วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

แก่งสะพือ แหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำมูลตอนใต้

แก่งสะพือ” แหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำมูลตอนใต้

โดย ดร.เรวัต สิงห์เรือง  อุบลราชธานี


แก่งสะพือ แหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำมูลตอนใต้
ความนำ

            มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มชน เป็นหมู่คณะที่มีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ลงตัวสามารถพึ่งพากันได้ซึ่งต้องมีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวเกี่ยวพันร้อยรัดกันเป็นองค์กรเดียวกันซึ่ง อาจเป็นเพราะการสืบเชื้อสายเลือด ชาติพันธุ์ แนวคิด อุดมการณ์ แนวร่วม หรือผลประโยชน์ร่วมกันที่มีระยะเวลาที่ยาวนานหลายชั่วอายุคน รุ่นต่อรุ่น จำเป็นต้องมีข้อบัญญัติ แนวปฏิบัติ ข้อห้าม ร่วมกันหรืออาจเรียกว่า จารีตประเพณีที่ทุกคนต้องร่วมกันปฏิบัติสืบต่อกันมา จากแนวทางปฏิบัติร่วมกันนั้นเองทำให้เกิดสิ่งที่สวยงาม สิ่งที่ดีงามขึ้นมาแล้วส่งเสริมให้ชนกลุ่มนั้นมีการพัฒนาไปสู่ความเจริญที่เรียกว่า “อารยธรรม” คำว่า อารยธรรม นี้ได้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษที่ใช้คำว่า Civilization ซึ่งนักวิชาการทั่วไปให้ความหมายว่า การก่อเกิดงอกงามของ "ธรรม" หรือความดีงามธรรมของอารยชน ธรรมที่ทำให้เป็นอริยะ ในคำวัดใช้ว่า อริยธรรม หรือ อีกความหมายหนึ่ง อารยธรรม หมายถึงคุณธรรมที่เป็นหลักปฏิบัติของคนที่เจริญแล้ว หรือที่เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อความเป็นคนที่เจริญ อย่างต้นได้แก่เบญจศีลและเบญจธรรม อย่างกลางได้แก่สังวรมีปาติโมกขสังวรเป็นต้น อย่างสูงได้แก่โพธิปักขิยธรรมมีสติปัฏฐานเป็นต้น คุณธรรมเหล่านี้ยกระดับคนให้สูงขึ้นตามลำดับจนถึงเป็นพระอริยบุคคล

อารยธรรมของชุมชน และกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บริเวณแก่งสะพือ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีนี้ เป็นชุมชนโบราณที่มีคตินิยม ค่านิยมของการรักพวกพ้อง มีความกตัญญูรู้คุณเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แสวงหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ มีการสร้างเครื่องรางของขลังขึ้น(สถาบันราชภัฏสวนดุสิต : 2543) และจากการสืบค้นจากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทำให้ทราบว่า แหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำมูลเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสูงชายขอบแอ่งโคราชที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 500 เมตรได้มีชนเผ่าโบราณอาศัยอยู่มานานประมาณยุคโลหะ อายุเฉลี่ยราว 2,700 – 1,500 ปี มีการดำรงชีวิตอยู่ตามถ้ำและเนินเขาได้เทียบเคียงกับการขุดค้นพบเครื่องมือ อาวุธ และเครื่องดำรงชีวิตที่บ้านก้านเหลือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ ปี พ.ศ.2548 และที่บริเวณบ้านสะพือใต้ อำเภอพิบูลมังสาหาร ได้มีการขุดพบวัตถุโบราณที่เป็นหม้อ ไห ถ้วย ชามดินเผา กำไล และเครื่องมือสำริด ซึ่งพอสรุปได้ว่าในแถบลุ่มน้ำมูลตอนล่างบริเวณแก่งสะพือเคยมีมนุษย์โบราณอาศัยอยู่มานานแล้ว เคยเป็นแหล่งอารยธรรมมาก่อนดัง ปรากฏที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าจากบันทึกของนักประวัติศาสตร์กล่าวว่า ในราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 14 อาณาจักรเจนละมีความเจริญรุ่งเรืองได้แผ่อิทธิพลมายังลุ่ม น้ำโขง จนถึงลุ่มน้ำมูลบริเวณแก่งสะพือ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีกษัตริย์องค์สำคัญของขอม คือพระมเหนทรวรมันหรือ เจ้าชายจิตเสนที่ปรากฏจาก “เทพเจ้าภัทเรศวร” หลักศิลาจารึกอักษรปัลลวะ ที่บริเวณ ปากมูลโดย(ประวัติเมืองโขงเจียม : 2540, 21)ได้แปล ข้อความได้ว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดทรงพระนามว่าจิตเสน ผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าศรีวีรวรมัน เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าศรีสาร วเภามะ แม้โดยศักดิ์จะเป็นพระอนุชา แต่เป็นพระเชษฐาของพระเจ้าศรีภววรมัน ผู้มีพระนามปรากฏในด้านคุณธรรมแต่พระเยาว์ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นได้รับพระนามอันเกิดจากการอภิเษกว่า “ พระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน” ชนะประเทศทั้งปวงแล้ว ได้สร้างรูปโคอุสภะ ทำด้วยศิลาไว้ในที่นี้อันเป็นเสมือนหนึ่งความสวัสดีแห่งชัยชนะของพระองค์ ที่อาจส่งผลให้กับกลุ่มชนและประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณแก่งสะพือมีความเจริญและหวงแหนทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1. เพื่อศึกษาประวัติ ความเป็นมาของอารยธรรมลุ่มน้ำมูลบริเวณแก่งสะพือ

2. เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาสู่ผู้สนใจทางการศึกษาขององค์ความรู้ที่เกิดขึ้น

3. เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาสู่การอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งทรัพยากรทางวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ต่อไป

แนวคิด ทฤษฎีในการศึกษา

ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ศึกษาวิจัยได้ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1. ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionism) เป็นทฤษฎีวัฒนาการของวัฒนธรรม หรือพฤติกรรม

ของมนุษย์ โดยมี Edward B. Tylor ชาวอังกฤษ ที่มีชีวิตอยู่ระหว่าง 1832 - 1917 ที่สรุปได้ว่า “วัฒนธรรมใดๆ จะมีวิวัฒนาการจากขั้นตอนที่ง่ายที่สุดไปจนถึงยุ่งยากที่สุด และพฤติกรรมของมนุษย์ทุกๆสังคมโลกจะต้องผ่านสามขั้นตอนที่ละขั้น ประกอบด้วย

1.1 ขั้นต่ำสุด ( Savagery) เป็นขั้นแรกของการเข้าสู่วัฒนธรรม

1.2 ขั้นที่ 2 ( Barbarism) เป็นพฤติกรรมหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างพฤติกรรมง่ายที่สุดไปสู่พฤติกรรมยากสุด

1.3 ขั้นเจริญงอกงาม ( Civilization) เป็นขั้นที่ได้รับการพัฒนาสูงสุด หรือขั้นอารยะ

2. ทฤษฎีประวัติศาสตร์ ( Historicalism ) เป็นทฤษฎีที่วิวัฒนาการมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการ

(Evolutionism) ที่เกิดการหละหลวม โดยมี Franz Boas เป็นผู้ให้กำเนิด ที่เน้นการวิวัฒนาการผสมผสานกับการพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มี 2 มิติ คือ

2.1 ศึกษาเหตุการณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน ( Synchronic Study)

2.2 ศึกษาเหตุการณ์ในช่วงหลายเวลา ( Diachronic Study)

3. ทฤษฎีการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม ( Diffusionism) โดยแนวคิดของ Elliot Smith ซึ่ง

การแพร่กระจายของวัฒนธรรมจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

3.1 หลักภูมิศาสตร์

3.2 ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

3.3 ปัจจัยทางสังคม

3.4 การคมนาคมขนส่งที่ดี

4. ทฤษฎีโครงสร้างทางวัฒนธรรม ( Structuralism ) ที่มีเจ้าของแนวคิดทฤษฎี คือ Claude

Levi – Strauss ) เชื่อว่าระบบความคิดของมนุษย์มีเหตุผล ที่สามรถเปรียบเทียบเป็นคู่ๆ และมีลักษณะเป็นคู่ในขั้วตรงข้ามที่สามารถอธิบายสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ทั้งในทางบวกและทางลบที่นำไปสู่การจัดระบบสังคมมนุษย์ได้
ในบริบทของบริเวณแก่งสะพือ ได้ปรากฏว่าเป็นแหล่งอารยธรรมที่เห็นได้ชัดเจนที่สืบต่อกันมาหลายๆชั่วอายุคน มีการเล่าขานเป็นตำนานของแหล่งงูใหญ่ในเกาะแก่งแห่งลำน้ำมูลที่มีความหมายในภาษาเขมร ว่า แก่งซำพรืด ตรงกับภาษาไทยว่า แก่งงูใหญ่ที่มาอาศัยอยู่ มาปกปักรักษาทรัพย์สมบัติที่ทรงคุณค่า บ้างก็ว่าเป็นทหารที่มารักษาเทวลัยในวัดสระแก้ว และศาลเจ้าพ่อพละงุม ที่มีวัตถุปรากฏมีให้เห็นดังนี้ คือ

1. ซากปราสาทหิน โดยสร้างขึ้นตามความเชื่อเพื่อใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานเทวรูป

พระศิวะ ด้วยความเชื่อของพราหมณ์ที่ว่า เมื่อตายแล้วก็จะกลับเข้าสู่พรหม ปัจจุบันองค์ปราสาทได้ถูกทำลายลงไปด้วยของการเวลาและความอ่อนแอทางด้านพื้นฐานด้านการศึกษาในราวปี พ.ศ. 2490 ยังคงเหลือแต่พื้นศิลาปรากฏที่ใต้ร่มศรีมหาโพธิ์ของวัดสระแก้วซึ่งมีการสร้างคู่กันกับปราสาทหินนี้อีกฟากของแก่งสะพือ ที่มีลำน้ำมูลคั่นกลางที่ปรากฏในบริเวณโรงเรียนบ้านสะพือใต้ อำเภอพิบูล มังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีขณะที่โบราณสถานที่รายล้อมรอบเขานั้น มีตั้งแต่บ่อน้ำ สระน้ำโบราณ ตามหลักสถาปัตยกรรมในการปลูกสร้างตามรูปแบบความเชื่อเรื่องศูนย์กลางของจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง ยิ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของสถานดังกล่าวมากยิ่งขึ้น

2. ใบเสมา เป็นหินทรายสีแดงที่บ่งบอกถึงความเจริญทางอารยธรรมของชนเผ่าที่แสดงถึงขอบเขตการขยายตัวของความเชื่อและศาสนาได้เก็บรักษาไว้ที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของใบเสมาในเขตของภาคอีสานยังมีอีกมากมาย เช่น เสมาหินบ้านบุ่งผักก้ามถูกค้นพบที่วัดพัทธสีมาราม บ้านบุ่งผักก้าม ตำบลวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นเสมาหินที่มีการกำหนดอายุโดยวิธีทางโบราณคดี โดยใช้วิธีเปรียบเทียบทางประวัติศาสตร์ และศิลปะโดยศึกษาจากศิลปะโบราณวัตถุ สถานที่ที่มีลักษณะรูปแบบลวดลายใกล้เคียงกันและเปรียบเทียบกับศิลปะโบราณวัตถุจากประเทศใกล้เคียงและคัมภีร์ที่ให้อิทธิพลการกำหนดรูปแบบสลักบนใบเสมา จึงกำหนดอายุได้ว่า สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 13-16 มีอายุไม่ต่ำกว่า 900 – 1,200 ปี เป็นแบบศิลปะทวาราวดี เสมาหินที่พบมีทั้งสภาพสมบูรณ์และชำรุดปักรวมกันอยู่ในบริเวณวัดพัทธสีมาราม ส่วนใหญ่เป็นหินทรายสีขาว บางใบเป็นหินทรายสีแดงมีขนาดใหญ่เล็กปะปนกันตรงกลางมีลวดลายรูปสถูปเจดีย์ประดับอยู่เกือบทุกใบ บางใบเป็นหม้อ "ปูรณฆฏะ" ประกอบลายพันธุ์พฤกษา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ใบเสมาทั้งหมดสามารถจำแนกได้เป็น 7 กลุ่ม คือ กลุ่ม

ที่มีรูปทรงใกล้เคียงหินธรรมชาติ กลุ่มที่สลักเป็นแผ่นเรียบมีรูปร่างค่อนข้างแน่นอน กลุ่มที่สลักเป็นหม้อปูรณฆฏะมีสถูปตอนบน กลุ่มที่สลักเป็นหม้อปูรณฆฏะสถูปตอนบนประกอบลายพันธุ์พฤกษา

กลุ่มที่สลักเป็นหม้อปูรณฆฏะ 2 ชั้น 3 ชั้น ประกอบลายพันธุ์พฤกษา กลุ่มใบเสมาที่เป็นเสาแปดเหลี่ยมฐานบัวปลายสอบเข้าหากัน จำนวน 1 ใบ และใบเสมาที่มีอักษรประกอบ 1 ใบ

ใบเสมาหิน อยู่ที่ตลาดบ้านม่วง อำเภอม่วงสามสิบ ตั้งอยู่บนเนินดิน มีกลุ่มใบเสมาศิลาแลงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสระน้ำโบราณอยู่หนึ่งกลุ่ม เป็นกลุ่มใบเสมาแบบแผ่นหินทรงใบหอกยอดโค้ง มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15- 16

ใบเสมาหินทราย และพระพุทธรูปปางนาคปรก อยู่ที่บ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน รวมรวมจากเนินดินรูปครึ่งวงกลม อันเป็นที่ตั้งวัดทุ่งศรีไล มีซากโบราณสถานสร้างจากหินทรายแดง ศิลปะทวาราวดีตอนปลาย มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ส่วนพระพุทธรูปเป็นศิลปะเขมร มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 - 18

3. ฐานศิวลึงค์ อุโรจนะเป็นฐานที่ตั้งศิวลึงค์ที่รอบ ๆ ฐานมีภาพจำหลักที่มีลักษณะคล้าย เต้านมหญิงสาว ประติมากรรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อตามคตินิยมให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ หล่อเลี้ยงชาวโลกให้มีชีวิตที่บริบูรณ์ เป็นหินทรายสีแดงอมชมพู ได้เก็บรักษาไว้ที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

เมื่อก่อนที่จะมีพระศิวะนั้น ได้มีความเชื่อกันว่า ในจักรวาลมีแต่ความมืดและว่างเปล่า ไม่มีกลางวันไม่มีกลางคืน มีเพียงสิ่งเดียวที่ปรากฏคือ สัตพรหมณ์ เป็นโยคีผู้เป็นอมตะ เป็นหนึ่งเดียวไม่มีเริ่มต้นและสิ้นสุดหรือดับสูญ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นที่รวมแห่งสรรพปัญญาและความรู้ทั้งมวล แต่ไม่มีรูปร่างมีแต่ความปรารถนาที่จะสร้างสิ่งทั้งหลายขึ้นมา จึงบังเกิดเป็นรูปร่างขึ้นมาจากพลังงานและอำนาจของความรู้และปัญญาที่มีอยู่ ล่องลอยไปทุกหนทุกแห่ง มองเห็นได้ รูปร่างนี้เป็นจุดกำเนิดของสิ่งทั้งหลายที่จะเกิดตามมาภายหลัง เป็นรูปร่างในสภาวะจิต เป็นพรหมณ์สูงสุดบรรดานักปราชญ์และฤษีในสมัยโบราณได้ขนานนามรูปร่างนี้ว่า พระศิวะ จากนั้นพระศิวะได้สร้างสิ่งต่างๆให้เกิดตามมาโดยการแบ่งภาคมาจากพระองค์เอง โดยให้เกิดเป็นหญิงคือนางอุมาเทวี ซึ่งเป็นมารดาแห่งเทพทั้ง 3 คือ พระวิษณุ พระพรหมและพระศิวะ โดยมีพระศิวะเป็นเทพสูงสุด และได้สร้างศิวโลกเพื่อเป็นที่ประทับ เมื่อสร้างสิ่งต่างๆไว้มากมายแล้ว พระองค์จำเป็นต้องมีการคุ้มครองสิ่งเหล่านั้น และทำลายสิ่งที่ไม่ดีออกไป เหลือไว้แต่สิ่งที่ดี พระองค์จึงทรงหลั่งน้ำอำฤตลงบนซีกด้านซ้ายและเกิดชีวิตใหม่ขึ้นมา และประทานนามให้ว่า พระวิษณุ ( หรือพระนารายณ์ แปลว่า ผู้มีแผ่นน้ำเป็นที่อาศัย ทั้งนี้เพราะว่าพระวิษณุชอบลงไปพักผ่อนอยู่ในน้ำ หรือที่คนไทยเรารู้จักกันดีในนามของพระนารายณ์บรรทมสินธุ์นั่นเอง) โดยให้มีหน้าที่คอยคุ้มครองรักษาสิ่งทั้งหลายที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมา แล้วองค์พระศิวะเองก็จะเปลี่ยนเป็นพระผู้ทำลาย คือทำลายสรรพสิ่งทั้งหลายถ้าบังเกิดความไม่ดีขึ้นมาจนแก้ไขไม่ได้แล้วนั่นเอง โดยมีดวงตาที่ 3 อยู่บนหน้าผากซึ่งปิดสนิท ถ้าพระองค์ลืมตาขึ้นมาก็จะเกิดไฟบรรลัยกัลป์เผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างในขณะที่พระวิษณุได้บำเพ็ญสมาธิอยู่เป็นเวลาถึง 12,000 ปี โดยได้เสด็จไปบรรทมอยู่ในน้ำ ก็ได้เกิดมีดอกบัวผุดออกมาจากพระนาภี (สะดือ) ซึ่งเป็นบัญชาของพระศิวะ และพระศิวะได้หลั่งน้ำอำฤตลงบนซีกขวาเพื่อให้ได้ชีวิตใหม่คือ พระพรหม และใส่ไว้ในดอกบัวนั้น พระพรหมหรือพระผู้เกิดมาจากดอกบัว ไม่รู้ว่าตัวเองเกิดมาได้อย่างไร และใครเป็น ผู้สร้าง เมื่อออกมาจากดอกบัวแล้ว ได้เขย่าดอกบัวจึงบังเกิดเป็นมนุษย์ชาติ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ในโลก

