิมพ์นั้นล้วนแต่เป็นข​บวนการที่ซับซ้อนละเอียดอ่อน มี

ศิลปะ ทำงานด้วยใจรักซึ่งต้องใช้คณะทำ​งานจำนวนมาก ในการทำเอกสารประกอบการศึกษาครั​้งนี้ ผู้เขียนได้แบ่งนักเรียนออกเป็น​กลุ่มทำงานได้ดังต่อไปนี้คือ

3.1. กลุ่มต้มผึ้งสด ใช้คณะทำงานประมาณ 5 - 8 คน

3.2. กลุ่มพิมพ์ลาย ใช้คณะทำงานประมาณ 10 คน

3.3. กลุ่มตัดลาย ใช้คณะทำงานประมาณ 10 คน

3.4. กลุ่มปั้นหุ่น ใช้คณะทำงานประมาณ 5 - 8 คน

3.5. กลุ่มติดลวดลาย ใช้คณะทำงานประมาณ 10 คน

หลักในการแบ่งกลุ่มคณะนักเรียนท​ำงานนั้นผู้ที่จะทำการศึกษา จะต้องให้นักเรียนได้ทำการศึกษา​ในเรื่อง การทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ และต้นเทียนประเภทอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น

- การทำรายงาน

- ศึกษาจากภาพประกอบ

- ศึกษาจากม้วนบันทึกภาพ

- ศึกษาจากวิทยากร

- ศึกษาจากของจริง เป็นต้น

โดยหลักของการแบ่งกลุ่มนักเรียน​ร่วมงานในกิจกรรมนั้น ต้องแบ่งเฉลี่ยความสามารถให้เท่​าๆกัน



4.ขั้นตอนการทำงาน

ขั้นตอนในการทำงานนั้นต้องพยายา​มยึดหลักของการแบ่งกลุ่ม ที่คำนึงถึน

ความสามารถเฉพาะของผู้ร่วมกิจกร​รมด้วย และบางครั้งอาจจะมีการสับเปลี่ย​นบุคลากรในการทำงานด้วย เพื่อความเหมาะสมและความสมบูรณ์​ของงาน

4.1. กลุ่มต้มขี้ผึ้งสด ในการทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ ต้องใช้ความร้อน

เป็นตัวช่วยในการทำงานและ ความสามารถเฉพาะตัวผู้ทำงานที่จ​ะกำหนดอุณหภูมิของขี้ผึ้งสดได้พ​อดี พอเหมาะจึงจำแนกวิธีการขั้นตอนก​ารทำงานดังต่อไปนี้

- ก่อไฟ โดยมีเตาถ่าน และใช้ถ่านประมาณ 2 - 3 กระสอบจึงจะพอดี

- ต้มน้ำ ให้ปรับอุณหภูมิความร้อนพอประมา​ณ โดยใช้กระทะขนาดใหญ่

ต้มน้ำที่สะอาดตั้งบนเตาไฟ แล้วใส่ขี้ผึ้งสดที่เตรียมไว้ ในหม้อที่สะอาดลงหุง (หุง ทำให้สุกโดยใช้น้ำ) บนกะทะน้ำร้อน พยายามคนขี้ผึ้งสดด้วยพาย ที่สะอาดจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางที่สะอาด เพื่อกรองเอาสิ่งสกปรกออกจากขี้​ผึ้งเหลว รองใส่ถาด ( ภาชนะพื้นเรียบที่มีขอบ ) ที่มีน้ำอุ่นปรับอุณหภูมิ

- ใช้ช้อนที่สะอาด หรือกระบวย ( ดูในภาคผนวก ) ตักขี้ผึ้งสดที่สังเกตว่าใกล้
จะแข็งตัวโดยสังเกตจากการเป็นฝ้​าจับที่ผิวของขี้ผึ้งสด แล้วปั้นเป็นก้อนใช้มือนวดให้ขี​้ผึ้งสดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
- ปั้นเป็นก้อน ซึ่งขั้นตอนนี้ ต้องใช้บุคลากร ที่มีความชำนาญและความสังเกตในความเหลวของเนื้อขี้ผึ้​งสด ตลอดจนสีและอุณหภูมิด้วยหรืออาจ​ใช้น้ำอุ่นๆช่วยปรับอุณหภูมิให้​คงที่

ข้อเสนอแนะ ถ้าต้องการผสมสีควรผสมสีในขั้นต​อนนี้ และหากเป็นขี้ผึงสดใหม่ๆ มักจะมีปัญหาในการทำงานเป็นอย่า​งมากเพราะจะทำสิ้นเปลืองในการพิ​มพ์ลายควรนำไปหุงสัก 4 - 5 ครั้งจนกว่าจะพิมพ์เป็นลวดลายได​้ไม่เปราะง่ายและมีสีตามความต้อ​งการ

4.2. กลุ่มพิมพ์ลาย กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องอาศัยท​ักษะในการทำงานพอสมควร ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้

- เตรียมอุปกรณ์ในการพิมพ์ อันได้แก่แม่พิมพ์ และอุปกรณ์อย่างอื่น เช่น น้ำสบู่ หรือ น้ำมะขามเปียก ขวดผิวเรียบ, มีดตัดลาย, แปรงสีฟันชนิดขนอ่อน และถาดสำหรับวางลวดลายที่พิมพ์เ​สร็จแล้ว

- ขั้นตอนการพิมพ์ เริ่มจากการทาแม่พิมพ์ด้วยน้ำสบ​ู่หรือน้ำมะขามเปียก

ก่อนแล้ว จึงกดก้อนขี้ผึ้งผงสดที่ตรียมไว​้ด้วยขวดผิงเรียบ พยายามให้บางที่สุด ซึ่งต้องให้สัมพันธ์กับการปั้นก​้อนขี้ผึ้งสดที่มีขนาดพอดีกับลว​ดลายที่จะใช้พิมพ์ เพื่อเป็นการลดความสิ้นเปลือง และเพิ่มความสวยงาม

ข้อเสนอแนะ

- กระบวนการพิมพ์ลายนี้ ต้องให้ต่อเนื่องกับกลุ่มต้มขี้​ผึ้งสด โดยเฉพาะขั้นตอน การปั้นขี้ผึ้งให้เป็นก้อนเพราะ​จะทำให้ผึ้งแข็งตัวก่อน หรือเหลวเกินไป
- ในขณะกดขี้ผึ้งสดลงบนแม่พิมพ์ต้​องพยายามพิมพ์ให้บางที่สุด เพราะจะทำให้ประหยัด ลวดลายสวยงามและคมชัดขึ้น
- ขั้นตอนการลอกลายออกจากแม่พิมพ์​ต้องดึงไปทางเดียวกันเพราะจะทำใ​ห้ลวดลายไม่หักหรือขาดออกจากกัน
- หากลายติดกับแม่พิมพ์นั้น ให้ใช้มีดตัดลายแคะเบาๆ เพื่อเอาลวดลายออก
- อย่าพยายามวางลายทับช้อนกันมากๆ​ เพราะจะทำให้ลายจับเกาะติดกัน ยากต่อการแกะออก เพราะจะทำให้ลายขาดได้ง่าย

4.3. กลุ่มตัดลาย ภายในกลุ่มคณะทำงานนี้ จะต้องเป็นคณะที่มีความรู้ความชำนาญ ในเรื่องลายไทยพอสมควร และต้องมีความละเอียดอ่อนในตัวด​้วย ซึ่งมีขั้นตอนในการปฏิบัติด้งนี​้ คือ
- เตรียมอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ในกลุ่มนี้ประกอบด้ว​ย กระจกแผ่นเรียบ, มีดตัดลวดลาย, กระดาษขาว, ถาดใส่ลายที่ตัดแล้ว, น้ำมันพืช, แสงสว่างจากไฟฟ้า และโต๊ะเก้าอี้ที่ถูกสุขลักษณะ
-วางลายที่พิมพ์เสร็จแล้วลงบนกร​ะจกแผ่นเรียบ แล้วใช้มีดตัดลายกรีด ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกจากลวดลาย แล้วนำเอาลวดลายที่ตัดเรียบร้อย​แล้ววางบนกระดาษสีขาว ที่เตรียมไว้เป็นหมวดหมู่ และเป็นกลุ่มลาย เพื่อง่ายต่อการใช้งานและการเก็​บรักษา
- เศษลายที่เหลือ จากการตัดลวดลายควรเก็บรวบรวมนำ​ไปต้ม หรือหุงอีกใหม่ได้ แต่ต้องคำนึงถึงความสะอาดของผึ้​งสดด้วย
- ในกรณีที่มีดตัดลายมักจะติดกับข​ี้ผึ้งสดหรือมีความเหนียวหนืด ควรตรวจดูว่า มีดคมหรือไม่ ถ้าใบมีดไม่คมก็ให้ลับใบมีดกับห​ินลับมีดชนิดละเอียดให้คมอยู่เส​มอ และให้จุ่มใบมีดกับน้ำมันพืชทุก​ครั้งที่ตัดลายเพื่อป้องกัน เศษขี้ผึ้งติดเกาะกับใบมีด
ข้อควรระวัง พยายามตัดลวดลายให้คมชัด มีความพลิ้ว อ่อนช้อย แสงสว่างต้องเพียงพอและโต๊ะทำงานต้​องสะอาดอยู่เสมอ

4.4. กลุ่มปั้นหุ่นประกอบ เป็นกลุ่มที่ต้องทำงานหนักและใช​้คณะทำงานมากพอสมควร จึงควรลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอ​นดังต่อไปนี้

ออกแบบสัดส่วนตัวหุ่นประกอบ

สร้างโครงสร้างหุ่นด้วยเหล็กเส้​นให้แข็งแรงพอสมควร

มัดตกแต่งตัวหุ่นประกอบด้วยกาบม​ะพร้าวหรือ กระดาษหนังสือพิมพ์จนสมบูรณ์แบบ

ผสมปูนพลาสเตอร์ พอกปั้นหุ่นให้สวยงาม และต้องให้สัดส่วนสมดุลย์ ให้เรียบแต่อย่าให้หนาเกินไป
ขูดตกแต่งผิวหุ่นด้วยใบเลื่อยตั​ดเหล็ก หรือกระดาษทรายชนิดหยาบๆ ให้เรียบ
ทาสีน้ำมัน ( สีเหลือง ) ที่ตัวหุ่นให้แห้งสนิท
ทาด้วยผึ้งเหลืองที่เตรียมไว้หล​ายๆรอบแล้วตกแต่ง ขูดผิวส่วนประกอบอื่นๆของตัวหุ่นให้เรียบร้อย

ตรวจดูและซ่อมแซม รอยต่อ เชื่อม ส่วนต่างๆของตัวหุ่น ประกอบว่าแข็งแรง หรือ สมบูรณ์ ตามสัดส่วนที่เป็นธรรมชาติหรือไ​ม่เสร็จแล้วใช้ผ้าที่สะอาดคลุมหุ่​นไว้ เพื่อป้องกันฝุ่นละออง ไอน้ำ, สิ่งสกปรก หรือความชื้น และการขูดขีด

ข้อเสนอแนะ ในการทาสีหุ่นนั้นอาจจะใช้สีอื่​น ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม ของตัวละคร ที่ประกอบเป็นเรื่องราว แต่ต้องให้ มีความ เป็นธรรมชาติ กับต้นเทียน

4.5. กลุ่มติดลวดลาย เป็นกลุ่มฝีมือที่ต้องใช้ความสา​มารถชั้นสูง มีความละเอียดอ่อน มีความรู้เรื่องลายไทยเป็นอย่าง​ดี และสามารถผูกต่อลายใหม่ๆได้ อีกหลายๆลาย ซึ่งอาจจำแนกขั้นตอนการทำงานดัง​ต่อไปนี้คือ
ออกแบบลวดลายให้เข้ากับต้นเทียน​ ตัวหุ่น และองค์ประกอบอื่นๆ แต่ต้องให้ถูกต้องตามหลักของลายไทย​ และตามแบบที่ออกแบบไว้แต่ต้นทำห้างร้านสำหรับนั่งขึ้นติดลวด​ลายให้ทั่วถึง

แบ่งเส้นหรือขีดตารางที่ต้นเทีย​น ให้เห็นรอยขีดน้อยที่สุด

เตรียมอุปกรณ์ โดยการเตรียมลวดลายให้พร้อม เป็นหมวดหมู่ , ผ้าที่สะอาดไว้สำหรับเช็ดมือ, มีดแกะสลักไว้สำหรับจิ้มลายติดต​้นเทียน และเตาไฟ

ติดลาย อาจติดมาจากบนลงมาล่างหรือ จากฐานไปหายอดก็ได้ หรือก็

แล้วแต่ความเหมาะสมของลวดลายที่​จะนำมาผูก มาต่อเป็นลายใหม่ เพื่อความสมบูรณ์ และความสวยงาม ของลวดลายด้วยในกรณีที่ลายติดยาก อาจใช้ความร้อนเข้าช่วยโดยใช้มี​ดแกะสลักจิ้มลายลนไฟ แต่ พึงระวัง อย่าให้ลายร้อนมากเกินไป เพราะจะทำให้ลายเกิดการอ่อนตัวม​ากหรือลวดลายอาจยุบตัวไปเลย

การติดลายให้กดเบาๆกะให้ลายติดแ​น่นพอดี พยายามผูกลวดลายให้ช้อนๆกัน ต่อเนื่องกันเพื่อความพลิ้วอ่อน​หวาน และการเคลื่อนไหวของลวดลาย การใช้ลวดลายต้องให้ถูกกับตำแหน​่งและประเภทของลายไทยด้วย  ถ้าหากลวดลายที่ติดไปแล้ว เว้นช่องไฟห่างเกินไป จึงขอเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาด้ว​ยการเดินเส้น, หรือเดินลวดเพื่อปิดช่องไฟทำให้​เกิดความสมดุลย์ เกิดความพอดี และความสวยงามได้ลงตัว
ในการติดลวดลายต้นเทียนนั้น ถ้าหากแยกส่วนของต้นเทียนออกเป็​นส่วนๆออกจากกันได้ อาจจะทำให้ง่ายต่อการติดลวดลายแ​ละรวดเร็วยิ่งขึ้น แล้วจึงนำมาประกอบกันทีหลังก็เป​็นได้

5. การประกอบหุ่น ส่วนประกอบ และต้นเทียน

ในการประกอบตัวหุ่น ส่วนประกอบและต้นเทียนนั้น ต้องคำนึงถึงแบบแปลนที่ได้
ออกแบบไว้แต่ข้างต้นแล้ว ข้อควรระวัง เวลาเคลื่อนย้ายตัวหุ่น หรือส่วนประกอบอื่นๆนั้นอย่าให้​ลวดลายที่ติดแล้วนั้นเกิดความเส​ียหาย เพราะจะทำให้งานไม่เสร็จง่าย และต้องวางลงในตำแหน่งที่กำหนดไ​ว้เท่านั้น เว้นเสียแต่ว่า การวางหุ่นหรือตัวประกอบมีความช​ิดกันเกินไป หรือเกิดช่องว่างมากเกินไป อาจทำตัวหุ่นเพิ่มขึ้นอีก เพื่อปิดช่องว่าง แต่ต้องไม่ให้เด่นกว่า ตัวประกอบหรือตัวหุ่นเก่าที่เรา​ได้ผูกเรื่องไว้แล้ว เพราะจะทำให้เกินการขาดความสมดุ​ลย์ ความหมายของการจัดภาพ ซึ่งอาจจะทำให้ องค์ประกอบของทั้งหมด ขาดความสมดุลย์ ความงามก็อาจจะหายไป หรืออาจเป็นผลให้ความหมายของเรื​่องเปลี่ยนไปก็เป็นได้

เพราะฉะนั้นในขั้นตอนนี้ควนจะมี​วัสดุ หรืออุปกรณ์ในการดังนี้ คือ

5.1. แบบแปลนที่ออกแบบไว้
5.2. ไม้บรรทัด หรือ ตลับเมตร
5.3. เชือกเส้นขนาดใหญ่
5.4. ผ้าที่สะอาด
5.5. ไม้กระดานที่แข็งแรง
5.6. ไม้ไผ่กลม
5.7. แม่แรง หรือ ปั้นจั่นสำหรับยก
5.8. ฆ้อน ตะปู
5.9. แรงงานคนยก เคลื่อนย้ายหุ่นซึ่งวัสดุ อุปกรณ์ในการทำงานนั้นอาจ
เลือกใช้ได้แล้วแต่ความจำเป็น และเหมาะสม กับขั้นตอนการทำงาน หรือความเหมาะสมของงาน ขึ้นอยู่กับผู้ควบคุมการทำงานหร​ือหัวหน้างาน