ชาวฮินดูจึงเรียกพระพรหมว่า พระผู้สร้างพระวิษณุได้กล่าวปลอบพระพรหมโดยเรียกพระพรหมว่าเป็นเด็กน้อย เพราะพระพรหมนั้นเกิดมาจากดอกบัวที่ผุดขึ้นมาจากพระนาภีของพระองค์เอง พระพรหมเมื่อถูกเรียกอย่างนั้นก็ไม่พอใจ จึงเกิดการรบกันขึ้น ร้อนไปถึงพระศิวะ เมื่อทราบว่าเทพทั้งสองกำลังต่อสู้กันอยู่ จึงเสด็จมา ณ. สถานที่ๆกำลังรบกันอยู่ โดยแปลงตัวเป็นเสาไฟขนาดใหญ่ซึ่งหาที่สิ้นสุดมิได้ทั้งบนและล่าง แล้วมาปรากฏอยู่ระหว่างเทพทั้งสอง เสาไฟนี้มีความร้อนมาก ทำให้เทพทั้งสองหมดสติไป เมื่อฟื้นขึ้นมาก็แปลกใจในความใหญ่โตหาที่สิ้นสุดมิได้ เทพทั้งสองจึงพนันกันว่า ถ้าใครค้นหาจุดสิ้นสุดได้ก่อนถือว่าเป็นผู้ชนะ และผู้แพ้ต้องยอมกราบไหว้บูชา พระพรหมจึงแปลงร่างเป็นหงส์ ขนสีขาว ปีกกว้างใหญ่ บินขึ้นไปหาส่วนยอดด้านบน พระวิษณุแปลงร่างเป็น หมูป่าสีขาว ร่างใหญ่ดุจเขาพระสุเมรุ สูง 10 โยชน์ ยาว 100 โยชน์ เขี้ยวยาวแหลมคมขุดดินลงไปหาปลายที่ด้านล่าง ด้านพระพรหมในร่างของหงส์ เมื่อบินขึ้นไปก็หาจุดสิ้นสุดมิได้ แต่ได้พบดอกเกตกี (ดอกเกตุ) พระพรหมจึงได้สอบถามถึงที่มาของดอกเกตกีและยอดของเสาไฟ ซึ่งดอกเกตกีก็บอกว่าตกลงมาจากส่วนหนึ่งของเสาไฟนี้แม้อยู่กับเสาไฟนี้ก็ยังไม่อาจรู้ได้ว่าอยู่ส่วนไหนของเสาพระพรหมเกิดความคิดที่จะเอาชนะพระวิษณุทุกรูปแบบ จึงสั่งให้ดอกเกตกีให้มาเป็นพยานเท็จแล้วทรงเสด็จกลับลงมาพร้อมกับดอกเกตกีนั้นฝ่ายพระวิษณุเมื่อไม่พบอะไรก็กลับขึ้นไปยังที่เดิม และพบพระพรหมนำดอกเกตกีลงมาจากข้างบน ก็เข้าใจว่าพระพรหมพบส่วนยอดแล้ว ซึ่งพระพรหมโกหกว่าพบจริง โดยมีดอกเกตกีเป็นพยาน พระวิษณุก็ยอมแพ้และกราบไหว้บูชาพระพรหมตามสัญญาเมื่อเรื่องกลายมาเป็นเช่นนี้ พระศิวะจึงได้คืนร่างมาดังเดิม และชำระความให้แก่เทพทั้งสอง โดยกล่าวว่าพระวิษณุเป็นเทพที่มีความซื่อสัตย์ จึงยกให้พระวิษณุเป็นเทพเสมอพระองค์ สามารถที่จะมีโบสถ์และพิธีกรรมทางศาสนาเป็นของตนเองได้ ส่วนพระพรหมซึ่งเป็นผู้ไม่ซื่อสัตย์ พระศิวะได้ทำโทษ โดยการตัดเศียรทั้ง 5 แต่พระวิษณุได้ขอร้องไว้ จึงตัดไปเพียง 1 เศียรเหลืออยู่ 4 เศียร และไม่อนุญาตให้ขึ้นมาเป็นเทพเทียบเท่าพระองค์ และไม่ให้มีโบสถ์และพิธีกรรมทางศาสนาเป็นของตนเอง แต่ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพระศิวะ และเป็นผู้สร้างมนุษยชาติ จึงอนุญาตให้มีศาลหรือเทวะสถานอยู่นอกโบสถ์ และให้พระพรหมเป็นประธานของพิธีบวงสรวงทั้งมวล ส่วนดอกเกตกีที่มีส่วนร่วม ในการไม่ซื่อนั้น พระศิวะได้ห้ามนำมาใช้ในการกราบไหว้เสากลมนี้ภายหลังย่นลงมาให้เป็นเสาขนาดเล็กทำด้วยแท่งหินสีดำซึ่งเรียกกันว่าแท่งศิวลึงค์ มีลักษณะคล้ายกับอวัยวะเพศของเพศชาย ศิวลึงค์แท่งเดียวจะมีลักษณะเป็นตรีมูรติ คือรวมพระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหมเข้าด้วยกัน โดยส่วนโคนของศิวลึงค์เป็นทรง 4 เหลี่ยมเรียกเป็นพรหมภาค ส่วนกลางเป็น 8 เหลี่ยมเรียกวิษณุภาค ส่วนบนสุดเป็นทรงกลมเป็นรุทรภาค การบูชาศิวลึงค์จึงได้ชื่อว่าบูชาเทพเจ้าทั้งสามองค์ไปพร้อมๆกัน วันที่แท่งไฟกลมปรากฏถือเป็นวันศิวาราตรี ( ตรงกับเดือนมารคสิระ หรือเดือนอ้าย) ในวันนั้น ศาสนิกชนชาวฮินดูจะประกอบพิธีบูชา งดอาหาร เว้นจากความรู้สึกทางเพศ และจะทำพิธีบูชาในลิงคสถาน

ในอีกคัมภีร์ฮินดูโบราณนั้นได้มีการบันทึกไว้ว่า ในวันหนึ่งพระศิวะกำลังร่วมภิรมย์เสพสมกับพระแม่อุมาอัครมเหสีอย่างแสนสุขสันต์ในวิมารของพระองค์บนเขาไกรลาส แต่การ เสพสมภิรมย์รักนี้มิได้กระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระมิได้กระทำกันในห้องบรรทมส่วน พระองค์แต่อย่างใด การสมสู่ชู้ชื่นครั้นนี้ พระศิวะและพระแม่อุมาทรงกระทำกันกลางท้องพระโรงเลยทีเดียว ดังนั้นบังเอิญเมื่อพวกทวยเทพทั้งปวงที่กำลังจะมาเข้าเฝ้าพระศิวะ ได้พบเห็นเข้าก็จึงรู้สึกว่าพระศิวะนั้นกระทำการอันไม่บังควรเป็นอย่างยิ่งหากทรงกระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระองค์ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องผิดแปลกแต่อย่างใด แต่หน้าท้องพระโรงนั้นเป็นที่เปรียบเสมือนห้องรับแขก ที่ย่อมจะต้องมี ผู้คนผ่านเข้าออกได้เสมอ และเมื่อทวยเทพผ่านพบเห็นเข้าว่าองค์พระศิวะที่เป็นถึงมหาเทพ ผู้เป็นใหญ่แห่งเขาไกลลาส กำลังเสพสังวาสกับอัครมเหสีอย่างประเจิดประเจ้อกลางท้องพระโรงเช่นนั้นจึงพากันรังเกียจเดียดฉันและเสื่อมศรัทธาในองค์พระศิวะเป็นอย่างมากบรรดาทวยเทพจึงได้พากัน เย้ยหยันและหมดสิ้นความนับถือ ยำเกรงในองค์มหาเทพ ต่างก็พากันยืนดูแล้วก็วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเห็นเป็นเรื่องที่น่าสมเพชไป ด้วยเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น พระศิวะให้ทรงอัปยศอดสู่ในพระทัยเป็นยิ่งนัก และประกอบกับความโกรธกริ้ว พระศิวะจึงทรงได้ประกาศว่าอวัยวะเพศของพระองค์นี้แหละ จะเป็นเสมือนสัญลักษณ์และตัวสำเร็จอันงดงามในชีวิตและอวัยวะเพศหรือศิวลึงค์นั้น ก็จะมีดวงตามหาศาลล้อมรอบศิวลึงค์ถึง 1,000 ดวงตา เพื่อแทนของพระองค์ ที่บรรดามนุษย์และเทพเทวะทั้งปวง จะต้องกราบไหว้บูชาถ้าต้องการความสุขและความจะได้สามารถมองเห็นได้เด่นชัดในทุกทิศทุกทาง โดยดวงพระทัยและดวงพระวิญญาณขององค์พระศิวะจะสถิตอยู่ด้วย เพื่อคุ้มครองและอำนวยพรให้กับผู้ที่สักการะบูชาศิวลึงค์นั้น เมื่อได้ทรงแล่นถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์มาในขณะที่กำลังเกิดความกริ้วและความอัปยศเป็นที่สุดนั้น ถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์จึงได้บังเกิดสัมฤทธิ์ผลเป็นจริงรื่องราวการกำเนิดศิวลึงค์ในบางคัมภีร์นั้น ก็กล่าวแตกต่างออกไป โดยเล่าว่าพระศิวะนั้นค่อยข้างจะมี พระอารมณ์ทางราคะค่อยข้างสูง และโปรดที่จะเสพสังวาสกับพระแม่อุมาอัครมเหสีและพระชายาองค์อื่นอีกในทุกวี่วันเลยทีเดียว จนเป็นที่รู้กันทั่วไปในเหล่าเทพเทวะทั้งปวงดังนั้นบรรดาศิษยานุศิษย์หรือชาวบ้าน ทั่วไป จึงได้เริ่มทำรูปเคารพเป็นรูปศิวลึงค์กันบ้างและก็ทำการสักการะบูชากันเป็นที่กว้างขวางแพร่หลายต่อหลายต่อไป จนเกิดเป็นลัทธิการบูชาศิวลึงค์ขึ้นจริงจังในยุคต่อๆมาลักษณะของ ศิวลึงค์ คือ อวัยวะเพศชายทรงกระบอก ตามตำนานของพราหมณ์ได้บันทึกไว้ว่า บริเวณส่วนปลายของทรงกระบอกจะมีหัวพันหัวหันไปทุกทิศ ส่วนกลางของอวัยวะเพศ คือ ดวงพระเนตรของพระศิวะ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมหมายถึงพระบาทพระศิวะ แต่ส่วนใหญ่ที่พบเห็นจะปรากฏว่ามีในลักษณะ “โยนี" (อวัยวะเพศหญิง ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า อุมาลึงค์) ที่เป็นฐานรองรับของศิวลึงค์ ซึ่งลักษณะของโยนี คือ รูปทรงกลม โดยเป็นฐานของอวัยวะเพศชาย ตรงกลางของรูปอวัยวะเพศหญิงจะเป็นร่องเจาะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ไว้ให้รูปอวัยวะเพศชายแท่งทรงกระบอกสอดใส่ลงไป การประดิษฐ์สิ่งทั้งสองให้อยู่รวมกันนั้น คือเหตุของทุกสิ่งในโลกเป็นที่มาของการเกิดชีวิต ความสมบูรณ์ซึ่งถือเป็นตัวแทนพระศิวะและพระอุมาเทวีโดยตรง