6. การตกแต่ง

หลังจากการประกอบส่วนต่างๆของรถ​ต้นเทียนตามแบบแปลนที่ได้ออกแบบ​ไว้ แต่ตอนเริ่มต้นแล้ว ผู้ที่ศึกษาก็ควรจะลงมือตกแต่งข​บวนรถแห่ต้นเทียนให้สวยงาม สะดุดตา ชวนให้ติดตามดู และพยายามเสริมให้ต้นเทียนมีควา​มเด่นชัดขึ้น แต่ให้พึงระวังว่าการประกอบต้นเ​ทียนนั้น ต้องมีความสมดุลย์ และเป็นธรรมชาติกับต้นเทียนด้วย​ ซึ่งอาจประกอบด้วยป้ายบอกขบวนแห่ คุ้มวัดของต้นเทียนผ้าคุมตกแต่งตัวรถให้สวยงาม อาจเป็นการจับผ้าจีบให้รอบตัวรถ​ แล้วมัดผ้าให้เป็นดอกไม้ หรือทำผ้าให้ย้อยเป็นระบายให้สว​ยงามธงทิวประกอบขบวนแห่ อาจหมายถึง ธงชาติ, ศาสนา หรือสัญลักษณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานประเพณีในปี​นั้นๆ ต้องไม่มาบดบัง ความสวยงาม ส่วนประกอบของต้นเทียนออกไป
เก้าอี้ หรือที่สำหรับนางฟ้าประจำต้นเที​ยนนั่ง นั้นจะต้องวางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และไม่ควรที่จะบดบังความสวยงาม หรือจุดสนใจของต้นเทียน นั้นขาดหายไป หรือหมดคุณค่าลงพุ่มไม้ ใบหญ้า อาจจะมีได้แต่ไม่ควรมากเกินไป และควรเน้นในเรื่องความกลมกลืนกับธรรมชาติด้วยหลอดไฟฟ้า ควรเป็นหลอดชนิดนีออน ( ในกรณีติดตั้งแสดงในเวลากลางคืน ) ไม้ค้ำยันสายไฟ ( ทำจากไม้ไผ่เป็นรูปตัว “ T” ให้สูงกว่าต้นเทียน )

7. การเก็บรายละเอียด หรือ ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด
ซึ่งในขั้นตอนการเก็บงาน เก็บรายละเอียด หรือซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดนั้นเป็​นขั้นตอน
ที่ตกแต่งรถขบวนแห่ต้นเทียนก่อน​ที่จะเคลื่อน ขบวน ออก ไปประกวดประชันกันอาจจำแนกเป็น ดังนี้
เตรียมลวดลายที่เราคาดว่า จะชำรุด ไว้พอประมาณด้วยแผ่นปลิว, แผ่นพับ หรือคำอธิบาย ขบวนแห่ต้นเทียนด้วยแถบเสียงบรรยายขบวนแห่ต้นเทียนแ​ละเครื่องขยายเสียงด้วยครื่องพ่นน้ำชนิดที่สามารถปรับล​ะอองน้ำได้เพื่อป้องกัน บรรเทาความร้อนจากแสงแดด ในขณะที่เคลื่อนขบวนแห่ประกวด
ตรวจดูความพร้อมของรถที่จะนำขบว​นต้นเทียนเข้าร่วมขบวนแห่ ซึ่งอาจ
รวมพนักงานขับรถ น้ำมันรถ ตลอดจนสภาพสมบูรณ์ของตัวรถ
ศึกษาเส้นทางเดินของขบวนแห่ และเวลาเพื่อป้องกันความผิดพลาด​ในการ
นำขบวนรถต้นเทียนเข้าร่วมประกวด​ ไม่ทำให้เกิดความผิดพลาดในเรื่อ​งเวลา และสถานที่

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทุนทางสังคมกับการมีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นที่ยั่งยืน

ทุนทางสังคมกับการมีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นที่ยั่งยืน


                                                                                                                ดร.เรวัต สิงห์เรือง

                                                              บทคัดย่อ

ท้องถิ่นเป็นชุมชนพื้นฐานที่สำคัญของประเทศในการดำรงอยู่หรือสืบต่อไปแห่งสังคมที่มี การพัฒนาขึ้นอยู่กับบริบทในท้องถิ่นโดยพื้นฐานทางสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมของไทยที่เป็นสังคมแห่งความสงบสุข มีความเอื้ออาทรและเป็นสังคมที่พึ่งพาซึ่งกันและกันที่ส่งผลถึงคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นเกิดความวิกฤต จึงจำเป็นต้องมีการฟื้นคืน ทุนทางสังคมเดิมที่มีอยู่ให้ยั่งยืน การพัฒนาและการมีส่วนร่วมในยุทธศาสตร์การพัฒนาที่นำมาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มีทิศทางขึ้นอยู่กับโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ และมีความเชื่อมโยงกับมิติการพัฒนาด้านต่างๆ ได้อย่างลงตัว และการบริหารจัดการศักยภาพของทุนทางสังคมที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชนที่เข้มแข็งเกิดการเรียนรู้และสามารถขับเคลื่อนให้ท้องถิ่นได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยยึดหลักการแห่งความสมดุลที่ลงตัวและทุนทางสังคมสามารถจำแนกได้มีโอกาสประสบความสำเร็จในโอกาสต่อไป การจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของประชาชนหรือชุมชนต้องเข้ามามีส่วนในการจัดการศึกษาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 254 2และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 )

การบริหารเป็นการตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและมุ่งเพื่อความสำเร็จในด้านผลสัมฤทธิ์การให้ชุมชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมและมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้จึงถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนในสังคมเกิดความตระหนักและความรับผิดชอบร่วมกัน เพราะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ดังนั้นในสภาพการจัดการทุนทางสังคมที่มีในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานศึกษาในท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนารูปแบบการจัดการทุนทางสังคมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นชุมชน และสถานศึกษาที่ใช้เป็นข้อมูลสำหรับนักบริหารการศึกษาที่จะนำไปสู่การกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาต้นแบบของการมีส่วนร่วมในการระดมทุนทางสังคมที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น เป็นแบบอย่างการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาวิกฤติ การพัฒนาสถานศึกษาที่นำไปสู่สังคมที่พัฒนาอย่างมีคุณภาพได้อย่างแท้จริง และยั่งยืนต่อไปในวิถีของการมีส่วนร่วมของชุมชนในสังคม เป็นการสร้างแนวคิดและหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งในระดับของการมีส่วนร่วมแบ่งระดับการมีส่วนร่วมจากน้อยไปมาก เป็นปัจจัยที่เอื้อในการเกิดศักยภาพของการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคมนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการสนับสนุน การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เจริญขึ้น ดีขึ้น หรือมีการวางแผนกำหนดทิศทาง การใช้ยุทธ์ศาสตร์เพื่อทำให้ดีขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ในทิศทางที่ดีขึ้นที่รวมถึงการเพิ่มความพึงพอใจและเพิ่มความสุขของประชาชนในท้องถิ่นด้วย ซึ่งในส่วนของปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นสังคมมีหลายประการ เช่น ปัจจัยด้านกลไกของรัฐ ปัจจัยด้านประชาชน ปัจจัยด้านนักพัฒนา และ ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจ เป็นต้น ในการนำเสนอรูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นโดยนำเอาผลการศึกษาจากเอกสาร ข้อมูล องค์ความรู้ แนวคิด และทฤษฎี นำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูล ที่ ศึกษาจากโรงเรียนต้นแบบในการพัฒนาด้านการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับทางสังคมสู่การทดลองใช้และได้รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นที่สมบูรณ์ในการจัดการทุน ทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น ที่ได้จากการศึกษา วิจัยทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ และรูปแบบการบริหาร

จัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น โดยมีองค์ประกอบของการบริหารจัดการทุน ทางสังคมที่ประกอบด้วย

1. ทุนทางสังคมที่เป็นมนุษย์ ที่ได้อาศัยรวมกันเป็นประจำในท้องถิ่น หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมท้องถิ่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

2. ทุนทางสังคมที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความผูกพัน วัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความ สัมพันธ์เกิดเป็นพลังชุมชน และฐานความรู้รวมทั้งส่งเสริมการใช้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีอยู่ในพื้นที่

3. ทุนทางสังคมที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ในที่มีในบริบทท้องถิ่นนั้นๆ ที่เป็นอยู่

4. ทุนทางสังคมที่เป็นการบริหารจัดการที่ลงตัวในท้องถิ่น สังคมนั้นๆ อาจรวมถึงการใช้หลักการที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตแห่งระบบเผ่าพันธุ์ของคนในท้องถิ่น ที่ส่งให้การจัดการระบบสังคมให้ลงตัว อย่างสมดุล

5. ทุนทางสังคมที่เป็นสารสนเทศ ข้อมูลข่าวสาร ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น ชุมชนทั้งที่เป็นอดีตและข้อมูลของเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและกว้างไกลหรือคณะบุคคลเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนในการทำประโยชน์ในเรื่องต่างๆ หรือกิจกรรมต่างๆ

โดยเป็นการนำเอารูปแบบ หลักการ จุดมุ่งหมาย การจัดองค์การ การดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ การนำไปใช้ และเงื่อนไขของความสำเร็จ ขององค์ประกอบการจัดการทุนทางสังคมที่เน้นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม นำความรู้ ความมีมาตรฐานในด้านครู ผู้บริหาร และบุคลากรให้มีมาตรฐานทางวิชาชีพ ที่ส่งผลต่อสถานศึกษาให้เป็นที่ชุมชนชื่นชอบ และเป็นแบบอย่าง การยอมรับของชุมชนท้องถิ่นตามที่คาดหวัง อย่างยั่งยืน สืบไป.



                                                                             Abstract

Local community is one of the most important components for sustainability. Cultivated community depends on the context of community background such as folk knowledge and native culture which is described as dependable and kind community. Presently, the quality of local education meets the critical period, therefore, social capital has be raise for awareness to be revived for sustainable development of social capital. Development and participation of development strategy depends largely on economy structure, social, and native culture that have to be compatibly related to development matrix. In the context of management of social capital capability, the strong community will rapidly acquire knowledge and drive its own community to the success of perfectly sustainable development. In each community, educational management is everyone-responsibility which means citizen in each community will be participated in establishment of development of education value according to the National Education Act B.E. 2542 (1999)

This management practice aims to respond the community demand in the better quality of education. Public and family participation is one of the important keys for the success of the campaign. The understanding of community in the campaign objective must be settled to mutually perceive their own responsibility since the basic education is the fundamental need for every community. Social capital management comprises of social participation in institutional development, the development of pattern of social capital, and the development of institutional quality. These factors will determine the educational development strategy in some of prototype institutes for educational quality. Also, this is a pattern of public participation in resolving the educational social crisis which leads to social sustainable development and creates public participation and responsibility paradigm. This concept will be a key factor for building social capability and perception of themselves-participation. On the other hand, the society still has other key factors and strategies to achieve community objectives, including generating satisfaction and happiness in the community. There are number of main factors foresting public participation such as government mechanism, demographic, social developer, social incentives, etc.

The presentation of social capital management for advancing educational quality in the local community will utilize results from previous studies, stock of knowledge, concepts and theories to analyze information collected from prototype institutions. Then analysis will be publicly introduced and experimentally practice in order to develop as stock of knowledge and new paradigm for social capital management for advancing educational quality. The main factors of social capital comprises of

1. Citizen who reside together as a community or interested persons in locality.

2. Culture, norm and folk knowledge including faith and relationship pass through the traditional relationship system which creates the community power and basic norm and knowledge to cultivate the variety of native culture and folk knowledge.

3. Natural resources in each community.

4. Community management system including ethnic system.

5. Information Technology involving in local community both from the past and present. This tool will be significantly used to establishing community events and activities.

These factors will be jointly used to create and conclude as a new paradigm to achieve objectives and key successful index of the social capital management which focuses on development participation of learners who morally use stock of knowledge, standardized instructors and management level which result in the achievement of highly recognized institution and sustainability.



1. บทนำ

ท้องถิ่นเป็นชุมชนพื้นฐานที่สำคัญของประเทศในการดำรงอยู่หรือสืบต่อไปแห่งสังคมที่มีการพัฒนาขึ้นอยู่กับบริบทในท้องถิ่นนั้นๆอย่างเป็นระบบการวางกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาซึ่งแสดงวิสัยทัศน์พันธกิจและจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาไปสู่อนาคตโดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ และนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งในการวางกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของท้องถิ่นจึงเป็นกระบวนการที่กำหนดทิศทางในอนาคตของท้องถิ่น และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอีกด้วยเพราะวิกฤตการณ์แห่งโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศไทยได้นำพาประชาชนสู่ความล้าหลังการขับเคลื่อนของสังคมแต่ละยุคได้ดำเนินการไปอย่างเชื่องช้าด้วยประเทศไทยเป็นประเทศสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นยุควิกฤตสูงสุด การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา เน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นหลักได้ส่งผลให้เกิดกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ อาทิ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการระบาดของยาเสพติด ล้วนส่งผลให้ทุนทางสังคมได้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนกลายเป็นปัญหาทางสังคมที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นยังทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคมไทย เปลี่ยนแปลงไป เกิดการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดของพื้นฐานทางสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมของไทยที่เป็นสังคมแห่งความสงบสุข มีความเอื้ออาทรและเป็นสังคมที่พึ่งพาซึ่งกันและกันได้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วที่ส่งผลถึงคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นเกิดความวิกฤตจึงจำเป็นต้องมีการฟื้นคืนทุนทางสังคมเดิมที่มีอยู่และพัฒนาทุนใหม่ๆ ในสังคมให้ขึ้นมาอย่างยั่งยืนการที่จะบรรลุ แนวทางในการที่จะทำให้วัตถุประสงค์เป็นไปตามที่ท้องถิ่นคาดหวังในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมในยุทธศาสตร์การพัฒนาที่นำมาไปสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขหรือการกินอยู่แต่เพียงพอดีให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นและประเทศ ชาติโดยรวมต้องขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ของท้องถิ่นนั้นๆตามที่ความสุขมวลรวมประชาชาติ ( GROSS NATIONAL HAPPINESS : GNH ) ที่หมายถึง ค่าโดยรวมของการพัฒนาประเทศที่ไม่ได้เน้นความเจริญเติบโตทางตัวเลขของเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เน้นความสุขที่แท้จริงของคนในสังคมที่ยึดหลักการว่า การพัฒนาสังคมมนุษย์ที่แท้จริงเกิดจากการพัฒนาทางด้านวัตถุและจิตใจควบคู่กันไปเพื่อเติมเต็มและส่งเสริมซึ่งกันและกันที่มุ่งเน้นสภาพแวดล้อมที่ประชากรทุกคนมีโอกาสพบความสุขได้อย่างเท่าเทียมกันสังคมที่เป็นอยู่และบริบทของท้องถิ่นนั้นที่ใช้ยุทธศาสตร์ของทุนทางสังคมในการพัฒนาควบคู่กับยุคข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในยุทธศาสตร์การพัฒนามาใช้พัฒนาตนเอง การพัฒนาจิตสำนึก การพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาวัตถุ และการพัฒนาจิตใจ ในแนวทางการพัฒนานั้น วิรัช วิรัชนิภาวรรณ ( 2549 : 297) แบ่งเป็น การพัฒนาพื้นฐาน (Basic Development) หรือการพัฒนาแบบธรรมดา (Simple Development) และการพัฒนาประยุกต์ (Applied Development) ซึ่งหมายถึง การพัฒนาที่แตกต่างจากการพัฒนาพื้นฐาน แต่เป็นการพัฒนาที่ถูกประยุกต์แล้วนั้นเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนเมือง และชุมชนชนบท ที่ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นบริบทชุมชนหรือทุนทางสังคมท้องถิ่นนั้นที่เป็นอยู่และที่สำคัญที่สุดของ การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืนนั้นต้องอาศัยทุนทางสังคมที่มีความหลากหลายถ้าได้รับการพัฒนาที่มีทิศทางขึ้นอยู่กับโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ และมีความเชื่อมโยงกับมิติการพัฒนาด้านต่างๆ ได้อย่างลงตัว เพราะการที่มีความลงตัวและการบริหารจัดการศักยภาพของทุนทางสังคมที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชนที่เข้มแข็งเกิดการเรียนรู้ และสามารถขับเคลื่อนให้ท้องถิ่นได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยยึดหลักการแห่งความสมดุล และทุนทางสังคมสามารถจำแนกได้มีโอกาสประสบความสำเร็จในโอกาสต่อไป

การจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของประชาชนเข้ามามีส่วนในการจัดการศึกษาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในวงการศึกษาไทย ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ชัดเจน ดังปรากฏในหมวด 1 มาตรา (2) ที่กล่าวถึงการจัดการศึกษาโดยยึดหลักให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการการศึกษา และ หมวด 7 มาตรา 57 ให้หน่วยงานการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยมีเป้าหมายสำคัญ คือให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้เรียนหรือในหมวด 8 ได้บัญญัติไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลัก คือ เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชนและให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามาตรา 9 บัญญัติไว้ 4 ประการ คือ (1) ต้องมีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิรูป (2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (3) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา (4) การมีส่วนร่วมของบุคคลครอบครัว ชุมชน ฯ และมาตรา 29 บัญญัติไว้ว่าให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน มีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสารและรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิชาการต่างๆ นอกจากนี้ในมาตรา 39 ได้ระบุว่า ให้กระทรวงกระจายอำนาจในการบริหารทั่วไปไปยัง คณะกรรมการและสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง มาตรา 40 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กร ชุมชน ผู้แทนผู้ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิผู้บริหารสถานศึกษาต้องตระหนักว่าการบริหารโรงเรียนในยุคปัจจุบันไม่อาจยึดติดวัฒนธรรมองค์การเดิม ๆ ที่การบริหารเป็นการตอบสนองความต้องการของหน่วยเหนือและมุ่งเพื่อความสำเร็จในด้านผลสัมฤทธิ์การให้ชุมชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมและมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้จึงถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกคนในสังคมได้ทราบและเกิดความตระหนักและความรับผิดชอบร่วมกันเพราะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for all) ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาว่าสภาพการจัดการทุนทางสังคมที่มีในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานศึกษาในท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เพื่อให้การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนทางสังคมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นชุมชนสถานศึกษาและเป็นข้อมูลสำหรับนักบริหารการศึกษาที่จะนำไปสู่การกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาให้เป็นต้นแบบที่มีส่วนร่วมในการระดมทุนทางสังคมที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นโรงเรียนของชุมชน ท้องถิ่นแบบอย่างการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาวิกฤติการพัฒนาสถานศึกษาที่นำไปสู่สังคมที่พัฒนาอย่างมีคุณภาพได้อย่างแท้จริง และยั่งยืนต่อไป