เพื่อทำให้สังคมโลกบังเกิดความสันติและความสงบสุขในสมัยโบราณปรากฏที่ประเทศอินเดียอันเป็นแหล่งอารยะธรรมเก่าแก่ของโลกแห่งนี้แล้วให้ทราบเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ไปได้เลยวัตถุโบราณที่ถูกสร้างสรรค์ให้เป็นรูปอวัยวะเพศชายนั้น เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะที่ผู้คนนิยมสักการะบูชากันตั้งแต่อดีตโบราณตราบจนปัจจุบันนี้ด้วยความเคารพศรัทธากันอย่างกว้างขวาง ศิวลึงค์เป็นเสมือนรูปเคารพแทนพระองค์ ที่มีปรากฏอยู่ในเทวสถานทุกแห่ง และก็มีธรรมเนียมประเพณีที่จะจัดพิธีกรรม เพื่อบูชาศิวลึงค์นี้โดยเฉพาะอีกด้วยซึ่งการที่ประทานรูปเคารพเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากในงานบูชาตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3 ซึ่งประกอบไปด้วยพระพรหม พระวิษณุและพระศิวะ ที่จะต้องแสดงพระวรกายให้สาวกได้เห็นเป็นบุญตาซึ่งพระพรหมก็จะปรากฏพระวรกายออกมาในรูปลักษณ์ที่มี 4 พักตร์ 4 กร ส่วนพระวิษณุก็จะปรากฏพระวรกายมาในรูปลักษณ์ที่เป็นมหาเทพมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร แต่สำหรับพระศิวะนั้นทรงปรากฏพระวรกายในรูปกายที่แปลกแหวกแนวสักหน่อยคือไม่ปรากฏออกมาเป็นรูปองค์เทพโดยตรงแต่กลับแสดงพระวรกายให้ปรากฏออกมาเป็นรูปอวัยวะเพศชาย ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชายไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือมหาเทพนั่นเอง

จึงกล่าวได้ว่าสัญลักษณ์ของพระศิวะมหาเทพนี้ค่อนข้างจะแตกต่างกับมหาเทพองค์อื่นๆตรงที่มีสัยลักษณ์แทนพระองค์เป็นรูปอวัยวะเพศชาย ที่ดูค่อนข้างจะพิสดารมิใช่น้อยและชวนให้ฉงนสงสัยในความเป็นมาแห่งสัญลักษณ์นี้จึงกล่าวได้ว่าสัญลักษณ์ของพระศิวะมหาเทพนี้ค่อนข้างจะ แตกต่างกับมหาเทพองค์อื่นๆตรงที่มีสัยลักษณ์แทนพระองค์เป็นรูปอวัยวะเพศชาย กำเนิดของศิวลึงค์นั้นปรากฏเป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างจะแปลกแยกแตกต่างกันออกไป ตามแต่ละคัมภีร์ แต่ละในศาสนาต่าง ๆ ทางคติพราหมณ์ซึ่งบางตำราก็กล่าวว่าองค์พระศิวะนั้นทรงตั้งพระทัยที่จะประทานรูปศิวลึงค์หรือรูปเคารพที่เป็นรูปอวัยวะเพศชายที่ให้กับสาวกทั้งหลาย ทั้งปวงของพระองค์ได้สักการะบูชาแทนพระองค์ สำหรับในเมืองไทย จะหาดูศิวลึงค์ได้ที่ภูเขาจำลองพบอยู่ภายในวัดโพธิ์และที่ปราสาทหินพนมรุ้ง หากท่านผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่กับความเชื่อของศาสนาฮินดูนี้ก็ตาม แต่เพื่อการศึกษาทางด้านศิลปวัฒนธรรมและปรัชญาแล้ว เราไม่ควรมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไปเสียเลย เชื่อได้ว่าศาสนาฮินดูเป็นศาสนาหนึ่งที่มีความต่อเนื่องมาจากความเชื่อของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในการที่จะทำให้สังคมมีสันติและความสงบสุขในสมัยโบราณ ตราบจนปัจจุบันนี้ด้วย

4. แผ่นศิลาอักษรปัลลวะ เป็นหินทรายสีน้ำตาล ขนาดกว้าง 26 เซนติเมตร สูง 70 เซนติเมตร หนา 18 เซนติเมตร ซึ่งมีเรื่องราวมากมายหลายเรื่องซุกซ่อนอยู่ในแผ่นศิลาแต่ละแผ่นและอาจจะ จดบันทึกเรื่องราวของการสร้างปราสาทแห่งนี้ หรือเรื่องราวที่รอการศึกษาค้นคว้าเพื่อไขปริศนา ปรากฏว่าได้ชำรุด และกระเทาะเป็นบางแห่งจึงทำให้ตัวอักษรเลอะเลือนและขาดหายไปยังคงเหลือเพียงบางส่วนเท่านั้นได้มีข้อความบางตอนที่กล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์ของภูมิประเทศและการแผ่ขยายทางศาสนา เรียกกันว่า “ศิลาจารึกวัดสระแก้ว” ได้เก็บรักษาไว้ที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

5. ทับหลังวัดสระแก้ว โดยเดิมทีได้มีการขุดค้นพบทับหลัง จำนวน 2 แผ่น ซึ่งในแต่ละ

แผ่นนั้นมีลวดลาย เรื่องราวที่มีความแตกต่างกัน และอาจเป็นคนละสมัยก็เป็นได้ ซึ่งลักษณะของทับหลังนั้นจะอยู่ในตำแหน่งของส่วนบนของกรอบประตู แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ทับหลังจริง ทำหน้าที่รับและถ่ายน้ำหนักของส่วนบนของอาคารให้น้ำหนักนั้นเฉลี่ยและถ่ายลงบนทั้งสองข้างของกรอบประตูซึ่งมีเสารองรับอยู่ ส่วนทับหลังประดับนั้นวางอยู่เป็นส่วนหนึ่งของทับหลังจริง ใช้ประดับซุ้มประตูโดยมีการสลักลวดลายต่างๆโดยไม่มีหน้าที่รับนำหนักอาคารปลายทั้งสองด้าน

ทับหลังแผ่นที่ 1 ได้เก็บรักษาไว้ที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จัดอยู่ในศิลปะเขมรแบบไพรกเมงมีลักษณะเป็นหินทรายสีแดงอมชมพู เป็นลายพฤกษาวกกลับเข้าด้านใน ที่วงโค้งนี้มีวงกลมรูปไข่คั่นอยู่ 3 วง ภายในวงกลมรูปไข่ไม่มีการสลักรูปใด ๆ ไว้ ใต้วงโค้งทำเป็นลายพวงมาลัยสลับกับลายพวงดอกไม้ ลักษณะลวดลาย คลี่คลายมาจากลวดลาย ดังนั้นรูปแบบนี้คงอยู่ในศิลปะเขมรแบบไพรกเม็ง อายุราว มีอายุอยู่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 12 ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 13 รูปร่างตอนกลางสลักลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแทนลายวงโค้ง มีลายอุบะดอกไม้ห้อยลงด้านล่าง และลายช่อดอกไม้ด้านบน ที่กรวยด้านข้างสลักลายดอกไม้อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมมีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง

ทับหลังแผ่นที่ 2 เป็นศิลปะเขมรแบบถาราบริวัตร ได้นำไปเก็บไว้ที่โบสถ์วัดสุปัฏนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ของวงโค้งสลักเป็นลายพฤกษาวกกลับเข้าด้านใน ที่วงโค้งนี้มี วงกลมรูปไข่คั่นอยู่ 3 วง ภายในวงกลมรูปไข่ไม่มีการสลักรูปใด ๆ ไว้ ใต้วงโค้งทำเป็นลายพวงมาลัยสลับกับลายพวงดอกไม้ ลักษณะลวดลาย คลี่คลายมาจากลวดลาย แบบสมโบร์ไพรกุก

6. พระพือ เป็นแผ่นหินทรายที่จารเป็นลายเส้นรูปสตรีในท่าประทับนั่งทรงจักรทางหัตถ์ขวาและดอกบัวทางหัตถ์ซ้ายเป็นสัญญลักษณ์แทนพระนางอุมาเทวี พระมเหสีของพระศิวะ เป็นหินทรายสีแดงอมชมพู ค้นพบที่ร่องน้ำกลางแก่งสะพือที่เรียกว่า “แปวเดือนห้า”ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ที่ชนโบราณได้เคารพนับถือสืบมาจนปัจจุบันและได้มีการนำออกมาให้ประชาชนในอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เคารพสักการะและสรงน้ำเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวในช่วงเทศกาลวันสงกรานต์ทุกปีแล้วจึงนำไปเก็บรักษาไว้ในอุโบสถของวัดสระแก้วในราวปีพ.ศ.2506ได้เก็บรักษาไว้ที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จนถึงปัจจุบัน

7. สระแก้ว เป็นสระน้ำโบราณที่ขุดขึ้นคู่กับปราสาทหินตามความเชื่อของขอมที่ประกอบ คู่กับปราสาทหินเพื่อที่จะให้เป็นที่ชำระร่างกายก่อนที่จะเข้าสู่พิธีกรรมทางศาสนาทำให้ร่างกายเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ชุ่มชื่นแก่ตน มีความยาว 79 เมตร กว้าง 35 เมตร ลึก 3 เมตร ที่มีแม่น้ำมูลที่เป็นลำน้ำสายนี้ที่ผู้คนปลายน้ำจำเป็นต้องใช้ดื่ม ใช้กิน แต่เราต้องดูว่าน้ำไหลไปถึงไหนทำให้เห็นว่า ผู้คนจะสัมพันธ์กับสายน้ำมีวิถีชีวิตผูกพันกับ แม่น้ำมูล เพราะหลังประกอบพิธีกรรมลำน้ำทั้งสายจะกลายเป็นสายน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นสายน้ำบริสุทธิ์ สายน้ำจะแสดงความมั่งคั่งของชนเผ่าลำน้ำมูลสายนี้อาจเชื่อว่าได้ไหลลงมาจากยอดเขาคล้าย ๆ กับ แม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ของอินเดีย เป็นเรื่องราว ความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งพิธีกรรมที่จะกระทำในสระน้ำจะต้องมีผู้แทนแต่งการนุ่งขาว ห่มขาว แล้วจุดธูป เทียน ดอกไม้ไปจุดบูชาเทพารักษ์ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แล้วตักน้ำไปประกอบ พิธีกรรม

8. เจ้าพ่อพละงุม เป็นมเหศักดิ์ของชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ที่เคารพนับถือกันมาก บางความเชื่อกล่าวว่าเป็นเชื้อเจ้าชาวเมืองจำปาศักดิ์ ที่มาตรวจราชการได้ถึงแก่ อนิจกรรมลงที่ข้างสระแก้ว เหล่าทหารจึงฝังศพพละงุมพร้อมกับแก้วแหวนเงินทอง อาวุธ ไว้ที่นั่น หรืออีกนัยหนึ่งอาจเป็นทหารที่ปกปักรักษา คุ้มครองปราสาทหินที่สร้างขึ้นมาดังปรากฏตามแผ่นหินที่ค้นพบเป็นรูปแกะสลักเป็นเทวรูปบนหินทรายที่รอการไขปริศนาอยู่ ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันได้มีการสร้างศาลขึ้นโดยคนไทยเชื้อสายจีนพิบูลมังสาหาร อย่างสวยงามเพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะโดยมีพิธีบวงสรวงบูชาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี

ในลักษณะของมเหศักดิ์ ที่ชาวอีสานได้นับถือยกย่อง ศรัทธามาตั้งแต่ในสมัยโบราณก่อนที่จะมีการนับถือศาสนาพุทธ ชาวอีสานเชื่อกันว่าเป็นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้วยังคงดูแลคุ้มครองลูกหลานให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข กระทำแต่ความดี มีความรักใคร่สามัคคีกันที่มีนางเทียม หรือ เฒ่าจ้ำ เป็นสื่อกลางที่ดวงวิญญาณสามารถติดต่อกับลูกหลาน และจะต้องจัดให้มีการบูชาหรือบวงสรวงดวงวิญญาณมเหศักดิ์ปีละ 1 ครั้งในราวเดือน 6 – 7 ของทุกปีที่เป็นประเพณี สืบทอดกันมาแต่โบราณที่เรียกว่า การลงข่วง ผู้ที่เคารพนับถือ หรือลูกหลานจะต้องเตรียมเครื่องสักการะที่ประกอบด้วย เทียนเวียนหัว (ศีรษะ) 1 เล่ม หมากพลู บุหรี่ 1 พาน ไก่ต้มสุก 1 ตัว สุรา 1 ขวด และ ดอกไม้ ธูปเทียนสำหรับเครื่องบวงสรวงนั้นจัดเป็นพาขวัญ 1 สำรับสูง 9 ชั้นที่ประกอบด้วย หัวหมูควบด้วยเท้าและหางต้มสุก ไก่ต้มสุก 1 ตัว มะพร้าวอ่อน 1 ลูก กล้วยสุก 1 หวี สำรับคาว หวาน หมากพลู บุหรี่ ขนม 5 อย่าง ผลไม้ 5 อย่าง ดอกไม้ ธูป เทียน น้ำอบ น้ำหอม ขัน 5 ใช้คารวะมเหศักดิ์ สุรา 1 ขวด โดยทำพิธีในการถือฤกษ์ เวลา ประมาณ 08.00 น.ไปจนจบพิธีการ และจะมีการฟ้อน เบิกดาบพระขรรค์ในภาคบ่ายประมาณ 14.00 น.

ซึ่งในการเคารพนับถือมเหศักดิ์นี้ กระทำเพื่อขอพรจากมเหศักดิ์ให้ปกปักษ์รักษา คุ้มครองให้ประชาชน ชาวบ้านในภาคอีสานที่เคารพนับถือให้มีความร่มเย็น ปราศจากเภทภัยทั้งปวง ให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ หรือเป็นนัยที่ต้องการสร้างพลังศรัทธาในความเป็นคนที่มีความกตัญญูรักพี่น้อง บรรพบุรุษ มีความสามัคคีในหมู่คณะและตั้งใจประกอบอาชีพโดยสุจริตอีกด้วย

9. แท่นปูน 3 ชั้น (ฐานประภาคาร) เป็นแท่นปูนซีเมนต์ ที่ยึดติดกับหินที่ใจกลางแก่งสะพือ ห่างจากฝั่ง80 เมตร ที่มีส่วนผสมของหินกรวด ทราย และซีเมนต์ ชั้นแรกฐานเป็นหินทรายตามธรรมชาติ ชั้นที่ 2 กว้าง 2.01 เมตร สูง 0.70 เซนติเมตร และชั้นบนสุดกว้าง 1.48 เมตร สูง 0.56 เมตร มีรูตรงกลางเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.45 เมตร ลึก 1.25 เมตรเป็นที่สำหรับปักเสาประภาคารในการกำหนดเส้นทางเดินเรือในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (สงครามอินโดจีน)

10. ตึกดิน ตั้งอยู่ที่ถนนบำรุงราษฎร์ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากแก่งสะพือประมาณ 120 เมตร จากการค้นคว้าทราบได้ว่าเป็นอาคารพานิชย์สร้างในราว พ.ศ. 2475 โดยช่างชาวจีนและชาวญวนที่อพยพ ค้าขายมาทางเรือกลไฟตามลำน้ำมูล โดยเป็นสถาปัตยกรรม อาคารตึกดินชั้นเดียวแบบจีน มีลักษณะของตัวอาคารก่อสร้างด้วยอิฐดินดิบที่มีส่วนผสมของดินเหนียว แกลบ ฟางข้าว น้ำอ้อย กาวหนัง และยางบงที่นวดเข้ากันเป็นเนื้อเดียวกันแล้วจึงขึ้นรูปเป็นก้อน สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 5  10  5 นิ้ว โดยประมาณ เมื่อนำไปตากแดดจนแห้งจึงนำมาก่อเป็นผนังอาคาร สอด้วยดินโคลนแล้วจึงฉาบด้วย “สะทายโบก” ที่มีส่วนผสมของปูนขาว 5 ส่วน ทราย 7 ส่วน น้ำอ้อย 2 ส่วน น้ำหนัง 1 ส่วน และยางบง 9 ส่วน ทำให้มีการระบายถ่ายเท ของอากาศ

ได้ดีเพราะที่เหนือเพดานขึ้นไปใช้ไม้ไผ่ขัดปูทับด้วยดินเหนียวก่อนจึงมุงด้วยสังกะสี เหนือประตูขึ้นไปหรือที่เรียกว่า หน้าบรรณ ฉาบด้วยปูนสอเป็นลายดอกพิกุล หรือบางอาคารเป็นลายไม้ฉลุ และตึกดินหลังนี้ท่านประธานโฮจีมินต์แห่งเวียตนามเคยมาลี้ภัยอยู่ระยะหนึ่ง


สรุปและอภิปราย

แหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำมูลตอนใต้ โดยเฉพาะบริเวณแก่งสะพือนี้ ได้มีความอุดมสมบูรณ์ทางวัฒนธรรมและทางพืชพรรณธัญญาหาร ภักษาหาร มังสาหาร เป็นอย่างยิ่งเพราะได้ถูกกำหนดโดยธรรมชาติที่มีภูมิลักษณะและภูมิประเทศที่เป็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน มีเกาะแก่งหินที่มีตระใคร่น้ำสำหรับอาหารของปลากินพืช มีหาดทรายที่สะอาดกุ้งหอยที่เป็นแหล่งอาหารตามวงจรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แก่งสะพือที่จะเป็นเขื่อนมีระบบการชลประทานโดยธรรมชาติเหมาะสำหรับการวางไข่ของปลาน้ำจืด และอยู่ในช่วงพักตัวของการอพยพของปลาที่มาจากแม่น้ำโขงที่ ลงตัวพอดี และยังสามารถติดต่อเชื่อมโยงไปได้อีกหลายเมืองอีกด้วยเพราะมีเส้นทางคมนาคมหลายๆเส้นทาง ที่ช่วยให้การดำรงชีวิตของกลุ่มชนในอดีต และ สืบทอดสู่ปัจจุบัน เป็นการสืบต่ออารยธรรมรุ่นต่อรุ่น และภูมิปัญญาของบรรพชนในอดีตที่สร้างสมกันมาในอดีตที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอันหลากหลายที่ทรงคุณค่าและมีความหมายที่อาจก่อให้เกิด อัตลักษณ์ ( Identity ) ของชาวพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ให้ได้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ต่อไปก่อนที่โลกาภิวัตน์จะบดบังในส่วนที่เป็นอารยธรรมของแก่งสะพือ แหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำมูลตอนใต้ที่กำลังจะสูญสิ้นไป เฝ้ารอการศึกษาค้นคว้าจากโลกภายนอกเสมอ.