2. ทุนทางสังคม (Social Capital )

ทุนทางสังคมหมายถึง แบบแผนการปฏิบัติ คุณค่า ความเชื่อ ภูมิปัญญาซึ่งสังคมหรือชุมชนนำมาสร้างความมั่นคงในชีวิตร่วมกัน ซึ่งบางชุมชนสามารถนำองค์ประกอบสังคมมาเป็นทุน หรือใช้ประโยชน์ได้ แต่บางชุมชนไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ซึ่งทุนทางสังคม เป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ส่งเสริมให้ท้องถิ่น ชุมชนได้มีการพัฒนาเกิดการเรียนรู้มุ่งสู่ความเป็นท้องถิ่นที่มีคุณภาพ ที่พัฒนาและสังคมที่เป็นสุข ซึ่ง Hanifan (1920 : 225-249) ได้กล่าวว่า การสร้างทุนทางสังคมในชุมชนนั้นจะต้องมีการสะสมทุนไว้ก่อน คือ มิตรภาพที่มาจากกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ เพราะเป็นปัจเจกบุคคลนั้นจะอยู่คนเดียวไม่ได้เพราะมิตรภาพจากเพื่อนบ้านและชุมชนในท้องถิ่นจะได้ประโยชน์จากการเป็นปึกแผ่น และความสามัคคี ในมิติที่เป็นมูลค่าที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งของ เงินทอง หรือในมิติของคุณค่าในเรื่องจิตใจ คุณงามความดีของคนที่ล้วนแต่บ่งชี้ถึงความเจริญเติบโตงอกงามที่อาจเกี่ยวข้องกันโดยทางตรงหรือโดยอ้อมกับความร่วมมือร่วมใจกันที่ทุกคนได้มองเห็นผลประโยชน์ร่วมกันมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มองเห็นคุณค่า มีความคาดหวัง และมีเป้าหมายร่วมกัน ที่อาจมีในรูปของกระบวนการ (Process) และในรูปของระบบ (System) ที่มีความเกี่ยวพันกันในด้านวัตถุ จิตใจ เศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นความสุขของท้องถิ่น และ Thayer-Bacon and Bacon (1988 : 95) ได้ให้ความหมายความสุข (Happiness) ไว้ว่า เป็นกิจกรรมของความมุ่งหมาย โดยการพัฒนาเหตุผลของตนเองให้บรรลุสิ่งที่จะทำให้ชีวิตประสบผลสำเร็จในการวัดเพื่อตัดสินค่าแห่งความสุขออกมาเป็นเชิงปริมาณนั้นมีความเชื่อกันว่าสามารถออกมาได้ 7 ลักษณะ (Grassian , 1992 : 56 ) ดังนี้ (1) ลักษณะความเข้มของความสุข (Intensity), (2) ลักษณะยาวนาน (Duration), (3) ลักษณะความแน่นอน (Certainty), (4) ลักษณะการปรากฏผลอันใกล้ (Propinquity) ,(5) ลักษณะสามารถผลิตผล (Fecundity), (6) ลักษณะบริสุทธิ์ ( Purity ) และ(7) ลักษณะขยายหรือกระจายต่อไป ( Extent )

ซึ่งทุนทางสังคมต้องอยู่บนพื้นฐานของ “ ดุลยภาพเชิงพลวัตร ” ที่เชื่อมโยงทุกมิติอย่างบูรณาการโดยใช้ความรอบรู้ คุณธรรมและความเพียรในกระบวนการพัฒนาที่อยู่บนหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดีให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ (อุทุมพร แว่วศรี, 2550 : 1) กล่าวไว้ว่า ทุนทางสังคมเกิดจากการรวมตัวร่วมคิด บนฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจสายใยความผูกพัน และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรมและองค์ความรู้ซึ่งจะเกิดเป็นพลังชุมชนและสังคม การเสริมสร้างทุนสังคม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคนในทุกมิติทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาโดยเสริมสร้างสุขภาวะและความรู้ให้มีภูมิคุ้มกันพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลงและก้าวสู่สังคมฐานความรู้มีการเตรียมความพร้อมประชากรทุกช่วงวัยทุกกลุ่ม เป้าหมายให้พร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งส่งเสริมการใช้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างสรรค์คุณค่าทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคมในท้องถิ่น ประกอบไปด้วย

1) ทุนทางสังคมที่เป็นมนุษย์ หมายถึง บุคคลที่ได้อาศัยรวมกันเป็นประจำในท้องถิ่น หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมท้องถิ่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและสืบต่อไป

2) ทุนทางสังคมที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความผูกพัน วัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความ สัมพันธ์เกิดเป็นพลังชุมชน และฐานความรู้รวมทั้งส่งเสริมการใช้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีอยู่ในพื้นที่

3) ทุนทางสังคมที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในที่มีในบริบทท้องถิ่นนั้นๆ ที่เป็นอยู่

4) ทุนทางสังคมที่เป็นการบริหารจัดการ หมายถึง วิธีการจัดการที่ลงตัวในท้องถิ่น สังคมนั้นๆ อาจรวมถึงการใช้หลักการที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตแห่งระบบเผ่าพันธุ์ของคนในท้องถิ่น ที่ส่งให้การจัดการระบบสังคมให้ลงตัวอย่างสมดุล

5) ทุนทางสังคมที่เป็นสารสนเทศ ข้อมูลข่าวสารหมายถึง ข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น ชุมชนทั้งที่เป็นอดีตและข้อมูลของเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและกว้างไกลหรือคณะบุคคลเข้ามาช่วยเหลือ สนับสนุนทำประโยชน์ในเรื่องต่างๆ หรือกิจกรรมต่างๆ


3. ท้องถิ่น ชุมชน (Local)

ได้มีนักการศึกษาให้ความหมายไว้หลายประการ เช่น ไพฑูรย์ บุณยรัตพันธุ์ (2506 : 91) ให้ความหมายของชุมชนหมายถึงกลุ่มคนที่อยู่ในบริเวณเดียวกันมีการพบปะติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีความสนใจร่วมกันและมีพฤติกรรมอย่างเดียวกัน เช่น การกินอยู่หลับนอน ภาษาพูด การแต่งงาน เป็นต้น และ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2530 : 5) ได้กล่าวว่า ชุมชน ต้องประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบด้วย 1) มีกลุ่มคน, 2) มีพื้นที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือ มนุษย์สร้างขึ้น,3) มีความสัมพันธ์ของประชาชนในชุมชน และ 4)มีผลประโยชน์ร่วมกัน

จึงพอสรุปได้ว่า ท้องถิ่น ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในอาณาเขตบริเวณเดียวกันที่มีความสัมพันธ์ในด้านการศึกษา ความเชื่อ ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ อาชีพ ระบบการเมือง ระบบการปกครอง โครงสร้างอำนาจ วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศวิทยา และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างลงตัวของกลุ่มคนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันมีความสัมพันธ์กันและมีวัฒนธรรมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน

4. แนวคิดการมีส่วนร่วม (Participation Concept)

ในวิถีของการมีส่วนร่วมของชุมชนในสังคม เป็นการสร้างแนวคิดและหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนนั้นได้มีนักวิชาการอ้างอิงไว้ เช่น สุจินต์ สิมารักษ์ (2549 : เอกสารประกอบการสอน) ได้อธิบายความหมายของการมีส่วนร่วมไว้ว่า ต้องประกอบด้วย 1) ช่วยตนเอง, 2) พึ่งพิงตนเองได้, 3) การเกี่ยวข้องกับสังคม, 4) การร่วมมือร่วมใจ และ 5) การกระจายอำนาจ ฯลฯ สรุปได้ว่าการมีส่วนร่วมมีความหมาย 2 ลักษณะ คือ

4.1 เน้นที่กระบวนการพัฒนา

4.2 มีนัยทางการเมือง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) การส่งเสริมพลังอำนาจของพลเมือง 2) การเปลี่ยนแปลงกลไกการพัฒนาโดยรัฐมาเป็นการพัฒนาที่ประชาชน

ซึ่งในระดับของการมีส่วนร่วมแบ่งระดับการมีส่วนร่วมจากน้อยไปมาก ซึ่งมีปัจจัยที่เอื้อในการเกิดศักยภาพในการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคมนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการสนับสนุน ของการมีส่วนร่วม ดังนี้

1. ระบบเครือญาติ เป็นทุนทางสังคมที่สำคัญของชุมชน เป็นระบบที่ช่วยให้ประชาชนแบ่งปันผลประโยชน์ มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน ความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติก่อให้เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกันสูง รวมกำลังแรงงาน และเกิดเป็นปัจจัยการผลิตอื่นๆ

2. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาวบ้านมีการใช้นำความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ และดำรงในวิถีชีวิต จากการศึกษาปราชญ์ชาวบ้านที่อยู่ภายในชุมชน พบว่าชาวบ้านในชุมชนใช้ภูมิปัญญาพื้นฐานที่มีอยู่ในท้องถิ่นประกอบอาชีพและดำรงชีวิต

3. สภาพเศรษฐกิจชุมชน ชาวบ้านที่อาศัยอยู่มีความเป็นอยู่ที่พอเพียง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีจำนวนของชาวบ้านที่ออกไปทำงานต่างพื้นที่เพื่อหารายได้เสริมจากการทำการเกษตร

4. การรวมกลุ่มของชาวบ้านในท้องถิ่นมีการรวมกลุ่มกันในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชนเป็นอย่างดี โดยมีการจัดตั้งกลุ่มต่างๆเกิดขึ้นมากมายในแต่ละหมู่บ้าน วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น

5. ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง มีมากมายและได้รับการยอมรับนับถือจากทั้งชาวบ้านภายในชุมชนเองและบุคคลภายนอกที่มีการทำงานติดต่อประสานงานเชื่อมโยงเครือข่ายกัน เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นแกนนำสำคัญที่ให้ความเคารพนับถือ มีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา

6. การทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ในการดำเนินงานโครงการกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกสังคม ชุมชน มีการประสานความร่วมมือ ดำเนินกิจกรรมร่วม และได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่น และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) เป็นอย่างดี

7. การเชื่อมโยงเครือข่าย มีการเชื่อมโยงเครือข่ายออกไปสู่ภายนอก ดังจะเห็นได้จากการจัดเวทีเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันภายในระดับหมู่บ้าน ขยายผลสู่ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด และส่วนภูมิภาค มีเวทีหลายระดับในการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เวทีประชาคม และประสบการณ์เพื่อเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งภายในสังคม และภาย นอกชุมชนในหลากหลายองค์กร

8. จิตสำนึกร่วมกันและการลงมือปฏิบัติจริง การทำงานร่วมกันภายในชุมชน และการประสานความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกชุมชนเป็นหัวใจสำคัญในการคิด และทำเพื่อชุมชน การคิด และลงมือปฏิบัติจริงโดยออกมาจากจิตสาธารณะ จิตสำนึกของการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

9. การทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ มีการดำเนินการจัดตั้งโครงการของชุมชน ท้องถิ่น โดยมีคณะกรรมการดำเนินโครงการฯเป็นตัวแทนจากแต่ละหมู่บ้าน ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานและประสานความร่วมมือจาก เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น

10. นโยบายรัฐ หลังจากรัฐบาลนำนโยบายเรื่องของโครงการกองทุนหมู่บ้าน นำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มใหม่ภายในชุมชนอย่างรวดเร็วหลายกลุ่มที่เกิดขึ้นจากนโยบายดังกล่าวนี้อันเนื่องมาจากเงื่อนไขในรูปของการรวมกลุ่ม

5. การพัฒนา (Development)

นักการศึกษาให้ความหมายไว้หลายคน เช่น สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2526 : 5) ได้ให้ความว่า หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่มีการกำหนดทิศทาง (Directed Change) หรือการเปลี่ยนแปลงที่ได้วางแผนไว้อย่างแน่นอนล่วงหน้า (Planned Change) ซึ่ง ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, (2526 : 5) ให้ว่า พัฒนา หมายถึง การกระทำให้เกิดขึ้น คือ เปลี่ยนจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งที่ดีกว่า ,จินตนา สุจจานันท์ (2549 : 44 ) ได้ให้ว่า การทำให้ดีขึ้นหรือการเปลี่ยนให้ดีขึ้น,อมร รักษาสัตย์ และ ขัตติยา กรรณสูต ( 2515 : 2 – 8 )ให้แนวคิดว่า การพัฒนา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในตัวระบบที่ทำการ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในตัวระบบที่ทำการซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพ (Qualitative Changes) ส่วนการเปลี่ยนแปลงรูป (Transformation ) เป็นการเปลี่ยนแปลงของตัวกระทำการ (Environmental Changes) ซึ่งนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพและปริมาณ เป็นการพัฒนา ซึ่ง ทิตยา สุวรรณชฎ (2517 : 187 – 189) ได้อธิบายการพัฒนา ไว้ว่า คือการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการและได้กำหนดทิศทางและมุ่งที่จะควบคุมอัตราการเปลี่ยนแปลงด้วยสภาวะการพัฒนาเป็นสภาวะสมาชิกของสังคมได้ใช้ความรู้ความสามารถของตนได้เต็มที่โดยไม่มีสภาวะครอบงำ เช่น การกำหนดนโยบายทางการเมือง ความบีบคั้นทางเศรษฐกิจ หรือความไม่สมบูรณ์ในอนามัย ทุกคนสามารถที่จะนำเอาศักยภาพของตนมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่,วิทยากร เชียงกูล (2527 : 17 - 18) กล่าวว่า การพัฒนาที่แท้จริงควรหมายถึงการทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมีความสุข ความสะดวกสบาย ความอยู่ดีกินดี ความเจริญทางศิลปวัฒนธรรม และจิตใจ และความสงบสันติ ซึ่งนอกจากจะขึ้นอยู่กับการได้รับปัจจัยทางวัตถุนิยมเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายแล้วประชาชนยังต้องพึ่งพาการพัฒนาทางด้านการศึกษาสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อการพักผ่อน

หย่อนใจและการพัฒนาทางวัฒนธรรมและจิตใจด้านต่างๆด้วยความต้องการทั้งหมดนี้บางครั้งเราเรียกว่า เป็นการพัฒนาคุณภาพเพื่อให้เห็นว่าการพัฒนาไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเพิ่มมูลค่าปริมาณสินค้า หรือการเพิ่มรายได้เท่านั้น หากอยู่ที่การเพิ่มความพอใจ ความสุขของประชาชนมากกว่า

จากความหมายการพัฒนาที่ได้อ้างถึงแล้วทำให้สรุปได้ว่าการพัฒนาหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เจริญขึ้น ดีขึ้น หรือมีการวางแผนกำหนดทิศทาง การใช้ยุทธ์ศาสตร์เพื่อทำให้ดีขึ้น เจริญขึ้น ซึ่งเป็นตัวกำหนดแนวทางว่าจะดำเนินการโดยวิธีใดอย่างใด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ในทิศทางที่ดีขึ้นที่รวมถึงการเพิ่มความพึงพอใจและเพิ่มความสุขของประชาชนในท้องถิ่นด้วย


6. แนวทางการพัฒนาทุนทางสังคม

ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำ Social Capital Mapping โดยให้ความสำคัญกับ

การจัดทำ Human Mappingให้เกิดขึ้นทุกจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาชนสาธารณะที่มีความเป็นกลางเพื่อเป็นพลังสำรองช่วยเหลือในยามวิกฤต รวมทั้งมีการบริหารจัดการภูมิปัญญาชาวบ้าน การถอดบทเรียนของปราชญ์ชาวบ้าน การเผยแพร่ และการถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ต่อไป

1) พัฒนาการจัดทำเครื่องชี้วัดและประเมินทุนทางสังคมในทุกพื้นที่โดยเฉพาะการทำ Conflict mapping ในเชิงป้องกันและเฝ้าระวังทุนทางสังคม

2) ส่งเสริมการระดมพลังและการร่วมมือกันของทุกภาคส่วนของสังคมและการสร้างให้เกิดบรรยากาศการพัฒนาทุนทางสังคมในพื้นที่โดยเน้นการสร้างเวทีสาธารณะและการมีส่วนร่วมของชุมชน และสนับสนุนการรวมตัวเป็นเครือข่าย เพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันทั้งในด้านการรับองค์ความรู้ใหม่ๆ ข้อมูลและประสบการณ์ต่างๆ

3) ส่งเสริมการขับเคลื่อนทุนทางสังคมโดยใช้แผนชุมชนให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทุนทางสังคมให้เข้มแข็ง

4) ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุนทางสังคม รวมทั้งมีการป้องกันการทำลายทุนทางสังคม

5) พัฒนาทุนมนุษย์โดยเน้นการตระหนักกับการสร้างจิตสำนึกที่ดี ความเข้าใจกันของคนในสังคมความเอื้ออาทรให้สังคมมีความสนใจและเริ่มปลูกฝังเด็กตั้งแต่ในครอบครัวและสถาบันการศึกษา ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทั้งทางด้านวิชาการ คุณธรรม และจริยธรรม

6) อนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น แพทย์แผน

ไทยและสมุนไพร การนวดแผนโบราณ และใช้ประโยชน์จากทุนทางสังคมเหล่านี้ที่มีอยู่ในพื้นที่ มาเป็นจุดขายให้คนสนใจมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพิ่มขึ้น


7. แนวคิด และ หลักการพัฒนาชุมชน

ในแนวคิดและหลักการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นนั้น ได้มีผู้กล่าวไว้ว่า (สัญญา สัญญาวิวัฒน์, 2526 : 171) ต้องเน้นหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนา มุ่งให้เกิดการช่วยเหลือตนเอง ความคิดริเริ่ม ความต้องการเป็นของชุมชนในการทำงานพัฒนาชุมชน โดยที่ การพัฒนาชุมชน มีแนวคิดพื้นฐานของการศึกษาภาคชีวิต (Lifelong Education) โดยถือเป็นกระบวนการให้การศึกษาภาคชีวิตแก่ประชาชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคน การให้การศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่บุคคลยังดำรงชีวิตอยู่ในชุมชน โดยมีหลักการที่ยึดปฏิบัติสำคัญ กล่าวคือ การยึดหลักความมีศักดิ์ศรี และ ศักยภาพของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้มากที่สุด ยึดหลักการพึ่งพาตนเองของประชาชนตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ที่ครอบคลุมถึงด้านวัตถุ ,จิตใจ, เศรษฐกิจ,สังคม,การเมือง,การปกครอง และการบริหาร ที่มีหลักแห่ง 3 ห่วง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผลและการมีภูมิคุ้มกันที่ดี และในส่วนของ 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ ความรอบคอบ ระมัดระวัง และ เงื่อนไขคุณธรรมที่เน้นความซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน และการแบ่งปัน สนับสนุนให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ วางแผนปฏิบัติและติดตามผลในกิจกรรมหรือโครงการของชุมชนยึดหลักประชาธิปไตยในการทำงานเริ่มต้นด้วยการพูดคุยปรึกษาหารือร่วมกันตัดสินใจร่วมกันและรับผิดชอบร่วมกันภายใต้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามวิถีประชาธิปไตย


8. แนวทางการบริหารทั่วไปของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น

จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 289 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่นนั้น และเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอบรมของรัฐโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานและระบบการศึกษาของชาติการจัดการศึกษาอบรมภายในท้องถิ่นตามวรรคสอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นด้วย และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ ในการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นมี 4 รูปแบบ คือ 1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) เทศบาล 3) องค์การบริหารส่วนตำบล และ 4) การปกครองรูปแบบพิเศษ

ซึ่งในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ได้จัดการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 ในส่วนที่สัมพันธ์กับท้องถิ่น มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลัก (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และ มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา (5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา (6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ซึ่งสถานศึกษาที่สังกัดท้องถิ่น ซึ่งปัจจัยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นสังคมมีหลายประการ เช่น ปัจจัยด้านกลไกของรัฐ,ปัจจัยด้านประชาชน ,ปัจจัยด้านนักพัฒนา และ ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจ เป็นต้น และการนำเสนอรูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นโดยนำเอาผลจากการศึกษาจากเอกสาร ข้อมูล องค์ความรู้ แนวคิด และทฤษฎี นำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูล ที่ ศึกษาจากโรงเรียนต้นแบบ ที่เป็น Best Practices ในการพัฒนาด้านการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับทางสังคมที่ใช้รูปแบบของการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นในแต่ละด้านของทุนทางสังคมทั้ง 5 ด้านสู่การทดลองใช้และได้รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นที่สมบูรณ์ ในการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น ที่ได้จากการศึกษา วิจัยทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ และรูปแบบการบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น

9. องค์ประกอบของการบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น

องค์ประกอบการบริหารจัดการทุนทางสังคมเป็นการอธิบายหลักการ จุดมุ่งหมาย การจัดองค์การ การดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ การนำไปใช้ และเงื่อนไขของความสำเร็จ องค์ประกอบ ดังนี้

9.1. การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นทุนมนุษย์ในชุมชนท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) สถานศึกษานำหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนมาประยุกต์ใช้ในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แผนปฏิบัติการของสถานศึกษา 2) จัดโครงสร้างการบริหารบุคคลของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการทุนสังคมมาใช้ ในการบริหารและจัดการศึกษา 3) ประชุม ชี้แจงการนำเอาทุนทางสังคมมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษาแก่บุคลากรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ 4) จัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่นอย่างถูกต้อง แก่บุคลากรในสถานศึกษา 5) สนับสนุนแหล่งความรู้ และสารสนเทศเกี่ยวกับทุนทางสังคมที่มีในชุมชนท้องถิ่น ให้กับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง 6) นำระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและจัดการศึกษา

9.2 การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปของสาระเพิ่มเติมทุกระดับ 2) บูรณาการวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) สนับสนุนให้ครูสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่เป็นของสถานศึกษาโดยเฉพาะ โดยใช้ประโยชน์จากวิทยากร ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น 4) จัดทำคู่มือการใช้หลักสูตร และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางให้ครู บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ 5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 6) ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาที่มีในสถานศึกษา และมีการแสวงหาแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษาอย่างเป็นระบบสอดคล้องและเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน

9.3 การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วย 1) จัดให้มีพื้นที่ภายในให้เกิดประโยชน์ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาของท้องถิ่น 2) จัดให้มีอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาที่เน้นความร่มรื่น และมีความปลอดภัย 3) มอบหมายให้นักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแลรักษาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา 4) มีการวิเคราะห์ต้นทุน-กำไร และต้นทุนประสิทธิผล เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะลงทุนทางการศึกษาอย่างรอบคอบ 5) ส่งเสริมและพัฒนาบรรยากาศด้านคุณธรรม จริยธรรม ทั้งในและนอกสถานศึกษา

9.4 การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 1) จัดโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการนำหลักการมีส่วนร่วมสู่การบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษา 2) ประชุม ชี้แจงการนำเอารูปแบบการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษาแก่บุคลากรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ 3) สถานศึกษานำหลักการทางทุนสังคมในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย สู่แผนปฏิบัติการของสถานศึกษา 4) ให้การสนับสนุนแหล่งความรู้ และสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหารจัดการให้กับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ 5) นำระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและจัดการศึกษา

9.5 การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ ประกอบด้วย 1) สถานศึกษามีการจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ 2) สถานศึกษามีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ ในสถานศึกษาเพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจ ชุมชน และหน่วยงานอื่น 3) สถานศึกษามีการขยายผลและเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศ ผ่านนักเรียนสู่บุคคลในครอบครัวและชุมชน 4) สถานศึกษาได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลข่าวสาร และระบบสารสนเทศ ในชุมชน โดยมีบ้าน วัด และโรงเรียน เป็นแกน ในการดำเนินงานร่วมกัน 5) สถานศึกษามีการจัดทำเอกสาร เว็บไซต์ ซีดี วีซีดี เพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์การดำเนินการของสถานศึกษาให้ชุมชนและหน่วยงานอื่นได้ทราบอย่างสม่ำเสมอ

9.6 หลักการ การจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น จำแนกเป็น ขั้นตอน ในการดำเนินงาน/โครงการ และรายละเอียดการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว ประกอบด้วย 1) การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง 2) การบริหารและการจัดการศึกษาที่มียุทธศาสตร์ กลไก ขั้นตอน วิธีการอย่างเป็นระบบทั้งด้านการบริหารจัดการ กระบวนการการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาบุคลากร 3) วิธีการดำเนินการและเป้าหมายของการบริหารและจัดการศึกษาคือที่ยึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น ภายใต้เงื่อนไข การมีความรู้ และคุณธรรม 4) การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นฐานการรู้จักตนเอง การช่วยเหลือตนเอง การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการสร้างเครือข่ายที่สอดคล้องภูมิสังคม ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน 5) สถานศึกษาต้องเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีอย่างเป็นระบบ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

9.7 การจัดองค์การ การจัดโครงสร้างการบริหารยึดหลักการมีส่วนร่วม เน้นการทำงานเป็นทีม มีการกำหนดหน้าที่ ที่ชัดเจนในการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย คณะบุคคล (ทีม) จำนวน 3 คณะ ได้แก่

1) คณะผู้บริหารในสถานศึกษา (ทีมนำ) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษาและประธานกรรมการสถานศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมวางแผน

2) คณะหัวหน้างานในสถานศึกษา (ทีมประสาน) ประกอบด้วย หัวหน้า กลุ่มสาระการเรียนรู้ และหัวหน้าช่วงชั้นของสถานศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ประสาน

3) ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา (ทีมงาน) ประกอบด้วยครูที่ทำหน้าที่สอนในกลุ่มสาระต่าง ๆ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ การดำเนินการ

9.8 ตัวชี้วัดของความสำเร็จ ที่ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นมนุษย์ 2) การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ 4) การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นการบริหารจัดการ 5) การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ

9.9 การนำรูปแบบไปใช้ การนำรูปแบบไปใช้สถานศึกษามีแผนยุทธศาสตร์ กลไก ขั้นตอน วิธีการอย่างเป็นระบบทั้งด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน และการพัฒนาบุคลากรกำหนดโดยแยกเป็นโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทุนทางสังคมในสถานศึกษา โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นเตรียมการสำหรับการนำไปใช้ในสถานศึกษา 2) ขั้นดำเนินการ ดำเนินการ 3) ขั้นติดตามแนะนำ 4) ขั้นประเมินผล รายงานผล และขยายผล

9.10 เงื่อนไขความสำเร็จ ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนในสถานศึกษาต้องมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมชองชุมชนมาปรับใช้กับทุนทางสังคมในการบริหารและจัดการศึกษาในสถานศึกษา 2) ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหารและจัดการศึกษา บริหารสถานศึกษาโดยมุ่งประโยชน์สูงสุดที่นักเรียน และให้ความสำคัญกับชุมชน 3) ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนและสังคม 4) ผู้บริหารต้องปรับโครงสร้างการบริหารให้สอดคล้องกับการนำหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน ทุนทางสังคมมาใช้ โดยกำหนดให้มีบุคลากรที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง 5) ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม โดยเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มแรก คือร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมตรวจสอบ และร่วมรับผิดชอบในการดำเนินการ 6) นักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสาระที่แท้จริงของการมีส่วนร่วมของชุมชนในด้านทุนทางสังคมที่มีในท้องถิ่น จึงจะสามารถนำแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ได้ 7) การดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ในสถานศึกษาต้องมีการวางแผนที่ดี มีลำดับขั้นตอนในการดำเนินงาน และต้องมีการพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 8) โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการต้องมีสอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนในชุมชน

10.คุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นจากการบริหารจัดการในสถานศึกษา

จากการดำเนินการทดลองใช้รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษาที่ได้ทดลอง ดังนี้ คือ

10.1 คุณภาพของสถานศึกษา คุณภาพของสถานศึกษาตามรูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่

เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น มีดังนี้ 1) บุคลากรเต็มใจปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษา 2) มีกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีของสังคมในสถานศึกษา 3) มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา 4) มีการจัดระบบโครงสร้างองค์กร ให้รองรับการจัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการประเมิน ของสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 5) มีการพัฒนาและใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการบริหารสถานศึกษาได้อย่างเป็นระบบ 6) สถานศึกษามีเอกลักษณ์อันโดดเด่น และเป็นต้นแบบของการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง ซึ่งเกิดจากการร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา ร่วมสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 7) สถานศึกษาแผนยุทธศาสตร์ ในการกำหนดเป้าหมาย นโยบาย มาตรการ และกลยุทธ์การดำเนินงานของสถานศึกษาได้อย่างเหมาะสมในท้องถิ่น

10.2 คุณภาพของนักเรียน คุณภาพของนักเรียนตามรูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพ

การศึกษาในท้องถิ่น มีดังนี้ 1) นักเรียนมีความปลอดภัยจากปัญหาการใช้สารเสพติดความก้าวร้าว การล่วงเกินทางเพศ และการเที่ยวในสถานบริการบุคลากรเต็มใจและตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ 2) ได้มีกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีของสังคม 3) นักเรียน มีทักษะในการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาในการเรียนรู้การพัฒนาการเรียนรู้ 4) มีระบบการสื่อสารภายในสถานศึกษามีหลายช่องทาง ทำให้นักเรียนเรียนมีความเข้าใจและเกิด การเรียนรู้ในสถานศึกษา 5) นักเรียนมีทักษะในการวิเคราะห์ต้นทุน-กำไร และต้นทุนประสิทธิผล เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะลงทุนทางการศึกษาอย่างรอบคอบ 6) นักเรียนมีทักษะในการดำรงชีวิตในสังคมยุคใหม่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการเรียนรู้ Computer , Internet 7) มีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีพัฒนาการด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ตามเกณฑ์การพัฒนาในแต่ละช่วงวัย

10.3 คุณภาพของครูและบุคลากรในสถานศึกษา คุณภาพของครู และบุคลากรในสถานศึกษา

ตามรูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น มีดังนี้ 1) บุคลากร มีทักษะในการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิชาการ และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ 2) มีการสนับสนุนการธำรงรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมที่ดีงาม ของบุคลากรในสถานศึกษาและชุมชนแบบมีส่วนร่วม

3) มีการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษาและชุมชนเป็นอย่างดี 4) มีการจัดระบบโครงสร้างขององค์กร ให้รองรับการจัดระบบการประกันคุณภาพภายในสถาน ศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการประเมิน ของสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษาโดยผ่านการประเมินคุณภาพในระดับดีมาก 5) ครู และบุคลากรในสถานศึกษามีความสามารถในการพัฒนาและใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหารได้อย่างเป็นระบบและเกิดประสิทธิผลต่อการจัดการศึกษา

6) มีระบบยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการจัดการศึกษาและผลิตนวัตกรรมใช้ในสถานศึกษาได้ดี ตลอดจนการยอมรับในสังคมการศึกษา


สรุปและข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาพบว่าชุมชน ท้องถิ่นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เกิดความร่วมมือสามารถวางแผน การมีส่วนร่วมในท้องถิ่นจนเกิดการจัดตั้งกลุ่มภายในสังคมเองได้ อันนำไปสู่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดท้องถิ่นที่มีศักยภาพเข้มแข็งยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีความพยายามเชื่อมโยงขยายเครือข่าย การแลกเปลี่ยนความรู้อย่างสม่ำเสมอเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับปราชญ์ชาวบ้าน เกิดการประสานความร่วมมือกับหลากหลายองค์กร อาทิเช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักวิชาการ องค์กรเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันอีกด้วย การใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในท้องถิ่นคือยุทธศาสตร์ทางปัญญาที่เป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกคนต้องอาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกันทุนทางสังคมที่มีอยู่ ทำให้เกิดความสัมพันธ์กันอย่างลงตัวที่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจกันมีความเอื้ออาทรต่อกัน ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งระบบและปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนา ทุนทางสังคมจึงควรเป็นสมบัติที่ชุมชนที่สามารถเข้าถึงในการ มีส่วนร่วมใช้ประโยชน์ได้ตลอดเวลา และหัวใจสำคัญของทุนทางสังคมเป็นสิ่งที่ทุกคนยิ่งใช้มาก มีส่วนร่วมมากๆ ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ในการพัฒนาท้องถิ่น สังคมมุ่งเน้นไปสู่การเป็นสุขของสังคมที่มีความเชื่อมโยงต่อความสุขมวลรวมประชาชาติ ทำให้ท้องถิ่น สังคมได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆกัน ที่แสดงถึงความเป็นอารยธรรมแห่งความเจริญของท้องถิ่นสังคมในอดีตที่ผ่านมามีความซับซ้อนในด้านวัฒนธรรม ประเพณีที่เป็นท้องถิ่น สังคมที่ได้รับการพัฒนาล้วนเกิดขึ้นกับการจัดการทุนทางสังคมให้มีพลัง โดยใช้ความรอบรู้ คุณธรรมและความเพียรในกระบวนการพัฒนาที่อยู่บนหลักของความพอประมาณ ความมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดีให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากกระแส โลกาภิวัตน์ รวมทั้งส่งเสริมการใช้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างสรรค์คุณค่าทางเศรษฐกิจ

การพัฒนาท้องถิ่นต้องเอาทุนทางสังคมที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและครบวงจรสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ระดับครอบครัวชุมชนและท้องถิ่นเพื่อให้มีการสืบทอดและสร้างจิตสำนึกที่สอดคล้องให้เหมาะสมกับบริบทความเป็นสังคมไทยให้มากที่สุดและต้องเริ่มต้นจากการวางกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นให้เป็นไปตามความต้องการตามเป้าหมาย ได้มีรูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น จากการศึกษา วิจัย โดยมีองค์ประกอบของการบริหารจัดการที่ ประกอบด้วย