เอกสารอ้างอิง


คณะกรรมการ. หนังสือพิบูลมังสาหาร 139 ปี. อุบลราชธานี. เพิ่มพูลการพิมพ์, 2545

คณะกรรมการ. อุบลราชธานี 200 ปี. กรุงเทพฯ. ชวนพิมพ์,2535.

คณะกรรมการ.ประวัติเมืองโขงเจียม.อุบลราชธานี.รุ่งศิลป์การพิมพ์ออฟเซท,2540.

บำเพ็ญ ณ อุบล. เล่าเรื่องเมืองอุบลราชธานี.อุบลราชธานี.ศิริธรรมออฟเซ็ท,2539.

ฝนวันจันทร์ ศรีจันทร์. การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของคนในเมืองประวัติศาสตร์ กรณีศึกษาเมือง

ประวัติศาสตร์พิมาย. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2543.(อัดสำเนา)

เรวัต สิงห์เรือง และคณะ. รายงานโครงการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการแก่งสะพือแบบมี

ส่วนร่วม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สกว. อุบลราชธานี, 2549.

สถาบันราชภัฏสวนดุสิต. วิถีไทย. กรุงเทพฯ.เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด, 2543.

อัจฉรา ภาณุรัตน์. ทฤษฎีความรู้โลกาภิวัตน์และภูมิปัญญาท้องถิ่น. สถาบันราชภัฏสุรินทร์,2545.

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หนังสือคู่มือการบริหารและแผนยุทธศาสตร์การจัดการทุนทางสังคมในสถานศึกษา

           การจัดทำหนังสือคู่มือการบริหารและแผนยุทธศาสตร์การจัดการทุนทางสังคมในสถานศึกษา นี้ผู้เสนอ มีวัตถุประสงค์สองประการคือ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพ แวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งกระตุ้นส่งเสริมให้มีการวิจัยในชั้นเรียน และใช้กระบวนการวิจัยนำไปสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้ จัดประชุมสัมมนาหรือส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสู่ครูมืออาชีพ นอกจากนี้ยังประสานความร่วมมือกับ ชุมชน ผู้ปกครอง ผู้นำท้องถิ่น และแสวงหาวิทยาการในชุมชน เพื่อระดมทุนทางสังคมนำมา ใช้ประโยชน์ควบคู่กับแหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามศักยภาพและความ สนใจของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ พิบูลวิทยาคาร เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูล มังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อม และเพื่อสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่มุ่งให้คนไทยมีความรู้คู่คุณธรรม



รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น

1. องค์ประกอบของรูปแบบ
    องค์ประกอบนี้เป็นส่วนนำหรือบทนำของรูปแบบเป็นการอธิบายหลักการ จุดมุ่งหมาย การจัดองค์การ การดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ การนำรูปแบบไปใช้ และเงื่อนไขของความสำเร็จ องค์ประกอบของรูปแบบมีส่วนประกอบ ดังนี้

1.1 หลักการ
รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น จำแนกเป็น ขั้นตอน ในการดำเนินงาน/โครงการ และรายละเอียดการดำเนินการตามขั้นตอนมีหลักการดังกล่าว มีดังนี้
1.1.1 การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องยึดคนเป็นศูนย์กลาง
1.1.2 การบริหารและการจัดการศึกษาต้องมียุทธศาสตร์ กลไก ขั้นตอน วิธีการอย่างเป็นระบบทั้งด้านการบริหารจัดการ กระบวนการการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาบุคลากร
1.1.3 วิธีการดำเนินการและเป้าหมายของการบริหารและจัดการศึกษาคือต้องยึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น ภายใต้เงื่อนไข การมีความรู้ และคุณธรรม
1.1.4 การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ต้องอยู่บนพื้นฐานการรู้จักตนเอง การช่วยเหลือตนเอง การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการสร้างเครือข่าย
1.1.5 การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ต้องสอดคล้องภูมิสังคม ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน
1.1.6 โรงเรียนต้องเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ และมีความสุข คุณธรรม จริยธรรม

1.2 วัตถุประสงค์
       เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ในระดับก่อนประถมศึกษา ถึงระดับประถมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมุ่งการจัดการศึกษาในระดับนี้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ และมาตรฐาน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลสู่การดำเนินชีวิตของผู้เรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

1.3 การจัดองค์การ
      การจัดโครงสร้างการบริหารยึดหลักการมีส่วนร่วม เน้นการทำงานเป็นทีม โดยจัดให้มีองค์คณะบุคคลทำหน้าที่บริหารและจัดการ ทุนทางสังคมในท้องถิ่น พร้อมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น มาใช้อย่างเหมาะสม มีการกำหนดหน้าที่ ที่ชัดเจนในการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย คณะบุคคล (ทีม) จำนวน 3 คณะ ได้แก่
1.3.1 คณะผู้บริหารในสถานศึกษา (ทีมนำ) ประกอบด้วย ผู้บริหาสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา มีหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้
       1) กำหนดนโยบาย และวัตถุประสงค์การดำเนินงาน
       2) กำหนดโครงสร้างการบริหารให้เหมาะสมกับบริบทสถานศึกษา
       3) มอบหมายภาระงานให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษาปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ
      4) จัดประชุมเพื่อกำหนดขอบข่ายงาน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
      5) สร้างความตระหนักให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษา
      6) พัฒนาครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้และทักษะเพิ่มเติม
      7) นิเทศ ติดตาม และประเมินผล
1.3.2 คณะหัวหน้างานในสถานศึกษา (ทีมประสาน) ประกอบด้วย
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และหัวหน้าระดับของสถานศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
      1) กำกับ ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของครูและบุคลากรในสถานศึกษา
      2) ประสานงานผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
      3) จัดประชุมครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และร่วมแก้ปัญหา ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
      4) บันทึกหลักฐานการปฏิบัติงาน ประเมินผล และจัดทำรายงานต่อทีมทำ
1.3.3 ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา (ทีมงาน) ประกอบด้วยครูที่ทำหน้าที่สอนในกลุ่มสาระต่าง ๆ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
      1) ปฏิบัติหน้าที่สอน และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 การมีส่วนร่วมของชุมชน และสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     2) เป็นที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชน
     3) จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการให้รู้จักดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
     4) พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
     5) รายงานผลการดำเนินงานต่อทีมนำและทีมประสาน
1.4 การบริหารจัดการ การบริหารจัดการทุนทางสังคมในท้องถิ่นกับสถานศึกษา มีการดำเนินการ ดังนี้
    1.4.1 การบริหารจัดการทุนที่เป็นมนุษย์
    1.4.2 การบริหารจัดการทุนที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    1.4.3 การบริหารจัดการทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ
    1.4.4 การบริหารจัดการทุนที่เป็นการบริหารจัดการ
    1.4.5 การบริหารจัดการทุนที่เป็นสารสนเทศ
    1.4.6 การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล
1.5 ตัวชี้วัดของความสำเร็จ เป็นเอกสาร หลักฐาน พฤติกรรมและสภาพอื่น ๆ ที่สะท้อนถึงการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยทุนทางสังคมในท้องถิ่นในแต่ละด้านในการบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้การบริหารจัดการโดยใช้รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมบรรลุจุดมุ่งหมายต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น แยกเป็นรายด้าน ดังนี้
    1.5.1 การบริหารจัดการทุนที่เป็นมนุษย์ ดังนี้
      1) สถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชน
      2) เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดสภาพและบรรยากาศภายในสถานศึกษา
      3) เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดแนวนโยบาย และการวางแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
     4) สถานศึกษาจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ และจิตอาสา
     5) สถานศึกษาเปิดโอกาสให้องค์กรหรือหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานศึกษา
1.5.2 การบริหารจัดการทุนที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนี้
     1 ) สถานศึกษานำคุณลักษณะความมีคุณธรรม นำความรู้มาปรับปรุงวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในหลักสูตรสถานศึกษา
     2) จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปของสาระเพิ่มเติมทุกระดับ
     3) บูรณาการวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และแสวงหาแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษาอย่างเป็นระบบสอดคล้องและเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
    4) สนับสนุนให้ครูสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่เป็นของสถานศึกษาโดยเฉพาะ โดยประยุกต์ใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากวิทยากร ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
    5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.5.3 การบริหารจัดการทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ดังนี้
    1) จัดพื้นที่ภายในให้เกิดประโยชน์ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาของท้องถิ่น
    2) จัดอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาที่เน้นความสะอาด ร่มรื่น และมีความปลอดภัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้
    3) มอบหมายให้นักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแลรักษาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา
    4) พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็ง ครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษาเอาใจใส่นักเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างใกล้ชิด
    5) ส่งเสริมและพัฒนาจิตสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งในและนอกสถานศึกษา
1.5.4 การบริหารจัดการทุนที่เป็นการบริหารจัดการ ดังนี้
    1) สถานศึกษานำหลักการมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
    2) ประชุม ชี้แจงการนำเอารูปแบบการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษาแก่บุคลากรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ
    3) จัดโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการนำการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษา
    4) สนับสนุนแหล่งความรู้ และสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการให้กับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ
    5) นำระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษามาบริหารและจัดการศึกษา
1.5.5 การบริหารจัดการทุนที่เป็น สารสนเทศ ดังนี้
    1) สถานศึกษานำบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
    2) สถานศึกษาจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ สารสนเทศ ในสถานศึกษาเพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจ ชุมชน และหน่วยงานอื่น
    3) สถานศึกษามีการขยายผลและเผยแพร่ สารสนเทศ ผ่านนักเรียนสู่บุคคลในครอบครัวและชุมชน โดยมีบ้าน วัด และโรงเรียน เป็นแกน ในการดำเนินงานร่วมกัน
    4) สถานศึกษาจัดกิจกรรมยกย่อง เชิดชู ครู นักเรียน ผู้ปกครองที่ดำรงชีวิตเป็นแบบอย่างที่ดีตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    5) สถานศึกษามีการจัดทำเอกสาร เว็บไซต์ ซีดี วีซีดี เพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์การดำเนินการของสถานศึกษาให้ชุมชนและหน่วยงานอื่นได้ทราบอย่างสม่ำเสมอ
1.5.6 การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล ดังนี้
    1) สร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่าของการนิเทศเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
    2) สถานศึกษามีการนิเทศภายในที่เป็นการนิเทศแบบกัลยาณมิตร
    3) สถานศึกษามีการติดตามและประเมินความเหมาะสมของกระบวนการ ขั้นตอน และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยบูรณาการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพสถานศึกษา
    4) สถานศึกษามีการนำปัญหาและอุปสรรคที่ได้มาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนา การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
    5) สถานศึกษาจัดให้มีการรายงานผลการดำเนินการอย่างเป็นระบบ