1.หลักของการจัดการทุนทางสังคม ที่ประกอบด้วย 1) ทุนทางสังคมที่เป็นมนุษย์ ที่ได้อาศัยรวมกันเป็นประจำในท้องถิ่น หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมท้องถิ่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 2) ทุนทางสังคมที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความผูกพัน วัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่านระบบความ สัมพันธ์เกิดเป็นพลังชุมชน และฐานความรู้รวมทั้งส่งเสริมการใช้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีอยู่ในพื้นที่ 3) ทุนทางสังคมที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ในที่มีในบริบทท้องถิ่นนั้นๆ ที่เป็นอยู่ 4) ทุนทางสังคมที่เป็นการบริหารจัดการที่ลงตัวในท้องถิ่น สังคมนั้นๆ อาจรวมถึงการใช้หลักการที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตแห่งระบบเผ่าพันธุ์ของคนในท้องถิ่น ที่ส่งให้การจัดการระบบสังคมให้ลงตัวอย่างสมดุล และ 5) ทุนทางสังคมที่เป็นข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น ชุมชนทั้งที่เป็นอดีตและข้อมูลของเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและกว้างไกลหรือคณะบุคคลเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนในการทำประโยชน์ในเรื่องต่างๆ หรือกิจกรรมต่างๆ โดยเป็นการนำเอาหลักการ จุดมุ่งหมาย การจัดองค์การ การดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ การนำไปใช้ และเงื่อนไขของความสำเร็จ ขององค์ประกอบ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาตามที่คาดหวัง

2. องค์ประกอบในด้านการจัดการทุนทางสังคม ที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นทุนมนุษย์ในชุมชนท้องถิ่น, 2) การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น , 3) การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ , 4 ) การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นการบริหารจัดการ, 5) การบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็น ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ ,6) การนำรูปแบบไปใช้ ในสถานศึกษามีแผนยุทธศาสตร์ กลไก ขั้นตอน วิธีการอย่างเป็นระบบทั้งด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน และการพัฒนาบุคลากรกำหนดโดยแยกเป็นโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทุนทางสังคมในสถานศึกษา ที่ดำเนินการตามขั้นตอน และ 7 ) เงื่อนไขความสำเร็จ

3. คุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น จากการบริหารจัดการในสถานศึกษา จากการดำเนินการใช้รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในสถานศึกษา ดังนี้ คือ 1) คุณภาพของสถานศึกษาคุณภาพของสถานศึกษาตามรูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น , 2) คุณภาพของนักเรียนคุณภาพของนักเรียนตามรูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น, และ 3) คุณภาพของครูและบุคลากรในสถานศึกษาคุณภาพของครู และบุคลากรในสถานศึกษาตามรูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น.


-----------------------------------


บรรณานุกรม

ทิตยา สุวรรณะชฎ. “สังคมวิทยา” ใน วิทยาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์, 2517.

ประเวศ วะสี..เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิมพ์ดี, 2542.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.) ปยุตโต). การพัฒนาที่ยั่งยืน.( Sustainable Development). กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2540.

ไพฑูรย์ บุณยรัตพันธุ์. สังคมชนบทไทยและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง, 2506.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี . การพัฒนาชุมชน. วารสารพัฒนาชุมชน. 2533. (29 มิถุนายน 2533, 13 – 17)

วิทยากร เชียงกูล. การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไทย : บทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฉับแกระ, 2527.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. หลักการพัฒนาชุมชนประยุกต์. ขอนแก่น : ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2530.

ศึกษาธิการ,กระทรวง.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ). กรุงเทพฯฯ :

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2545.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์ .ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,2549.

สุจินต์ สิมารักษ์ เอกสารประกอบการสอน,2549.

อุทุมพร แว่วศรี ผอ.ส่วนแผนและงบประมาณทางการศึกษาท้องถิ่นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)19 ธ.ค. 2549

รร.อเล๊กซานเดอร์.

Hanifan L.J. Citeed in Woolcock, M. and Nayanan,D.Social Capital : Implications for Development Theory ,

Research Obserer 15 (2) :225-249,2000.

Grassion, Victor. Moral Reasoning : Ethical Theory and Some Contemporary Moral Problems. Englewood

Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall,1992.

Thayer-Bacon, Barbara and Bacon, Charles S. Philosophy Applied to Education. New Jersey : Prentice-Hall, 1988 .



------------------------------------------

การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนทางสังคมในท้องถิ่นสู่คุณภาพ

หัวข้องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนทางสังคมในท้องถิ่นสู่คุณภาพ


การศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล, 363 หน้า.

ผู้วิจัย ดร.เรวัต สิงห์เรือง

ปี พ.ศ. 2553
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพการจัดการทุนทางสังคมของสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการทุนทางสังคมในท้องถิ่นสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน โรงเรียนต้นแบบ และโรงเรียนในฝัน จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการจัดการทุนทางสังคมในสถานศึกษาในท้องถิ่น

ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาเห็นว่าทุนทางสังคมในด้านทุนมนุษย์ ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนการบริหารจัดการองค์กร และทุนทางสังคมที่เป็นสารสนเทศส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทุนมนุษย์ รองลงมาคือ ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทางการบริหารจัดการองค์การ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและทุนทางสังคมที่เป็นสารสนเทศ ตามลำดับ

การจัดการทุนทางสังคมของสถานศึกษาในท้องถิ่นของโรงเรียนสังกัดเทศบาล ในด้านทุนมนุษย์ มีการดำเนินงานในระดับมากที่สุดคือ มีการร่วมมือของผู้ปกครองกลุ่มสถานศึกษา สมาคม ชมรม ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในการแสวงหาความร่วมมือในการสนับสนุนงานการศึกษาและการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง การจัดการทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการดำเนินงานในระดับมากที่สุดคือมีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้อื่นๆที่ส่งเสริมคุณ จริยธรรมในสถานศึกษา ด้านทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ มีการดำเนินงานในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในของสถานศึกษาให้ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านทุนทางการบริหารจัดการองค์การมีการดำเนินงานในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาให้ครอบคลุมโครงสร้าง ภารกิจ บุคลากร เทคโนโลยีและกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น และในด้านทุนทางสังคมที่เป็นสารสนเทศมีการดำเนินงานในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สถานศึกษามีการพัฒนา การใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหารได้

2. การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนทางสังคมในท้องถิ่นสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล

รูปแบบการการจัดการทุนทางสังคมในท้องถิ่นสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล มีองค์ประกอบของการบริหารจัดการได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย การจัดองค์การ การดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ การนำไปใช้และเงื่อนไขของความสำเร็จของการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นใน 5 ด้านคือ ทุนทางสังคมที่เป็นทุนมนุษย์ ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางการบริหารจัดการองค์การ และทุนทางสังคมที่เป็นสารสนเทศ โดยการนำรูปแบบการจัดการทุนทางสังคม ไปใช้ในสถานศึกษาต้องมีแผนยุทธศาสตร์ กลไก ขั้นตอน วิธีการอย่างเป็นระบบทั้งด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอนและการพัฒนาบุคลากร โดยกำหนดโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องรวมถึงเงื่อนไขความสำเร็จ รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมสู่คุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น 3 ด้านคือ 1) คุณภาพของสถานศึกษา 2) คุณภาพของนักเรียน และ 3) คุณภาพของครูและบุคลากรในสถานศึกษา.

                              




Title Administrative Model of Social Capital Management for

Education Quality of Municipal School

Author Dr. Rewat Singruang

Years 2010

                                    ABSTRACT


The purposes of this research were 1) to study characteristic of social capital management of school in local and 2) to develop model of social capital management efforts to quality of education in local. The population composed of administrators, teachers and school’s committees in awarded school, originated school and dreaming school for 90 respondents. The research instruments were questionnaire and interview. The statistics were percentage, mean and standard deviation.

The research findings were as follows:

1. The characteristic of social capital management in local school

The administrators, teachers and school’s board view that there are 5 elements of social capital influential in school management namely human, culture and folk wisdom, natural resources, administration and management and information technology sequentially

Social capital management in local school, human resources is the most active capital furthermore enhanced achievement of school administrated by participation and cooperation of parents, community, educational related firm and concerned unit. Culture and folk wisdom, had implemented in high level as the second sequence. To encouraged learner in moral and ethic by providing variety learning organization in classroom and others knowledge center is necessary.

Natural resources activated to the population in high level every item. The highest average item was the school environment organization that support effective learning and learner’s safety. Administration and management capital had high level of implementation every item. The highest average item was to set the development policy by obligated structure, mission, personnel, technology and strategy in accordance of current situation , need and problem of community. The information technology had high level of implementation every item. The highest average item was school has development the utilization of media and technology to be a part of learning organization and administrative procedure.

2. The Development of model in social capital management efforts to local education quality

The model of social capital management efforts to local education quality compose of principle of management such as core principle, objective, administration and management success indicator, practicability . Thus, The systematic planning for strategy, motivative function, procedure and methodology including sophisticated plan to manage human capital, culture and folk wisdom capital, natural resources capital, administration and management capital and information technology capital is a must. Setting up the related project or campaign are conditions to achieve the social capital management in local school. The effective model of social capital management efforts to local school education quality enhanced achievement on 3 parts as follow 1) quality of school 2) quality of student and 3) quality of teachers and personnel in school.

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

"ส้มตำบักหุ่ง" วิวัฒนาการที่ไม่หยุดนิ่ง

"ส้มตำบักหุ่ง" วิวัฒนาการที่ไม่หยุดนิ่ง


ดร.เรวัต สิงห์เรือง ผอ.โรงเรียนเทศบาล 2 พิบูลวิทยาคาร

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี



"ส้มตำบักหุ่ง" หรือ ส้มตำเป็นอาหารยอดฮิต และอาหารหลักของชาวอีสาน ได้มีการรับประทานกันมาหลายชั่วอายุคน ที่ประกอบไปด้วยคุณค่าแห่งสารอาหาร มีความหลากหลายในรูปแบบแห่งการต่อสู้ ดิ้นรนของความอยู่รอดของวิถีชีวิต และความฟุ่มเฟือยในรสชาดแห่งการรับประทาน บางนัยอาจถูกจัดเข้าประเภทอาหารว่าง กับแกล้ม หรือแล้วแต่ที่พื้นที่นั้นๆที่มีความต้องการรับประทาน ตำ บักหุ่ง พริก กะหล่ำปลี คะน้า ผักกาด เป็นต้น ที่สำคัญคือค่านิยมปัจจุบันที่มุ่งเน้นสู่กระแสแห่งการบริโภคที่ใช้สมุนไพรเป็นอาหาร และการดำรงวิถีชีวิตในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้รู้จักบริโภคพืชผักตามฤดูกาลการบริโภคพืชผักพื้นบ้านพื้นเมืองที่เราสามารถปลูกได้ในครัวเรือน ปลอดสารพิษ เศรษฐกิจดีขึ้น



เครื่องปรุง ในความหลากหลายของรสชาดของความอร่อย ในสีสรรล้วนมาจากการปรุงแต่งในรูปแบบล้วนขึ้นอยู่กับอารยธรรมของการับประทาน ที่ประกอบด้วย

มะละกอ ( Papaya )

สรรพคุณ ราก นำมาต้มแก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ช่วยขับปัสสาวะ รากรสขม สุขุม มีพิษ ทำให้สงบ ใช้แก้ปวด เลือดออกตามไรฟัน ปวดหัว นอนไม่หลับ ใบสด ย่างไฟแล้วบดนำไปประกอบบริเวณที่ปวด และแก้ปวดไขข้อ แก้ไข้ที่เกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลง ปวดท้อง ท้องเสีย น้ำแช่ดอกสดใช้แต่งกลิ่น ทำให้ชุ่มชื่นบำรุงหัวใจ น้ำต้มช่วยขับประจำเดือนสตรี ดอกรสฉุนชุ่ม สุขุม สมานท้อง แก้บิด ปวดท้อง แผลเรื้อรัง เยื่อตาอักเสบ เมล็ด ช่วยดับกระหาย และมีฤทธิ์ช่วยขับพยาธิ ยาง ช่วยสลายโปรตีน ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ในเนื้อมะละกอมีธาตุเหล็กบำรุงเลือด มีแคลเซียมบำรุงกระดูก มีวิตามินเอบำรุงสายตา วิตามินบีบำรุงประสาท วิตามินซีรักษาและป้องกันโรคลักปิดลักเปิด มีเอนไซม์ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

กระเทียม [Garlic]

อาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นจุกเสียดการที่กระเทียมสดช่วยลดอาการท้องอืดเฟ้อได้ เพราะมี น้ำมันหอมระเหยช่วยขับลม รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน การที่กระเทียมรักษากลาก เกลื้อนได้เพราะ

2

ในกระเทียม มีสารที่ออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา สารนั้นมีชี่อว่า "อัลลิซิน" ( ALLICIN ) ซึ่งออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสหวัดได้โดยตรง อันเนื่องมาจาก "สารมาโครฟาจ" หรือ "ฟาโกซัยต์" ในกระเทียมที่กระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ โดยเซลล์ 2 ชนิดนี้ทำหน้าที่หลักในการต้านทานเชื้อโรคจากภายนอกที่จะเข้ามาสู่ร่างกาย ซึ่งความรู้เรื่องนี้ไม่เพียงแต่ใช้มานานในประเทศจีน แต่ประเทศญี่ปุ่นก็เป็นที่ทราบกันดีมากกว่าพันปีแล้ว แม้กระทั่งในรัสเซีย และเยอรมนีเองก็ตาม ถึงกับขนานนามกระเทียมว่าเป็น "แอสไพริน

น้ำตาล (Sugar)

เป็นสารอาหารในประเภทคาร์โบไฮเดรท ให้พลังงาน

มะนาว ( Lemon)

แก้เจ็บคอ,ไอ,แก้เสียงแหบแห้ง,แก้ไอขับเสมหะ,ใช้เป็นน้ำกระสายผสมยากวาดคอเด็ก,แก้ไข้หวัด,เป็นยาอายุวัฒนะและเจริญอาหาร,รักษาโรคกระเพาะ,แก้ท้องผูก,ท้องร่วง,แก้อาหารเป็นพิษและแก้บิด,แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน,แก้เหงือกบวม,ขจัดคราบบุหรี่ที่ติดตามไรฟัน,แก้ปวดท้อง,ท้องอืด,ท้องเฟ้อ,แก้ไข้ทับระดู,แก้ปวดศรีษะ,แก้ลมวิงเวียน,แก้อาการวิงเวียนศรีษะเมื่อคลอดบุตร,แก้เมาเหล้า,เมายา,แก้นิ่ว,แก้เหน็บชา,แก้ตาแดง,แก้ก้างติดคอ,บำรุงผิว,แก้สิว,ฝ้า,แก้ส้นเท้าแตก,แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย,ดับกลิ่นเต่า,แก้กลากเกลื้อน,หิด,แก้หูด,แก้พุพอง,แก้น้ำกัดเท้า,แก้ปูนซีเมนต์กัด,แก้บาดทะยัก,แก้เล็บขบ,แก้ปลาดุกยัก,รักษากลิ่นปาก,แก้เจ็บคอ และแก้คลื่นใส้อาเจียร คุณค่าทางอาหาร: น้ำ 89.37 % กาก 0.65% โปรตีน 0.82 % คาร์โบไฮเดรต 7.84 % แคลเซียม 0.033 % ฟอสฟอรัส 0.024 % เหล็ก0.0006 % โปตัสเซียม 0.193 %

พริก(Chili)

พริกเป็นสมุนไพร ช่วยทำให้เจริญอาหาร เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้อาการเป็นตะคริวปัจจุบันนำสารที่สกัดจากพริกไปผสมในยาชนิดต่าง ๆ เช่น ยาธาตุ ยาเจริญอาหาร ยาขับลม และยาแก้ปวดท้อง เพราะสารสกัดจากพริก จะไปกระตุ้นการหลั่งเอนไซม์บางชนิด ทำให้เกิดการบีบตัวและคลายตัวของกระเพาะอาหารและสำไส้ มีสารอาหาร มากมายอันเป็นผลดีต่อสุขภาพ เช่น วิตามินซี วิตามินอี วิตามิน บี 1,2,3 พริกบางชนิดมี วิตามินซีมากกว่าส้มหนึ่งผลถึง 6 เท่า ถ้าเป็นพริกสีแดงจะมีสารพวกโปรวิตามิน มีแคโรทีน ชนิด แอลฟา เบต้า และแกมมา รวมทั้งคริบโตแซนทีน ซึ่งพวกนี้จะไปเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ที่ตับ การรับประทานแคโรทีนและวิตามินเอมาก ๆ อาจจะไปลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลงได้

3

มะเขือเทศ (Tomato, Love Apple)

เป็นพืชล้มลุกลำต้นและใบมีขนอ่อนทำให้ระคายผิวเมื่อสัมผัสซึ่งวิธีทำนั้นล้างมะเขือเทศเชอรี่สุกให้สะอาด ผ่าซีก นำไปปั่นกับน้ำต้มสุก เติมน้ำเชื่อม เกลือป่น ชิมรสตามชอบใจ เวลาดื่มเติมน้ำแข็งบด หรือเก็บใส่ตู้เย็น เป็นเครื่องดื่มสมุนไพร

มะขาม ( Leguminosae)

เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว 10–20 ฝัก (หนัก 70–150 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือต้มน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม ขับพยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกออก เอาเนื้อในเมล็ดไปแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20-30 เม็ด ขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร คุณค่าทางโภชนาการ ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย

ถั่วฝักยาว [ Cow – pea ]



เป็นแหล่งที่มีวิตามินเอเยอะมาก ช่วยในการบำรุงสายตาให้มีสุขภาพดี มีสารป้องกันมะเร็ง ทั้งยังช่วยขจัดกลิ่นตัวเหม็นๆ ออกไปด้วย

ถั่วลิสง [Pea-nut]

มีสารอาหารจำพวกไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรท และเกลือแร่

ปลาร้า (Pla – ra )

มีโปรตีนสูง วิตามินบี 12 เหล็ก และไอโอดีน

น้ำปลา [Fish sauce]

มีโปรตีนสูง วิตามินบี 12 เหล็ก และไอโอดีน

4

ความหลากหลายในรูปแบบ

ตำบักหุ่ง เป็นการปรับเปลี่ยน การบรูณาการ และความหลากหลายของการประกอบอาหารที่สามารถจัดได้หลายรูปแบบ และอาจมีอาหารเคียงที่รับประทานร่วม เช่น ซุปหน่อไม้ ยำปูเค็ม กระดูกอ่อน คอหมูย่าง ลาบหมู ลาบไก่ น้ำตกหมู ยำวุ้นเส้น ยำปลาหมึก ยำหมูยอ ยำไส้กรอก ยำรวมมิตร ปีกไก่ย่าง น่องไก่ย่าง ขนมจีนเปล่า ข้าวเหนียว ข้าวสวย ,ผัดไทย ข้าวมัน ซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับส่วนประกอบอย่างอื่น เช่น ปลาหมึก หอย กุ้ง แล้วแต่ผู้บริโภคต้องการ เช่น ตำไทย ตำโคราช ตำลาว ตำมั่ว ตำซั่ว ตำแตง ตำยอ ตำกล้วย ตำสายบัว ตำหอย ตำปู ตำกุ้ง ตำลงทุ่ง ตำป่า ตำหมูยอ ตำผลไม้รวม ตำแครอท ล้วนแต่รสนิยมและท้องถิ่นนั้นๆไม่มีข้อกำหนดที่เป็นรูปแบบชัดเจน

ค่านิยมในการรับประทาน

ครั้งในอดีตตำบุกหุ่ง เป็นอาหารที่คู่กับคนอีสาน โดยอาจถือได้ว่าเป็นค่านิยมของคนอีสานก็ว่าได้เพราะ คำว่า “ปลาร้า” เป็นคำที่เป็นแบรนด์เนมควบคู่ของคนอีสาน ที่เป็นองค์ประกอบหลักของตำบักหุ่งที่ไปพร้อมกับแรงงานอพยพพลัดถิ่น กรรมการ คนขับแท๊กซี่ คนรับใช้ แม่บ้าน ซึ่งในการรับประทานต้องไปแอบที่หลังบ้าน ในครัวและเวลากลางคืนหลังจากที่นายจ้างเข้านอนแล้ว แรงงานเหล่านั้นที่เสร็จจากการทำงาน ได้ไปรวมตัวกัน พบประ พูดคุย เสวนาโดยมีตำบักหุ่งเป็นอาหารว่าง และอาหารหลัก ที่ก้าวเดินจากหลังบ้านในครัว ก้าวออกไปสู่ฟุตบาท ปั้มน้ำมัน สวนสาธารณะ และแผงลอยในเวลาต่อมา ก็ก้าวขึ้นบนห้างที่หรูหรา เพราะรสชาดที่เป็นอัตลักษณ์แห่งตน สีสรรในงานศิลปะที่น่ารับประทาน จึงไม่ต้องไปหลบซ่อนกินกันแล้ว บางครั้งก็มีเครื่องเคียงที่ส่งเสริมให้ดูดี องค์ประกอบของการตกแต่ง มีระดับของผู้ขายบริการและสถานที่จำหน่าย ซึ่งจากสนนราคาหลักสิบบาท ต้นๆ จนมาเป็นหลายสิบบาท หรือก็อาจเป็นหลักร้อยในราคาที่จำหน่ายในแถบยุโรป จึงทำให้ค่านิยมในการรับประทานเปลี่ยนไปจากรูปแบบและราคาแพงขึ้นติดตามไปกับแรงงานอพยพ นักธุรกิจ ที่ค่าของเงินตราเป็นตัวกำหนด









5

วัฒนธรรมที่ซ่อนเร้นในตำบักหุ่ง

ที่ผ่านมาตำบักหุ่ง เป็นอาหารที่บ่งบอกถึงสภาพความเป็นอยู่ของชุมชน ความมีน้ำใจต่อกัน วิถีชีวิตที่มีการปรับเปลี่ยน การต่อสู้ การให้ และการเอื้ออาทร ที่ล้วนมีหลักปรัชญาที่ซ่อนเร้นอยู่ แต่ในปัจจุบัน ตำบักหุ่งเป็นธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ สามารถสร้างงานสร้างอาชีพให้คนเป็นมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และบางคนก็เป็นเศรษฐีไปแล้ว หลายราย ซึ่งอาจมีงานอาชีพที่มีความเชื่อมโยง กระทบต่อกันขึ้นอยู่กับเครื่องปรุง วัตถุดิบในการปรุงหรือประกอบเป็นตำบักหุ่ง หรืออาจเป็นแฟรนชายส์ (Franchise) ไปก็อาจเป็นได้ เพราะ ตำบักหุ่งเป็นอาหารเป็นที่ยอมรับของคนทั้งประเทศและกำลังขยายอาณาจักรออกไปทั่วโลกในยุกต์ของโลกาภิวัตน์ที่มีการอพยพแรงงานที่มีคนเอเชีย หรือประเทศที่เคยมีนักท่องเที่ยวได้มาเที่ยว และลองลิ้มรสตำบักหุ่ง ในประเทศไทย

แต่บางครั้งรูปแบบของตำบักหุ่ง ก็มีการซ่อนเล้นกิจกรรม วัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างในรูปแบบของการขายบริการทางเพศแอบแฝงมาด้วยซึ่งความหลากหลายในอาชีพ ความต้องการของสังคมมนุษย์ที่มีการแสวงหารูปแบบที่แตกต่าง และวิธีการตลาดที่ไม่หยุดนิ่งจึงทำให้เกิดวิธีการนี้ขึ้นมา แต่เป็นเพียงจุดเล็กๆที่เกิดขึ้นในเวลากลางคืนแถวๆที่มีแรงงานอพยพจากชนบทหรือแรงงานข้ามชาติ สู่เมืองใหญ่ อยู่เป็นจำนวนมากๆ ในภาคของแรงงาน ซึ่งเราต้องช่วยกันป้องกันอย่าให้มีพฤติกรรมลักษณะนี้เกิดขึ้น อาจจะเป็นกระบวนการที่ทำให้วัฒนธรรมของตำบักหุ่งตกต่ำลง เพราะเราได้พัฒนา ส่งเสริมให้ตำบักหุ่ง ก้าวเข้าไปสู่โลกาภิวัตน์แล้ว เป็นที่ทราบของคนเกือบจะทั่วโลกไปแล้ว ให้ก้าวไปอย่างสง่างามไม่ควรให้ก้าวเดินถอยหลัง และให้เป็นอัตลักษณ์ของคนอีสาน หรือ ผู้บริโภคตำบักหุ่งทั่วไป กับ “ตำบักหุ่ง” เคียงคู่กันตลอดไปอย่างสวยงาม.

ซาลาเปา "ของอร่อยเมืองพิบูล"

ซาลาเปา“ของอร่อยเมืองพิบูลฯ”


โดย ดร.เรวัต สิงห์เรือง

ร.ร.เทศบาล ๒ พิบูลวิทยาคาร
 

ซาลาเปา (ภาษาจีน: 包子, พินอิน: bāozi เปาจื่อ) เป็นอาหารจีนชนิดหนึ่งทำมาจากแป้งสาลีและยีสต์ และนำมาผ่านขบวนการนึ่ง ซาลาเปาจะมีไส้อยู่ภายในโดยอาจจะเป็นเนื้อหรือผัก ซาลาเปาที่นิยมนำมารับประทานได้แก่ ซาลาเปาไส้หมู และ ซาลาเปาไส้ครีม สำหรับอาหารที่มีลักษณะคล้ายซาลาเปา ที่ไม่มีไส้จะเรียกว่า หมั่นโถว นอกจากนี้ซาลาเปายังคงเป็นส่วนหนึ่งในชุดอาหารติ่มซำ ในวัฒนธรรมจีน ซาลาเปาสามารถนำมารับประทานได้ในทุกมื้ออาหาร ซึ่งนิยมมากในมื้ออาหารเช้าซาลาเปาได้ชื่อว่าถูกคิดค้นขึ้นมาโดยขงเบ้งในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ในภาษาอังกฤษเรียกซาลาเปาว่า "baozi" และมักจะเรียกสั้นๆ ว่า "bao"


ซาลาเปา “ของอร่อยเมืองพิบูลฯ

การที่ได้มาท่องเที่ยวเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่

แก่งสะพือ งามสมชื่อ เลื่องลืออีสาน นั้น ต้องมีของฝากติดไม้ติดมือกลับไปฝากผู้ที่เป็นที่รักที่อยู่ทางบ้านตามธรรมเนียมของคนไทยผู้มีน้ำใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นอย่างยิ่ง คงจะไม่ขาดหายไปในของฝาก คือ ซาลาเปา เพราะเป็นเส้นทางที่ผ่านเข้ามาในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร ตามถนนเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑๗ ล้วนแต่มีซุ้มขายซาลาเปาตลอด ๒ข้างทาง และสุดท้ายที่จะเลี้ยวขวามือของถนนหลวง เพื่อเข้าไปชมแก่งสะพือจะมีร้านขายซาลาเปาอยู่ตรงมุมเชิงสะพานข้ามแม่น้ำมูลพอดี เป็นร้านที่ขายซาลาเปาเก่าดั้งเดิม ชื่อว่าร้าน ซิมยู เลขที่ 32 ถนนหลวง อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เชื่อกันว่ามีสูตรลับพิเศษที่ตกทอดมาหลายชั่วอายุเพราะบรรพชนได้อพยพมาจากเมืองจีนได้สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น มีความอร่อยคงทน เนื้อแป้งหอม นุ่ม ใส้ในก็มีความโดดเด่นในเฉพาะตัว โดยมีทั้งใส้หวานที่เป็นเนื้อแป้งหวานสีดำเฉพาะและใส้เค็มที่มีเนื้อหมู กุ้ง และหน่อไม้ เป็นส่วนผสม ในความลงตัวของสูตรใส้ซาลาเปาอย่างลงตัวและคงความอร่อยติดปาก ต่อปากมาจนทุกวันนี้ ถ้าใครมาแล้วไม่ได้ลิ้มรสซาลาเปาเจ้าเก่า คงยังไม่เข้าถึงของอร่อยเมืองพิบูลฯ ในความอร่อยนี้ จึงมีการพัฒนาอาหาร ของฝากที่เป็นซาลาเปาในเมืองพิบูลฯอีกมากที่หลากหลายในรสชาติ และรูปแบบเป็นอัตลักษณ์ของซาลาเปาที่หลากหลายและอร่อยที่สุด จนเป็นคำกล่าวที่ว่า อร่อยที่สุด ก็ว่าได้ จึงเป็นของฝาก นักท่องเที่ยว อาหารว่างสำหรับต้อนรับแขกที่มาทัศนศึกษาดูงานในพิบูลมังสาหาร จึงเป็นสินค้า OTOP ของพิบูลมังสาหาร เลยทีเดียว

ความหลากหลายและดั้งเดิมของซาลาเปานั้น ได้มีประวัติของการทำซาลาเปาจากหลายถิ่นหลายที่อาจมีความแตกต่างในรูปลักษณ์ และรสชาดสรุปได้มีดังนี้ คือ

                ซาลาเปาหมาเมิน อาหารท้องถิ่นของเมืองเทียนสิน ท่านผู้ฟังอาจรู้สึกแปลกใจว่า ซาลาเปานี่แม้แต่สุนัขก็ยังเมิน จะอร่อยหรือ ความจริง ซาลาเปาหมาเมินเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่ร้อยปีก่อน เล่ากันว่า ช่วงที่หยวนซือไข่ ขุนศึกราชวงศ์ชิงเข้าครองเมืองเทียนสิน เขาเบื่ออาหารชั้นหนึ่งทุกอย่างที่ทำอย่างประณีตและแปลกใหม่ แต่กลับกินซาลาเปาหมาเมินกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ ต่อมาเมื่อหยวนซือไข่เดินทางไปกรุงปักกิ่งเพื่อเข้าเฝ้าซูสีไทเฮา ก็นำซาลาเปาหมาเมินทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระนางซูสีไทเฮา ปรากฎว่า พระนางซูสีไทเฮาชอบมาก ตรัสว่า อร่อยจริง ๆ ถึงสามครั้ง จากนั้นมาซาลาเปาหมาเมินก็กลายเป็นอาหารโปรดของพระนางซูสีไทเฮา โดยทหารรับใช้ต้องไปเมืองเทียนสินบ่อย ๆ เพื่อซื้อซาลาเปาหมาเมินถวายพระนางซูสีไทเฮา

ซาลาเปาหมาเมินมีประวัติอันยาวนาน ผู้ต้นคิดชื่อว่ากอกุ้ยโหย่ว ชื่อเล่นชื่อว่าโก่เจอซึ่งหมายถึงสุนัขเล็ก ในช่วงรัชสมัยถุงเจ้อของราชวงศ์ชิง กอกุ้ยโหย่ว อายุ 14 ปีได้เดินทางไปเมืองเทียนสิน และเริ่มฝึกงานที่ร้านขายอาหารนึ่งร้านหนึ่ง ที่นั่นเขาเรียนวิธีทำซาลาเปาโดยเฉพาะ แม้ว่ากอกุ้ยโหย่วอายุน้อยแต่เขาเป็นคนฉลาดและขยันหมั่นเพียร ซาลาเปาที่เขาทำนั้นอร่อยมาก จึงขายดิบขายดี และได้รับคำชมจากลูกค้าบ่อย ๆ เมื่อฝึกงานเสร็จแล้ว เขาก็เริ่มขายซาลาเปาที่ตนทำตามริมถนน ต่อมาเมื่อปี 1882 เขาใช้เงินที่สะสมไว้เช่าร้านอาหาร

ร้านหนึ่งและขายซาลาเปาโดยเฉพาะ ความจริงแล้วร้อยกว่าปีมานี้มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของชื่ออาหารหลายเรื่องค่ะซึ่งวันนี้ขอเล่าที่มาที่แพร่หลายมากที่สุด เล่ากันว่า กอกุ้ยโหย่วเป็นทั้งเจ้าของร้านและคนเสริฟ จึงยุ่งมาก แต่ลูกค้าประจำมักจะมาคุยกับเขาบ่อย ๆ ดังนั้นเพื่อประหยัดเวลา เขาจึงคิดวิธีขึ้นมาว่า เขาจะวางถ้วยและตะเกียบบนโต๊ะแล้วให้ลูกค้าวางเงินที่ต้องการซื้อซาลาเปาลงในถ้วย เขาก็จะให้ซาลาเปาตามจำนวนเงินในถ้วยนั้น เมื่อลูกค้ากินเสร็จแล้วก็ไปโดยกอกุ้ยโหย่วไม่ต้องพูดอะไรเลย เวลานานเข้า ลูกค้าก็พูดกันต่อ ๆ ว่า โก่เจอขายซาลาเปาไม่สนใคร และจากนั้นมา ผู้คนก็เริ่มเรียกซาลาเปาของโก่เจอว่า ซาลาเปาหมาเมิน

ลักษณะเด่นของซาลาเปาหมาเมินคือมีแป้งบางและมีไส้เต็ม เพราะแป้งซาลาเปาหมาเมินนั้นไม่ได้ขึ้นฟูอย่างเต็มที่ แต่เวลานวดแป้งจะให้ความสำคัญกับสัดส่วนของแป้ง น้ำ และโซดารวมทั้งอุณหภูมิของน้ำด้วย เช่นในช่วงฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูใบไม้ร่วง ก็ให้ใช้น้ำที่มีอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนใช้น้ำธรรมดา ส่วนฤดูหนาวควรใช้น้ำที่มีอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และแป้งที่นวดเสร็จควรมีอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ส่วนไส้ของซาลาเปาหมาเมินนั้นพิถีพิถันกว่าแป้งเสียอีก คือจะต้องใช้เนื้อหมูสด สัดส่วนของเนื้อแดงกับมันหมูก็แตกต่างกันตามฤดูกาล ช่วงฤดูร้อน ควรใช้มันหมู 30% เนื้อแดง 70% ฤดูใบไม้ผลิกับฤดูใบไม้ร่วงใช้มันหมู 50% เนื้อแดง 50% ส่วนช่วงฤดูหนาวจะใช้มันหมู 60%และเนื้อแดง 40% และการเตรียมไส้ซาลาเปาหมาเมินนั้นยังต้องใช้น้ำต้มกระดูกแทนน้ำเปล่า และใช้ซีอิ๊วแทนเกลือ ปัจจุบัน ร้านขายซาลาเปาหมาเมินมีอยู่ทั่วประเทศจีน ที่กรุงปักกิ่งก็มีหลายร้านด้วยและมีกุ๊กจากร้านขายซาลาเปา หมาเมินของเมืองเทียนสินมาสอนให้โดยเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อให้ลูกค้าในปักกิ่งสัมผัสรสชาติดั้งเดิมของซาลาเปาหมาเมินนั่นเอง

เครื่องปรุง

ประกอบด้วย แป้งสาลี 1000 กรัม ก้อนหมี่ที่ขึ้นฟูแล้ว 100 กรัม เนื้อหมู 500 กรัมซึ่งช่วงนี้เป็นหน้าร้อนควรใช้มันหมู 30% เนื้อแดง 70% ซีอิ๊ว 150 กรัม น้ำมันงา 60 กรัม ต้นหอมซอย 60 กรัม ขิงสับ 5 กรัม ผงชูรส 5กรัม น้ำต้มกระดูก 500 กรัม และโซดา 5 กรัม

เมื่อเตรียมเครื่องปรุงเสร็จแล้วเรามาดูวิธีทำกัน นะ

1.สับเนื้อหมูให้ละเอียด ใส่ขิงสับคลุกให้เข้ากัน แล้วผสมกับซีอิ้ว เสร็จแล้วก็วางเนื้อหมูในตู้เย็นเป็นเวลาประมาณ 10 นาที

2.นำเนื้อหมูออกจากตู้เย็น ค่อย ๆ ใส่น้ำต้มกระดูกจนหมด แล้วใส่ต้นหอมซอย ผงชูรสและน้ำมันงาคลุกให้เข้ากัน เพียงเล่านี้เราก็ได้ไส้ของซาลาเปาหมาเมินแล้ว

3.ผสมแป้งสาลีกับก้อนหมี่ที่ขึ้นฟูแล้วและน้ำเปล่าให้เข้ากัน นวดให้เป็นก้อนหมี่ใหญ่แล้วพักให้ขึ้นฟู เสร็จแล้วใส่น้ำโซดาคลุกให้เข้ากัน

4.นวดก้อนหมี่ให้เป็นแผ่นกลม เหมือนแป้งห่อเกี๊ยว ทุกแผ่นใส่ไส้ประมาณ 15 กรัม แล้วจิบให้สวยงาม

5.นึ่งซาลาเปาด้วยไฟแรง 5–8 นาทีจากนั้นก็นำมารับประทานได้เลย

                ซาลาเปาตาแพะนี่มีเรื่องเล่าเกี่ยวข้องกับจักรพรรดิคังซีของราชวงศ์ชิง ก่อนที่จะเล่าเรื่องราวของซาลาเปาตาแพะให้ท่านผู้ฟังรับทราบ เรามาทำความรู้จักกับข้อกำหนดในการเสวยอาหารของจักรพรรดิของราชวงศ์ชิงกันเสียหน่อย ตามข้อบันทึกในหนังสือประวัติศาสตร์ จักรพรรดิราชวงศ์ชิงจะเสวยอาหารอย่างเป็น

ทางการวันละสองมื้อ มื้อแรกคืออาหารเช้า จะเสวยประมาณตอน 6 โมง อีกมื้อเป็นอาหารเที่ยง จะเสวยตอนเที่ยง ส่วนอาหารเย็นจะไม่เสวยอย่างเป็นทางการ จะเสวยของจุกจิกแทน เรียกกันว่า หวั่นเตี่ยน เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องการเสวยอาหารของจักรพรรดิต้องเขียนเมนูกับข้าวก่อนทุกมื้อ และเมนูต้องผ่านการพิจารณาตรวจสอบและจดทะเบียนแล้ว พ่อครัวจึงทำกับข้าวตามเมนูได้ เวลาเสนออาหาร จะมีแผ่นเงินแผ่นเล็ก ๆ วางไว้ในจานทุกใบเพื่อตรวจสอบว่ากับข้าวมีพิษหรือไม่ ถ้าหากแผ่นเงินเปลี่ยนสีก็แสดงว่ามีพิษ และพ่อครัวจะถูกลงโทษ เมื่อกับข้าวทุกจานผ่านการตรวจสอบแล้ว ยังต้องให้ขันทีชิมอีก จากนั้น จักรพรรดิจึงตรัสสั่งให้ขันทีตักกับข้าวที่พระองค์ทรงโปรดมาเสวย แต่ตามประเพณีของราชวงศ์ชิง จักรพรรดิจะเสวยกับข้าวทุกอย่างไม่เกินสามคำ เพื่อไม่ให้คนอื่นทราบว่า จักรพรรดิโปรดเสวยอะไร

ในรัชสมัยคังซี อยู่มาวันหนึ่ง จักรพรรดิคังซีทรงไม่อยากเสวยอะไร เลยเสวยไม่กี่คำก็ตรัสสั่งให้ขันทีนำอาหารทั้งหมดไป พ่อครัวได้ยินแล้วก็กลัวมาก ขันทีประจำพระองค์ชงชาให้จักรพรรดิอย่างระมัดระวัง แล้วกล่าวว่า ได้ยินว่าที่เขตเฉียนเหมินมีร้านขายซาลาเปาของชนชาติหุยอยู่ร้านหนึ่ง ซาลาเปาตาแพะของร้านนั้นมีชื่อเสียงมาก จักรพรรดิคังซีฟังแล้วก็ทรงสนพระทัย จึงทรงตัดสินใจไปลองเสวย แม้ว่าเฉียนเหมินจะอยู่ใกล้กับพระราชวังต้องห้าม แต่ถ้าเดินไปก็ต้องใช้เวลาสักหน่อย เมื่อจักรพรรดิคังซี เสด็จพระราชดำเนินถึงร้านขายซาลาเปาร้านนั้นแล้ว ทรงรู้สึกเมื่อยและหิว ขันทีรีบสั่งซาลาเปาตาแพะให้พระองค์ ปรากฎว่า จักรพรรดิคังซีทรงโปรดมาก ไม่กี่คำก็เสวยซาลาเปาลูกหนึ่งหมด แต่ทรงหาตาแพะอย่างไรก็ไม่เจอ จึงถามเจ้าของร้านว่า ซาลาเปาของเธอเรียกว่าซาลาเปาตาแพะ แต่ทำไมไม่เห็นมีตาแพะเล่า เจ้าของร้านรีบตอบว่า ฉันไม่กล้าหลอกท่านนะครับ ความจริง ซาลาเปาตาแพะนี่ไม่ได้ใช้ตาแพะเป็นใส้ เพียงแต่ว่า เราทำอย่างประณีต และขนาดของซาลาเปาเล็กหน่อยจึงตั้งชื่อว่า ซาลาเปาตาแพะ

วิธีทำซาลาเปาตาแพะ เครื่องปรุงมีดังนี้ แป้งสาลี เนื้อกระดูกสันหลังของแพะ เนื้อสะโพก เนื้อหอย ปลิงทะเล ต้นหอม ขิง น้ำมันงา เกลือ และโซดาเมื่อเตรียมเครื่องปรุงเหล่านี้เสร็จแล้ว เรามาฟังวิธีทำกันต่อนะครับ

1. ผสมแป้งสาลี น้ำเปล่าและโซดาให้เข้ากัน ทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมงแล้วนวดเป็นแป้งห่อซาลาเปา

2. สับเนื้อกระดูกสันหลังของแพะ เนื้อสะโพก เนื้อหอย ปลิงทะเล ต้นหอม และขิงให้ละเอียด แล้วผสมเครื่องปรุงเหล่านี้กับเกลือและน้ำมันงาให้เข้ากัน ใส้ของซาลาเปาตาแพะก็ทำเสร็จแล้ว

3. ใส่ไส้ที่ทำไว้ในแป้งห่อซาลาเปาและจัดให้สวยงาม

4. นึ่งให้สุกก็รับประทานได้

                  ซาลาเปาทับหลี เป็นชื่อแฟรนไชส์ซาลาเปา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสินค้าจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ของ บ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง

ประวัติ

ในปี 2495 ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในตลาดท่าข้าม ร้านค้าของนายยกกว้างถูกไฟไหม้หมดเนื้อหมดตัว จึงเดินทางกลับบ้านมาอาศัยอยู่กับครอบครัวดั้งเดิมและเริ่มทำซาลาเปาขายช่วยเหลือครอบครัว ได้ถ่ายทอดวิธีทำซาลาเปา ให้นายไฮ้กว้าง และ นาย ฮ่อกว้าง ฮั่นบุญศรี น้องชาย ได้ดำเนินกิจการสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยคุณนิตยา ฮั่นบุญศรี ลูกสาวของนายฮ่อกว้าง ฮั่นบุญศรี เป็นผู้ดำเนินกิจการต่อ นับว่าเป็นภูมิปัญญาของบ้านทับหลี ที่ได้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นระยะเวลากว่า 50 ปี และได้ถ่ายทอดไปยังคนในหมู่บ้าน ทำให้ปัจจุบันสองข้างทางถนนในหมู่บ้านจะมีร้านจำหน่ายซาลาเปาทับหลี สองข้างถนน กว่า 1 กม. จำนวน 48 ร้าน ซึ่งแต่ละร้านมีคุณภาพ รสชาติใกล้เคียงกัน

วิธีการการผลิตซาลาเปา : การทำซาลาเปามีหลายสูตรตามความเหมาะสมและความถนัดของผู้ประกอบการและความต้องการบริโภคของลูกค้าในแต่ละท้องถิ่น มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ดังนี้

• สูตรที่ 1

ส่วนผสมที่ 1

- แป้งสาลีตรากิเลนเหลือง 1 ขีด

- น้ำ 370 ซีซี

- ยีสต์ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

ร่อนแป้งด้วยตะแกรงตาถี่ใส่ในภาชนะ นำยีสต์ผสมกับน้ำ คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 5 นาที จากนั้นนำมาเทใส่แป้ง ค่อย ๆ ใช้มือนวดจนเป็นเนื้อเดียวกันประมาณ 30 นาที เมื่อแป้งเนียนได้ที่แล้วจึงใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำบิดให้แห้งคลุมไว้ เพื่อหมักให้แป้งฟู ประมาณ 2-3 ชั่วโมง

ส่วนผสมที่ 2

- แป้งสาลี 5 ขีด - นมสด 2 1/2 ออนซ์

- น้ำตาลทราย 300 กรัม - ผงฟู 2 ช้อนโต๊ะ

- เนยขาว 100 กรัม

วิธีทำ

เมื่อหมักส่วนที่ 1 ได้ที่แล้ว จึงเทน้ำตาลทรายลงไปในส่วนที่ 1 นวดจนน้ำตาลละลายเข้าไปในเนื้อแป้ง แล้วเทแป้งสาลี ผงฟู นมสดลงไป นวดให้เข้ากัน จึงเติมเนยขาว นวดต่อไปจนเนื้อแป้งฟูนุ่มมือ (ถ้าแป้งแห้งเกินไป ให้ค่อย ๆ พรมน้ำอุ่น พอทำให้นวดแป้งต่อไปได้) นวดประมาณ 10-15 นาที แล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดแห้ง 20 นาที ใส่ไส้แล้วนำไปนึ่งในน้ำที่กำลังเดือด

• สูตรที่ 2

ส่วนผสม / อุปกรณ์

- แป้งสาลี 1 กิโลกรัม - ยีสต์ 1 ช้อนโต๊ะ

- น้ำเปล่า 350 กรัม - ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ

- น้ำตาลทราย 200 กรัม - เนยขาว 125 กรัม

- เกลือ 1/2 ช้อนชา



วิธีทำ ผสมส่วนแรก

- แป้ง 500 กรัม - ยีสต์ 1 ช้อนโต๊ะ

- นำเปล่า 350 กรัม

ผสมทั้ง 3 อย่าง เข้าด้วยกันปิดฝา ไว้ในภาชนะกันลมหมักไว้ 1 ชั่วโมง

ผสมส่วนที่ 2

- แป้ง 500 กรัม - น้ำตาลทราย 200 กรัม

- น้ำเปล่า 150 กรัม - เกลือ 1/2 ช้อนชา

- เนยขาว 125 กรัม

ผสมทั้ง 5 อย่างเข้าด้วยกันเอาส่วนแรกที่หมักไว้มารวมด้วยกัน นวดนาน 1/2 ชั่วโมง ด้วยมือให้เนียนมากๆ แป้งจะได้นิ่มฟู (ปั้นได้ประมาณ 60 ลูก หรือ แล้วแต่ขนาดที่ต้องการ)

• สูตรที่ 3

ส่วนผสม

- แป้งสาลี 2 กก. - เนยขาว 150 กก.

- เอสพี 4 ช้อนชา - ผงฟู 4 ช้อนโต๊ะ

- เกลือ 2 ช้อนชา - น้ำตาลทรายขาว 480 กรัม

- น้ำสะอาด 1 กก.

วิธีทำ

1. ร่อนแป้ง ผงฟูและยีสต์รวมกัน

2. นำส่วนผสมข้อ 1 ใส่รวมกับน้ำตาล เอสพี น้ำ เนยขาวตีรวมกันในเครื่องนวด 15 - 20 นาทีจนขาวเนียน จับแป้งแผ่ดู ถ้าไม่ขาดเป็นอันใช้ได้

3. แบ่งแป้งออกเป็นก้อนๆ ก้อนละ 30 กรัม คลึงให้กลม พักไว้ 15 นาที

4. ใช้ไม้คลึงรีดแป้งกลับไปกลับมา 2 ด้านให้แผ่เป็นแผ่นแบน กว้าง 3 * 5 นิ้ว ใช้แผ่นพลาสติกคลุม พักไว้ 30 นาที แป้งจะขึ้นประมาณ 2 เท่า

5. นำแป้งที่ขึ้นฟูได้ที่แล้วไปนึ่งในซึ้งที่มีน้ำเดือดนานอย่างน้อย 5 นาที ระหว่างนั้นห้ามเปิดดูเพราะน้ำจะหยดใส่โดนแป้ง ทำให้เสียหมด

6. เมื่อสุกแล้วยกลงพักให้เย็น ใช้มีดฟันเลื่อยผ่าตามแนวยาว เพื่อใส่ไส้


• สูตรที่ 4

ส่วนผสม เปอร์เซ็นต์ น้ำหนัก(กรัม)

แป้งซาลาเปา 100 500

น้ำตาล 6-8 40

เกลือ 0.5 2.5

ยีสต์ 1 5

น้ำ 45 220

เนยขาว 10 50

นมผง 2 10

น้ำส้ม 1-2 5


วิธีทำ

1. ผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน นวดจนได้ก้อนโดที่เรียบเนียน

2. แบ่งโดออกเป็น 4 ส่วน พักไว้ 10 นาที

3. รีดแต่ละส่วนให้เป็นแผ่นบางจนเรียบเนียน แล้วม้วนเป็นแท่งหมอน

4. ตัดแท่งหมอนแต่ละแท่งออกเป็น 4-5 ส่วน วางแต่ละส่วนบนกระดาษ พักไว้ 45 นาที (หรือจนขึ้นเป็น 2 เท่า)

5. นำไปนึ่งน้ำเดือดประมาณ 15 นาที

6. นำก้อนโดที่นวดจนเรียบเนียนแล้วมาตัดให้เป็นก้อนขนาดตามใจชอบ คลึงให้กลม พักไว้ 10 นาที

7. ก้อนโดแต่ละก้อนให้เป็นแผ่นวงกลม ตรงกลางหนา ขอบริมบาง แล้วจึงใส่ไส้คาวหวานตามชอบ พับจีบริม วางบนกระดาษ พักไว้ 45 นาที แล้วจึงนำไปนึ่งน้ำเดือด

• สูตรที่ 5

ส่วนผสม

ส่วนที่ 1

- แป้งสาลีที่ใช้ทำซาลาเปา (7 ถ้วย) 700 กรัม

- ยีสต์แห้ง 1 1/2 ช้อนโต๊ะ

- น้ำ 450 กรัม (1 3/4 ถ้วย + 2 ช้อนโต๊ะ)

ส่วนที่ 2

- น้ำ 2 ช้อนโต๊ะ - เกลือป่น 1 ช้อนชา

- น้ำตาลทรายป่น (1 1/4 ถ้วย) 250 กรัม - เนยขาว (1/2 ถ้วย) 75 กรัม

- ผงฟู 2 ช้อนโต๊ะ - แป้งสาลีทำซาลาเปา (3 1/2 ถ้วย) 360 กรัม

วิธีทำ

1. ส่วนที่ 1 ผสมแป้งกับยีสต์ แล้วใส่น้ำ นวดให้เข้ากัน พักไว้ 30-40 นาที หรือแป้งขึ้น 2 เท่า

2. เทส่วนที่ 2 ลงในส่วนผสมที่ 1 ตามลำดับดังนี้ น้ำ น้ำตาลทรายป่น ผงฟู เกลือป่น เคล้าให้เข้kกัน แล้วใส่แป้ง นวดให้เข้ากันอีกครั้ง ใส่เนยนวดต่อไป พักไว้อีก 30 นาที หรือแป้งขึ้นเป็น 2 เท่า

3. นำแป้งมาไล่อากาศออก แล้วแบ่งแป้งออกเป็นก้อนเล็ก ๆ ก้อนละ 25 กรัม ปั้นเป็นก้อนกลาง ๆ พักไว้ 15 นาที

4. นำแป้งมาแผ่ออก ใส่ไส้แล้วจีบให้รอบ วางบนกระดาษสี่เหลี่ยม ขนาด 2x2 นิ้ว แล้วพักไว้อีก 20 นาที จึงนำไปนึ่งในน้ำเดือด ประมาณ 10 นาที ก็จะสุก

• สูตรที่ 6

ส่วนผสมแป้งชั้นนอก

น้ำหนัก(กรัม) สูตรตวง

แป้งสาลี(บัวแดง)

ไข่

น้ำตาลทราย

น้ำมัน

น้ำเย็น

แบะแซ

วิธีทำแป้งชั้นนอก

แป้งร่อนแล้วตวงตามส่วน ทำเป็นบ่อตรงกลาง ละลาย แบะแซในน้ำ ใส่ น้ำตาล น้ำมัน ไข่ ลงนวดจนส่วนผสม เข้ากัน แป้งเนียน นุ่ม พักแป้งไว้อย่างน้อย 30 นาที แบ่ง แป้ง 50 ก้อน

ส่วนผสมแป้งแป้งชั้นใน

น้ำหนัก(กรัม) สูตรตวง

แป้งสาลี

น้ำมัน

วิธีทำแป้งชั้นใน

ร่อนแป้งแล้วตวงตามส่วน ใส่น้ำมันลงนวดให้เข้ากันจน แป้งนุ่ม เนียน พักแป้งไว้อย่างน้อย 30 นาที แบ่งแป้ง 50 ก้อน


วิธีขึ้นรูปแป้ง

1. นำแป้งที่แบ่งไว้ปั้นเป็นก้อนกลม แผ่แป้งชั้นนอกหุ้มแป้ง ชั้นในให้มิด

2. คลึงแป้งแต่ละก้อนให้เป็นแผ่นยาวม้วน 2 ครั้ง รีดแป้ง ให้กลมแบน ใส่ไส้ ห่อจับจีบให้รอบก้อนแป้งเหมือนจีบ ซาลาเปา วางเรียงในถาดที่ทาน้ำมันไว้ ทาหน้าด้วยไข่ โรยด้วยงาขาว

3. เข้าอบอุณหภูมิ 200 ํC หรือ 400 ํF เวลาประมาณ 20-25 นาที ขนมสุกวางพักบนตะแกรงให้เย็น


• สูตรที่ 7

ส่วนที่ 1

- แป้งสาลี 1 ขีด - ยีสต์ 1/2 ช้อนโต๊ะ

- น้ำ 370 ซีซี

ส่วนที่ 2

- แป้งสาลี 5 ขีด - นมสด 200 ซีซี

- ผงฟู 2 ช้อนโต๊ะ - เนยขาว 100 กรัม

- น้ำตาลทราย 300 กรัม

วิธีทำ

1. ทำส่วนที่1 ร่อนแป้งด้วยตะแกรงตาถี่ใส่ในภาชนะ นำยีสต์ผสมกับน้ำ คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 5 นาทีจากนั้นนำมาเทใส่แป้ง ค่อย ๆ ใช้มือนวดจนเป็นเนื้อเดียวกันประมาณ 30 นาที เมื่อแป้งเนียนได้ที่แล้วจึงใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำบิดให้แห้งคลุมไว้ เพื่อหมักให้แป้งฟู ประมาณ 2-3 ชั่วโมง

2. เมื่อหมักส่วนที่ 1 ได้ที่แล้ว จึงเริ่มทำส่วนที่2 เทน้ำตาลทรายลงไปในส่วนที่ 1 นวดจนน้ำตาลละลายเข้าไปในเนื้อแป้ง แล้วเทแป้งสาลี ผงฟู นมสดลงไป นวดให้เข้ากัน จึงเติมเนยขาว นวดต่อไปจนเนื้อแป้งฟูนุ่มมือ (ถ้าแป้งแห้งเกินไป ให้ค่อย ๆ พรมน้ำอุ่น พอทำให้นวดแป้งต่อไปได้) นวดประมาณ 10-15 นาที แล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดแห้ง 20 นาที เตรียมใส่ไส้ต่อไป


น้ำหนัก(กรัม) สูตรตวง

หมูบด

กุ้งแห้งป่น

น้ำพริกเผา

ถั่วเขียวกวน

แป้งสาลีนึ่ง

พริกไทย

เกลือ

กระเทียมเจียว


วิธีทำไส้

1. ผัดกุ้งแห้งกับน้ำมันจนหอม ใส่หมูบด น้ำพริกเผา พริกไทย เกลือ ผักให้เข้ากัน พักให้เย็น

2. ถั่วเขียวกวน แป้งสาลีนึ่ง กระเทียมเจียว นวดให้เข้ากัน ใส่ส่วนผสมที่ผัดไว้นวดผสมให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อนกลม น้ำหนัก 25 กรัม


สูตรที่ 1

ส่วนผสม

- เนื้อหมูติดมันเล็กน้อย 1 กิโลกรัม

- หน่อไม้อ่อน 1/2 กิโลกรัม

- หอมหัวใหญ่ 1/2 กิโลกรัม

- พริกไทย กระเทียม รากผักชี น้ำมันหมู น้ำปลา น้ำตาลทราย พอสมควร

วิธีทำ

สับหมูให้ละเอียด หั่นหน่อไม้เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ซอยหอมหัวใหญ่ให้ละเอียดแล้วนำกระเทียม พริกไทย รากผักชี ในอัตรา 10 : 5 : 3 มาโขลกรวมกันให้ละเอียด นำไปผัดในน้ำมันให้มีกลิ่นหอม นำหมูที่สับไว้ลงผัด เมื่อสุกแล้วใส่หน่อไม้ และหอมหัวใหญ่ลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ผัดจนแห้ง


 สูตรที่ 2

ส่วนผสมไส้

- เนื้อหมู 1/2 กิโลกรัม - รากผักชี 5 ราก

- ต้นหอม 3 ต้น - แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ

- กระเทียม 7 กลีบ - น้ำปลา น้ำตาลทราย พอสมควร

วิธีทำ

สับหมู มันแกว โขลกพริกไทย กระเทียม รากผักชี แล้วซอยต้นหอม ให้ทุกอย่างละเอียด นำมาปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลทราย (ให้รสหวานนำเค็ม) คลุกเคล้าให้เข้ากัน

 สูตรที่ 3

ส่วนผสมไส้

- เนื้อหมูสับ 1 ½ ถ้วยตวง - มันหมูสับ ¼ ถ้วยตวง

- หน่อไม้หั่นสี่เหลี่ยม ½ ถ้วยตวง - เกลือ 2 ช้อนชา

- น้ำตาลทราย ½ ช้อนชา - พริกไทยป่น 1 ช้อนชา

- ซีอิ๊วหวาน 1 ช้อนชา


เตรียมไส้หมูสับ : ส่วนผสม

- หมูสับ ½ กิโลกรัม - ซีอิ๊วขาว 3 ช้อนโต๊ะ

- ซอสภูเขา 2 ช้อนโต๊ะ - มันแกวหรือแห้ว ½ กิโลกรัม

- เกลือ ½ ช้อนชา - น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ

- พริกไทยผง 1 ช้อนชา - ผงพะโล้ 1 ช้อนชา

- รากผักชี 3-4 ราก - ผงชูรส 1 ช้อนชา

- ต้นหอม 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ ผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน



• สูตรที่ 4

ส่วนผสมไส้

- เนื้อหมู 1/2 กิโล - กระเทียม 7 กลีบ

- ผักชีพร้อมราก 5 ต้น - ต้นหอม 3 ต้น

- มันแกว 4 หัว - แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ

- พริกไทประมาณ 20 เม็ด - น้ำปลา น้ำตาลทราย


วิธีทำ

นำสับหมู มันแกว โขลกพริกไทย กระเทียม รากผักชี แล้วซอยต้นหอม ให้ทุกอย่างละเอียด นำมาปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลทราย (ให้รสหวานนำเค็ม) คลุกเคล้าให้เข้ากัน นำมาห่อด้วยแป้ง แล้วนึ่งด้วยน้ำที่เดือดจัดจนสุก

 สูตรที่ 1

ส่วนผสมไส้

- เนื้อหมูปนมัน 1 กิโลกรัม

- อบเชย 2 ท่อน

- โป๊ยกั๊ก 2 ดอก

- ซอสมะเขือเทศ น้ำปลา น้ำตาลปี๊ป ซีอิ้วหวาน พอสมควร


วิธทำ

นำหมูมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ คลุกเคล้ากับซอสมะเขือเทศ น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ ซีอิ้วหวาน (ให้รสหวานนำเค็ม) หมักเนื้อหมูไว้ 1/2 ชั่วโมง แล้วนำไปรวนให้สุก เติมโป๊ยกั๊กและอบเชยลงไป เคี่ยวจนเนื้อหมูเกือบเปื่อยและมีกลิ่นหอม จึงนำมาหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ แล้วนำไปผัดในน้ำมันหมู ปรุงรสให้กลมกล่อมอีกครั้ง ได้ที่แล้วจึงยกลง ทิ้งไว้ให้เย็น

ข้อแนะนำ การนึ่งจะต้องนึ่งในขณะที่น้ำเดือด

 สูตรที่ 2

ส่วนผสมไส้

- เนื้อหมูหั่นชิ้นใหญ่ 10 ชิ้น 1 กิโลกรัม - หอมใหญ่สับเล็ก ๆ 1 ถ้วย

- เนื้อซอสมะเขือเทศชนิดข้น 1/2 ถ้วย - ซีอิ๊วใส 2 ช้อนโต๊ะ

- แมกกี้ 1 ช้อนโต๊ะ - น้ำมันหอย 4 ช้อนโต๊ะ

- น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย - น้ำ 2 ถ้วย


 สูตรที่ 3

ส่วนผสมไส้ (สำหรับ 160 ลูก)

- หมูเนื้อแดงอย่างดีไม่มีมัน 3.5 กก. - มันแกวปอกแล้วบดต่างหาก

- ใส่ผ้าขาวบางบีบน้ำออกทิ้ง 200 กรัม - หอมใหญ่ปอกแล้วหั่น 500 กรัม

- พริกไทยป่น 2 ช้อนโต๊ะ - น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ

- ซีอิ้วขาว 6 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1. หมู หอมใหญ่ ซอสมะเขือเทศ น้ำตาล ซีอิ๊ว แมกกี้ น้ำมันหอย เคล้าให้เข้ากัน พักไว้ประมาณ 1 ชม. แล้วใส่กะทะพร้อมทั้งเครื่องที่คลุก ใส่น้ำ ปิดฝาจนน้ำแห้ง หมูสุก ยกลงพักไว้ให้เย็น

2. หั่นหมูที่อบเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ เคล้ากับน้ำที่เหลือในกะทะ

เทคนิค : อย่านวดแป้งนาน เนื้อแป้งจะแข็ง นวดพอให้เข้ากัน ใช้เวลานวดสั้น ๆ


 สูตรที่ 4

เตรียมหมูย่าง : ส่วนผสม

- เนื้อหมู 400 กรัม - เกลือ ½ ช้อนโต๊ะ

- ไวน์ 1 ช้อนโต๊ะ - ซีอิ้วขาว 1 ช้อนโต๊ะ

- น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1. หั่นเนื้อหมูให้เป็นชิ้นใหญ่ ๆ

2. ผสมส่วนผสมทั้งหมดลงไปคลุก และตั้งทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง

3. เปิดตู้อบที่อุณหภูมิ 500 ํ ฟ. แล้วอบประมาณ 20 นาที จนหมูสุก


เตรียมไส้หมูแดง : ส่วนผสม

- หมูย่างที่เตรียมไว้ 400 กรัม - ซีอิ๊วขาว 3 ช้อนโต๊ะ

- น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ - น้ำมันงา 1 ½ ช้อนโต๊ะ

- ซอสแดง 2 ช้อนโต๊ะ - ซอสมะเขือเทศ 4 ช้อนโต๊ะ

- แป้งข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะ - น้ำ ¼ ถ้วย

วิธีทำ

1. หั่นหมูย่างที่เตรียมไว้ตามข้างบนให้เป็นชิ้น

2. ผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน ยกเว้นหมูย่าง แล้วนำไปต้มจนเดือดและข้น

3. ทิ้งไว้ให้เย็น นำหมูย่างที่หั่นไว้ลงไปผสมให้เข้ากัน


• สูตรที่ 1

ส่วนไส้

- ไข่ไก่ 34 ฟอง - เนย 1.8 กิโล

- น้ำตาลทราย 3.6 กิโล - แป้งสาลี 6 ขีด

- นมผง 6 ขีด - แป้งข้าวโพด 1 กล่อง

- กระทิ 2 กระป๋อง - มัสตาร์ด 2 ขวด

วิธีทำ

ตีไข่ เนย น้ำตาล นมผง แป้งสาลี แป้งข้าวโพด กระทิ มัสตาร์ด ตีรวมให้เข้ากัน อาจเติมสีเหลืองลงไปนิดหน่อย แล้วนำไปนึ่งเป็นเวลา 1 ชม. โดยต้องคนทุก 20 นาที เมื่อได้แล้วนำมาพักให้เย็นแล้วจึงนำมาตีให้เข้ากันอีกที จึงนำไปห่อแป้ง แล้วนึ่งด้วยน้ำเดือดจนสุก

• สูตรที่ 2

ส่วนผสม

- เนยละลาย 200 กรัม - ไข่ไก่ 4 ฟอง

- น้ำตาล 1 1/2 ถ้วย - แป้งเค้ก 2 ช้อนโต๊ะ

- แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ - ผงคัสตาร์ด 1 ช้อนโต๊ะ

- นมผง 2 ช้อนโต๊ะ - วานิลลา 1 ช้อนชา

- นมข้นหวาน 1/4 กระป๋อง - นมสด ¼ กระป๋อง

- สีผสมอาหารสีเหลือง

วิธีทำ

1. ใส่เนยในอ่างผสม แล้วเติมไข่ น้ำตาล แป้งสาลี แป้งข้าวโพด ผงคัสตาร์ด นมผง และวานิลลา ผสมให้เข้ากันดี

2. เติมนมข้นหวาน นมสด สีอาหาร ผสมเข้ากัน

3. เทส่วนผสมทั้งหมด (1+2) ลงในอ่างผสม นึ่งด้วยความร้อนสูง คนทุก 5-10 นาที จนกระทั่งส่วนผสมรวมตัวกันและข้น ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำไปห่อด้วยแป้ง

ส่วนผสมไส้

- ถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วทองเหลือง หรือเผือก 8 ขีด

- น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม

- มะพร้าวขูด 1 กิโลกรัม

วิธีทำ

ถ้าเป็นถั่วดำหรือถั่วเขียว แช่น้ำ 1 คืน (เผือกหรือถั่วทองไม่ต้องแช่น้ำ) ต้มให้สุก นำมาโขลกหรือบดให้ละเอียด นำมะพร้าวมาคั้นเอาแต่หัวกะทิ นำขึ้นตั้งไฟเคี่ยวให้เดือด ใส่ถั่วลงไป กวนเรื่อย ๆ เติมน้ำตาลทราย กวนจนแห้ง

ส่วนผสม 1

- แป้งเค้ก 350 กรัม - น้ำ 250 กรัม

- ยีสต์สำเร็จ 1 ช้อนโต๊ะ

ผสมแป้งเค้ก ยีสต์และน้ำเข้าด้วยกัน พักไว้ 30 นาที

ส่วนผสม 2

- แป้งเค้ก 150 กรัม - ผงฟู เอชฟู้ด 1 ช้อนโต๊ะ

- เกลือ 1/2 ช้อนชา - ผงโกโก้ 2 ช้อนโต๊ะ

- น้ำตาลทราย 130 กรัม - ไขมันพืชตราเซสท์ 50 กรัม

วิธีทำ

ร่อนแป้ง ผงฟู เกลือ และผงโกโก้เข้าด้วยกัน เทลงในส่วนผสมที่ 1 เติมน้ำตาล เนยขาว นวดให้เข้ากันจนเนียน แบ่งแป้งก้อนละ 25 กรัม ใส่ไส้พุทรา ห่อให้สนิท วางบนกระดาษ พักไว้ 10 นาที นำไปนึ่งในน้ำเดือดจัด 10 นาที

ส่วนผสมไส้

- พุทราจีนแห้ง 300 กรัม - น้ำมันพืช 50 กรัม

- น้ำตาลทราย 250 กรัม

วิธีทำ

นำพุทราจีนใส่น้ำ ตั้งไฟจนพุทราจีนนุ่ม แกะเมล็ดออก นำเนื้อพุทราไปปั่นให้ละเอียด ใส่กระทะ เติมน้ำตาล น้ำมันพืช กวนจนแห้ง

อ้างอิง

http://b.domaindlx.com/ubonwork/_occ/o-salapao.htm

http://web.ku.ac.th/agri/pastry/

http://www.ru.ac.th/job_guide/job_detail.asp?Jid=113

http://www.archeep.com/bakery/chinise_zalapow.htm

http://www.archeep.com/bakery/zalapao_muntoe.htm

http://www.geocities.com/lm_kkn/career/salapao.htm

http://www.tipfood.com/content/pia6_2.html

http://www.thai.net/mammoz/files/salapao2.html

http://www.satitcmu.ac.th/student/2542/2/maneenin/foodr.html