1.6 การนำรูปแบบไปใช้
    การนำรูปแบบไปใช้สถานศึกษามียุทธศาสตร์ กลไก ขั้นตอน วิธีการอย่างเป็นระบบทั้งด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน และการพัฒนาบุคลากรกำหนดโดยแยกเป็นโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทุนทางสังคมในสถานศึกษา โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1.6.1 ขั้นเตรียมการสำหรับการนำไปใช้ในสถานศึกษา
    1) ชี้แจงกับครูและบุคลากรในสถานศึกษา โดยประชุม ชี้แจงการนำเอาทุนทางสังคมมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษาแก่บุคลากร ตลอดจนภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ
    2) จัดองค์การในสถานศึกษาเพื่อดำเนินการคือ ทีมนำ ทีมประสานและทีมงาน
    3) ประชุมชี้แจงคณะทำงานทุกคนเพื่อทำความเข้าใจ สร้างความตระหนัก และสร้างขวัญกำลังใจ พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมาย ทำความเข้าใจขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน 1.6.2 ขั้นดำเนินการ ดำเนินการดังนี้

1) พัฒนาครูและบุคลากร ในเรื่องต่อไปนี้
    1.1) การบริหารจัดการทุนที่เป็นมนุษย์
    1.2) จัดการทุนที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    1.3) การบริหารจัดการทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ
    1.4) การบริหารจัดการทุนที่เป็นการบริหารจัดการ
    1.5) การบริหารจัดการทุนที่เป็นสารสนเทศ
    1.6) อื่น ๆ

2) การดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรมที่กำหนด

1.6.3 ขั้นติดตามแนะนำ ดำเนินการดังนี้
    1) ดำเนินการนิเทศแบบกัลยาณมิตร
    2) พบปะทีมประสานและทีมงานอย่างสม่ำเสมอ
    3) จัดประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ

1.6.4 ขั้นประเมินผล รายงานผล และขยายผล
    1) จัดประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
    2) สรุปรายงานและเตรียมขยายผล
    3) ขยายผล

1.7 เงื่อนไขความสำเร็จ เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้การบริหารจัดการโดยใช้รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมบรรลุจุดมุ่งหมายต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารโดยรูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่บ่งชี้ถึงคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น ดังนี้
   1.7.1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนในสถานศึกษาต้องมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมชองชุมชนมาใช้ในการบริหารและสามารถนำแนวคิดปรับประยุกต์ใช้ได้กับการจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้
   1.7.2 ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหารและจัดการบริหารสถานศึกษา ปรับโครงสร้างการบริหารให้สอดคล้องกับการนำหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนมาใช้ โดยมุ่งประโยชน์สูงสุดที่นักเรียน และให้ความสำคัญกับชุมชน โดยกำหนดให้มีบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรง
   1.7.3 ผู้บริหาร และครูในสถานศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็น แบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนและสังคม
   1.7.4 ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มแรก คือร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมตรวจสอบ และร่วมรับผิดชอบในการดำเนินการ
   1.7.5 การดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ในสถานศึกษาต้องมีการวางแผนที่ดี มีลำดับขั้นตอนในการดำเนินงาน และต้องมีการพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
   1.7.6 โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการต้องมีสอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนในชุมชน

2. องค์ประกอบของการบริหารจัดการในสถานศึกษา
    องค์ประกอบนี้เป็นส่วนนำหรือบทนำของรูปแบบเป็นการอธิบายหลักการ จุดมุ่งหมาย การจัดองค์การ การดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ การนำรูปแบบไปใช้ และเงื่อนไขของความสำเร็จ องค์ประกอบของรูปแบบมีส่วนประกอบ ดังนี้
   2.1 การบริหารจัดการทุนที่เป็นทุนมนุษย์ในชุมชนท้องถิ่น ดังนี้
      2.1.1 สถานศึกษานำหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนมาประยุกต์ใช้ในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แผนปฏิบัติการของสถานศึกษา 2.1.2 ประชุม ชี้แจงการนำเอาทุนทางสังคมมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษาแก่บุคลากรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ
      2.1.3 จัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่นอย่างถูกต้อง แก่บุคลากรในสถานศึกษา
      2.1.4 จัดโครงสร้างการบริหารบุคคลของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการทุนสังคมมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษา
      2.1.5 สนับสนุนแหล่งความรู้ และสารสนเทศเกี่ยวกับทุนทางสังคมที่มีในชุมชนท้องถิ่น ให้กับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง
      2.1.6 นำระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและจัดการศึกษา
        1) สถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชน
        2) เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดสภาพและบรรยากาศภายในสถานศึกษา
       3) เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดแนวนโยบาย และการวางแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
       4) สถานศึกษาจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ และจิตอาสา
       5) สถานศึกษาเปิดโอกาสให้องค์กรหรือหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานศึกษา
2.2 การบริหารจัดการทุนที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนี้
    2.2.1 จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปของสาระเพิ่มเติมทุกระดับ
    2.2.2 บูรณาการวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
    2.2.3 สนับสนุนให้ครูสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่เป็นของสถานศึกษาโดยเฉพาะ โดยใช้ประโยชน์จากวิทยากร ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
    2.2.4 จัดทำคู่มือการใช้หลักสูตร และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
    2.2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    2.2.6 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาที่มีในสถานศึกษา และมี การแสวงหาแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษาอย่างเป็นระบบสอดคล้องและเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
       1 ) สถานศึกษานำคุณลักษณะความมีคุณธรรม นำความรู้มาปรับปรุงวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในหลักสูตรสถานศึกษา
       2) จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาในท้องถิ่นในรูปของสาระเพิ่มเติมทุกระดับ
       3) บูรณาการวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และแสวงหาแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษาอย่างเป็นระบบสอดคล้องและเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
       4) สนับสนุนให้ครูสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่เป็นของสถานศึกษาโดยเฉพาะ โดยประยุกต์ใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากวิทยากร ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
       5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.3 การบริหารจัดการทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ดังนี้
    2.3.1 จัดอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาที่เน้นความร่มรื่น และมีความปลอดภัย
    2.3.2 จัดพื้นที่ภายในให้เกิดประโยชน์ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาของท้องถิ่น 2.3.3 มอบหมายให้นักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแลรักษาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา
    2.3.4 มีการวิเคราะห์ต้นทุน กำไร และความมีประสิทธิผล เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะลงทุนทางการศึกษาอย่างรอบคอบ
    2.3.5 ส่งเสริมและพัฒนาบรรยากาศด้านคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งในและนอกสถานศึกษา
       1) จัดพื้นที่ภายในให้เกิดประโยชน์ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาของท้องถิ่น
       2) จัดอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาที่เน้นความสะอาด ร่มรื่น และมีความปลอดภัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้
       3) มอบหมายให้นักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแลรักษาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา
       4) พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็ง ครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษาเอาใจใส่นักเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างใกล้ชิด
       5) ส่งเสริมและพัฒนาจิตสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งในและนอกสถานศึกษา
  2.4 การบริหารจัดการทุนที่เป็นการบริหารจัดการ ดังนี้
    2.4.1 สถานศึกษานำหลักการทางทุนสังคมในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
    2.4.2 ประชุม ชี้แจงการนำเอารูปแบบการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษาแก่บุคลากรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ
    2.4.3 จัดโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการนำการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษา
    2.4.4 สนับสนุนแหล่งความรู้ และสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหารจัดการให้กับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ
    2.4.5 นำระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและจัดการศึกษา
        1) สถานศึกษานำหลักการมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
       2) ประชุม ชี้แจงการนำเอารูปแบบการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษาแก่บุคลากรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ
       3) จัดโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการนำการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษา
       4) สนับสนุนแหล่งความรู้ และสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการให้กับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ
       5) นำระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษามาบริหารและจัดการศึกษา
  2.5 การบริหารจัดการทุนที่เป็น สารสนเทศ ดังนี้
    2.5.1 สถานศึกษาจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
    2.5.2 สถานศึกษาจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สารสนเทศ ในสถานศึกษาเพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจ ชุมชน และหน่วยงานอื่น
    2.5.3 สถานศึกษามีการขยายผลและเผยแพร่ สารสนเทศ ผ่านนักเรียนสู่บุคคลในครอบครัวและชุมชน
    2.5.4 สถานศึกษาจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลข่าวสาร และระบบสารสนเทศ ในชุมชน โดยมีบ้าน วัด และโรงเรียน เป็นแกน ในการดำเนินงานร่วมกัน
    2.5.5 สถานศึกษามีการจัดทำเอกสาร เว็บไซต์ ซีดี วีซีดี เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การดำเนินการของสถานศึกษาให้ชุมชนและหน่วยงานอื่นได้ทราบอย่างสม่ำเสมอ
       1) สถานศึกษานำบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
       2) สถานศึกษาจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ สารสนเทศ ในสถานศึกษาเพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจ ชุมชน และหน่วยงานอื่น
       3) สถานศึกษามีการขยายผลและเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศ ผ่านนักเรียนสู่บุคคลในครอบครัวและชุมชน โดยมีบ้าน วัด และโรงเรียน เป็นแกน ในการดำเนินงานร่วมกัน
       4) สถานศึกษาจัดกิจกรรมยกย่อง เชิดชู ครู นักเรียน ผู้ปกครองที่ดำรงชีวิตเป็นแบบอย่างที่ดีตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
       5) สถานศึกษามีการจัดทำเอกสาร เว็บไซต์ ซีดี วีซีดี เพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์การดำเนินการของสถานศึกษาให้ชุมชนและหน่วยงานอื่นได้ทราบอย่างสม่ำเสมอ

                                                                                                            ดร.เรวัต  สิงห์เรือง

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เจ้าพ่อพละงุม ของชาวพิมูล

เจ้าพ่อพละงุม ของชาวพิมูล

ดร.เรวัต สิงห์เรือง ผอ.โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี


เจ้าพ่อพละงุม เป็นมเหศักดิ์ของชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ที่เคารพนับถือกันมาก บางความเชื่อกล่าวว่าเป็นเชื้อเจ้าชาวเมืองจำปาศักดิ์ที่มาตรวจราชการได้ถึงแก่อนิจกรรมลงที่ข้างสระแก้วซึ่งเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์หน้าวัดสระแก้ว ที่ใช้ชำระร่างกายก่อนเข้าทำพิธีทางศาสนา เหล่าทหารจึงฝังศพเจ้าพ่อพละงุมพร้อมกับแก้วแหวนเงินทอง ศาสตรา อาวุธไว้ที่นั่น แต่เดิมของศาลจะเป็นลักษณะเป็นเพิงมีเสาไม้แก่น 4 ต้น หลังคามุงหญ้า ยกพื้นสูงเพียงตา มีหมอนรูปทรง 3 เหลี่ยม(หมอนขิด)และเครื่องบูชา เซ่นไหว้ อยู่ทางทิศเหนือของสระแก้วข้างต้นตะเคียนทองคู่ในปัจจุบัน หรืออีกนัยหนึ่งอาจเป็นทหารที่ปกปักรักษา คุ้มครองปราสาทหินที่สร้างขึ้นมาดังปรากฏตามแผ่นหินที่ค้นพบเป็นรูปแกะสลักเป็นเทวรูปบนหินทรายที่รอการไขปริศนาจากนักโบราณคดีอยู่ ซึ่งเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันได้มีการสร้างศาลขึ้นโดยคนไทยคหบดีเชื้อสายจีน และชาวพิบูลมังสาหารที่เคารพศรัทธาได้อย่างสวยงามเพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะของชาวพิบูลมังสาหารโดยมีพิธีบวงสรวงบูชาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปีเสมอมา

ในลักษณะของมเหศักดิ์ที่ชาวอีสานได้นับถือยกย่องศรัทธามาตั้งแต่ในสมัยโบราณก่อนที่จะมีการ นับถือศาสนาพุทธ ชาวอีสานเชื่อกันว่าเป็นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้วยังคงดูแลคุ้มครองลูกหลานให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข กระทำแต่ความดี มีความรักใคร่สามัคคีกันที่มี นางเทียม หรือ เฒ่าจ้ำ เป็นสื่อกลางที่ดวงวิญญาณสามารถติดต่อกับลูกหลาน และจะต้องจัดให้มีการบูชาหรือบวงสรวงดวงวิญญาณมเหศักดิ์ ปีละ 1 ครั้งในราวเดือน 6 – 7 ของทุกปีที่เป็นประเพณีสืบทอดกันมาแต่โบราณที่เรียกว่า การลงข่วง ผู้ที่เคารพนับถือ หรือลูกหลานจะต้องเตรียมเครื่องสักการะที่ประกอบด้วย เทียนเวียนหัว ( ศีรษะ ) 1 เล่ม หมากพลู บุหรี่ 1 พาน ไก่ต้มสุก 1 ตัว สุรา 1 ขวด และ ดอกไม้ ธูปเทียนสำหรับเครื่องบวงสรวงนั้นจัดเป็น พาขวัญ 1 สำรับสูง 9 ชั้นที่ประกอบด้วย หัวหมูควบด้วยเท้าและหางต้มสุก ไก่ต้มสุก 1 ตัว มะพร้าวอ่อน 1 ลูก กล้วยสุก 1 หวี สำรับคาว หวาน หมากพลู บุหรี่ ขนม 5 อย่าง ผลไม้ 5 อย่าง ดอกไม้ ธูป เทียน น้ำอบ น้ำหอม ขัน 5 ใช้คารวะมเหศักดิ์ สุรา 1 ขวด โดยทำพิธีในการถือฤกษ์ เวลา ประมาณ 08.00 น.ไปจนจบพิธีการ ที่สำนักนางเทียม หรือ เฒ่าจ้ำ และจะมีการฟ้อนรำ เบิกดาบพระขรรค์คู่ สำหรับเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการฟ้อนรำ ขับกล่อมที่ประกอบด้วย แคน ฉิ่ง ในจังหวะที่เร้าใจ และเหล่านางเทียมที่สวมชุดที่สวยงาม มีผ้าห่มสไบเฉียงที่มีสีแดงเป็นหลัก ทัดดอกไม้ที่หู แล้วมีการแห่แหนเจ้าพ่อพละงุมรอบเมืองโดยมีทหารเอกที่เป็นตัวแลน(กิเลน) และเต่าร่วมขบวนด้วย เพื่อให้ผู้เคารพศรัทธาเซ่นไหว้ด้วยน้ำอบ น้ำหอม ธูป เทียน ดอกไม้แดง โดยมีผู้สืบทอดเชื้อสายเจ้าพ่อพละงุมเป็นผู้ประพรมน้ำ เพื่อเกิดความร่มเย็นจนรอบเมืองจึงอัญเชิญเข้าไปประดิษฐานที่ศาลเจ้าแล้วทำพิธีบวงสรวงที่เป็นขันหมากเบ็ง เครื่องบายศรีสู่ขวัญ ตามขั้นตอนจึงมีการล่องส่งเครื่องสักการะบูชา และสิ่งที่ไม่ดีฝากไปในที่เป็นลักษณะเรือและบ้าน ลอยไปตามกระแสน้ำ จึงเสร็จพิธีแล้วมีการแสดงถวายตามประเพณีจนถึงบ่าย ค่ำ

ซึ่งในการเคารพนับถือมเหศักดิ์เจ้าพ่อพละงุมนี้ จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อให้ลูกหลานชาวพิบูล มังสาหารกระทำขึ้นเพื่อขอพรจากมเหศักดิ์ให้ปกปักษ์รักษา คุ้มครองให้ประชาชน ชาวบ้าน ลูกหลานที่เคารพนับถือให้มีความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากเภทภัยทั้งปวง ให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ ทำมาค้าขายขึ้น มีความปลอดภัยในชีวิต ในการเดินทางและยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจหรือเป็นนัยที่ต้องการสร้างพลังศรัทธาในความเป็นคนที่มีความกตัญญูรักพี่น้อง บรรพบุรุษ มีความสามัคคีในหมู่คณะ รักถิ่นฐาน บ้านเกิด และตั้งใจประกอบอาชีพโดยสุจริตอีกด้วย ถือได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชาวพิบูลมังสาหาร เป็นอัตตลักษณ์ของคน “เมืองพิมูล” สืบไป.

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เด็กวันนี้คืออนาคตของชาติ

เราปลูกฝังอะไรไว้บ้าง...........................

' ชินะ บัญชะระ ปะริตตัง มังรัก ขะตู สัพพาทา '

***การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง การให้ที่ใหญ่หลวงคือการให้อภัยทาน***

*นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ*