วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หนังสือคู่มือการบริหารและแผนยุทธศาสตร์การจัดการทุนทางสังคมในสถานศึกษา

           การจัดทำหนังสือคู่มือการบริหารและแผนยุทธศาสตร์การจัดการทุนทางสังคมในสถานศึกษา นี้ผู้เสนอ มีวัตถุประสงค์สองประการคือ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพ แวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งกระตุ้นส่งเสริมให้มีการวิจัยในชั้นเรียน และใช้กระบวนการวิจัยนำไปสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้ จัดประชุมสัมมนาหรือส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสู่ครูมืออาชีพ นอกจากนี้ยังประสานความร่วมมือกับ ชุมชน ผู้ปกครอง ผู้นำท้องถิ่น และแสวงหาวิทยาการในชุมชน เพื่อระดมทุนทางสังคมนำมา ใช้ประโยชน์ควบคู่กับแหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามศักยภาพและความ สนใจของผู้เรียนโรงเรียนเทศบาล ๒ พิบูลวิทยาคาร เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูล มังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี และพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อม และเพื่อสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่มุ่งให้คนไทยมีความรู้คู่คุณธรรม



รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น

1. องค์ประกอบของรูปแบบ
    องค์ประกอบนี้เป็นส่วนนำหรือบทนำของรูปแบบเป็นการอธิบายหลักการ จุดมุ่งหมาย การจัดองค์การ การดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ การนำรูปแบบไปใช้ และเงื่อนไขของความสำเร็จ องค์ประกอบของรูปแบบมีส่วนประกอบ ดังนี้

1.1 หลักการ
รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น จำแนกเป็น ขั้นตอน ในการดำเนินงาน/โครงการ และรายละเอียดการดำเนินการตามขั้นตอนมีหลักการดังกล่าว มีดังนี้
1.1.1 การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องยึดคนเป็นศูนย์กลาง
1.1.2 การบริหารและการจัดการศึกษาต้องมียุทธศาสตร์ กลไก ขั้นตอน วิธีการอย่างเป็นระบบทั้งด้านการบริหารจัดการ กระบวนการการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาบุคลากร
1.1.3 วิธีการดำเนินการและเป้าหมายของการบริหารและจัดการศึกษาคือต้องยึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น ภายใต้เงื่อนไข การมีความรู้ และคุณธรรม
1.1.4 การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ต้องอยู่บนพื้นฐานการรู้จักตนเอง การช่วยเหลือตนเอง การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการสร้างเครือข่าย
1.1.5 การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ต้องสอดคล้องภูมิสังคม ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ สภาพสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน
1.1.6 โรงเรียนต้องเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ และมีความสุข คุณธรรม จริยธรรม

1.2 วัตถุประสงค์
       เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ในระดับก่อนประถมศึกษา ถึงระดับประถมศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมุ่งการจัดการศึกษาในระดับนี้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ และมาตรฐาน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลสู่การดำเนินชีวิตของผู้เรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

1.3 การจัดองค์การ
      การจัดโครงสร้างการบริหารยึดหลักการมีส่วนร่วม เน้นการทำงานเป็นทีม โดยจัดให้มีองค์คณะบุคคลทำหน้าที่บริหารและจัดการ ทุนทางสังคมในท้องถิ่น พร้อมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น มาใช้อย่างเหมาะสม มีการกำหนดหน้าที่ ที่ชัดเจนในการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย คณะบุคคล (ทีม) จำนวน 3 คณะ ได้แก่
1.3.1 คณะผู้บริหารในสถานศึกษา (ทีมนำ) ประกอบด้วย ผู้บริหาสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา มีหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้
       1) กำหนดนโยบาย และวัตถุประสงค์การดำเนินงาน
       2) กำหนดโครงสร้างการบริหารให้เหมาะสมกับบริบทสถานศึกษา
       3) มอบหมายภาระงานให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษาปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ
      4) จัดประชุมเพื่อกำหนดขอบข่ายงาน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
      5) สร้างความตระหนักให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษา
      6) พัฒนาครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้และทักษะเพิ่มเติม
      7) นิเทศ ติดตาม และประเมินผล
1.3.2 คณะหัวหน้างานในสถานศึกษา (ทีมประสาน) ประกอบด้วย
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และหัวหน้าระดับของสถานศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
      1) กำกับ ติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของครูและบุคลากรในสถานศึกษา
      2) ประสานงานผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
      3) จัดประชุมครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และร่วมแก้ปัญหา ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
      4) บันทึกหลักฐานการปฏิบัติงาน ประเมินผล และจัดทำรายงานต่อทีมทำ
1.3.3 ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษา (ทีมงาน) ประกอบด้วยครูที่ทำหน้าที่สอนในกลุ่มสาระต่าง ๆ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
      1) ปฏิบัติหน้าที่สอน และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 การมีส่วนร่วมของชุมชน และสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     2) เป็นที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชน
     3) จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการให้รู้จักดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
     4) พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
     5) รายงานผลการดำเนินงานต่อทีมนำและทีมประสาน
1.4 การบริหารจัดการ การบริหารจัดการทุนทางสังคมในท้องถิ่นกับสถานศึกษา มีการดำเนินการ ดังนี้
    1.4.1 การบริหารจัดการทุนที่เป็นมนุษย์
    1.4.2 การบริหารจัดการทุนที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    1.4.3 การบริหารจัดการทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ
    1.4.4 การบริหารจัดการทุนที่เป็นการบริหารจัดการ
    1.4.5 การบริหารจัดการทุนที่เป็นสารสนเทศ
    1.4.6 การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล
1.5 ตัวชี้วัดของความสำเร็จ เป็นเอกสาร หลักฐาน พฤติกรรมและสภาพอื่น ๆ ที่สะท้อนถึงการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยทุนทางสังคมในท้องถิ่นในแต่ละด้านในการบริหารจัดการทุนทางสังคมที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้การบริหารจัดการโดยใช้รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมบรรลุจุดมุ่งหมายต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น แยกเป็นรายด้าน ดังนี้
    1.5.1 การบริหารจัดการทุนที่เป็นมนุษย์ ดังนี้
      1) สถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชน
      2) เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดสภาพและบรรยากาศภายในสถานศึกษา
      3) เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดแนวนโยบาย และการวางแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
     4) สถานศึกษาจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ และจิตอาสา
     5) สถานศึกษาเปิดโอกาสให้องค์กรหรือหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานศึกษา
1.5.2 การบริหารจัดการทุนที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนี้
     1 ) สถานศึกษานำคุณลักษณะความมีคุณธรรม นำความรู้มาปรับปรุงวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในหลักสูตรสถานศึกษา
     2) จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปของสาระเพิ่มเติมทุกระดับ
     3) บูรณาการวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และแสวงหาแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษาอย่างเป็นระบบสอดคล้องและเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
    4) สนับสนุนให้ครูสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่เป็นของสถานศึกษาโดยเฉพาะ โดยประยุกต์ใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากวิทยากร ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
    5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.5.3 การบริหารจัดการทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ดังนี้
    1) จัดพื้นที่ภายในให้เกิดประโยชน์ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาของท้องถิ่น
    2) จัดอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาที่เน้นความสะอาด ร่มรื่น และมีความปลอดภัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้
    3) มอบหมายให้นักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแลรักษาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา
    4) พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็ง ครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษาเอาใจใส่นักเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างใกล้ชิด
    5) ส่งเสริมและพัฒนาจิตสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งในและนอกสถานศึกษา
1.5.4 การบริหารจัดการทุนที่เป็นการบริหารจัดการ ดังนี้
    1) สถานศึกษานำหลักการมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
    2) ประชุม ชี้แจงการนำเอารูปแบบการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษาแก่บุคลากรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ
    3) จัดโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการนำการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษา
    4) สนับสนุนแหล่งความรู้ และสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการให้กับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ
    5) นำระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษามาบริหารและจัดการศึกษา
1.5.5 การบริหารจัดการทุนที่เป็น สารสนเทศ ดังนี้
    1) สถานศึกษานำบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
    2) สถานศึกษาจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ สารสนเทศ ในสถานศึกษาเพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจ ชุมชน และหน่วยงานอื่น
    3) สถานศึกษามีการขยายผลและเผยแพร่ สารสนเทศ ผ่านนักเรียนสู่บุคคลในครอบครัวและชุมชน โดยมีบ้าน วัด และโรงเรียน เป็นแกน ในการดำเนินงานร่วมกัน
    4) สถานศึกษาจัดกิจกรรมยกย่อง เชิดชู ครู นักเรียน ผู้ปกครองที่ดำรงชีวิตเป็นแบบอย่างที่ดีตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    5) สถานศึกษามีการจัดทำเอกสาร เว็บไซต์ ซีดี วีซีดี เพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์การดำเนินการของสถานศึกษาให้ชุมชนและหน่วยงานอื่นได้ทราบอย่างสม่ำเสมอ
1.5.6 การนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล ดังนี้
    1) สร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่าของการนิเทศเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
    2) สถานศึกษามีการนิเทศภายในที่เป็นการนิเทศแบบกัลยาณมิตร
    3) สถานศึกษามีการติดตามและประเมินความเหมาะสมของกระบวนการ ขั้นตอน และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาโดยบูรณาการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพสถานศึกษา
    4) สถานศึกษามีการนำปัญหาและอุปสรรคที่ได้มาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนา การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
    5) สถานศึกษาจัดให้มีการรายงานผลการดำเนินการอย่างเป็นระบบ

1.6 การนำรูปแบบไปใช้
    การนำรูปแบบไปใช้สถานศึกษามียุทธศาสตร์ กลไก ขั้นตอน วิธีการอย่างเป็นระบบทั้งด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน และการพัฒนาบุคลากรกำหนดโดยแยกเป็นโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทุนทางสังคมในสถานศึกษา โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1.6.1 ขั้นเตรียมการสำหรับการนำไปใช้ในสถานศึกษา
    1) ชี้แจงกับครูและบุคลากรในสถานศึกษา โดยประชุม ชี้แจงการนำเอาทุนทางสังคมมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษาแก่บุคลากร ตลอดจนภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ
    2) จัดองค์การในสถานศึกษาเพื่อดำเนินการคือ ทีมนำ ทีมประสานและทีมงาน
    3) ประชุมชี้แจงคณะทำงานทุกคนเพื่อทำความเข้าใจ สร้างความตระหนัก และสร้างขวัญกำลังใจ พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมาย ทำความเข้าใจขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน 1.6.2 ขั้นดำเนินการ ดำเนินการดังนี้

1) พัฒนาครูและบุคลากร ในเรื่องต่อไปนี้
    1.1) การบริหารจัดการทุนที่เป็นมนุษย์
    1.2) จัดการทุนที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    1.3) การบริหารจัดการทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ
    1.4) การบริหารจัดการทุนที่เป็นการบริหารจัดการ
    1.5) การบริหารจัดการทุนที่เป็นสารสนเทศ
    1.6) อื่น ๆ

2) การดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรมที่กำหนด

1.6.3 ขั้นติดตามแนะนำ ดำเนินการดังนี้
    1) ดำเนินการนิเทศแบบกัลยาณมิตร
    2) พบปะทีมประสานและทีมงานอย่างสม่ำเสมอ
    3) จัดประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ

1.6.4 ขั้นประเมินผล รายงานผล และขยายผล
    1) จัดประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
    2) สรุปรายงานและเตรียมขยายผล
    3) ขยายผล

1.7 เงื่อนไขความสำเร็จ เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้การบริหารจัดการโดยใช้รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมบรรลุจุดมุ่งหมายต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารโดยรูปแบบการจัดการทุนทางสังคมที่บ่งชี้ถึงคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น ดังนี้
   1.7.1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนในสถานศึกษาต้องมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมชองชุมชนมาใช้ในการบริหารและสามารถนำแนวคิดปรับประยุกต์ใช้ได้กับการจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้
   1.7.2 ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหารและจัดการบริหารสถานศึกษา ปรับโครงสร้างการบริหารให้สอดคล้องกับการนำหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนมาใช้ โดยมุ่งประโยชน์สูงสุดที่นักเรียน และให้ความสำคัญกับชุมชน โดยกำหนดให้มีบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรง
   1.7.3 ผู้บริหาร และครูในสถานศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตนเป็น แบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนและสังคม
   1.7.4 ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มแรก คือร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมตรวจสอบ และร่วมรับผิดชอบในการดำเนินการ
   1.7.5 การดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ในสถานศึกษาต้องมีการวางแผนที่ดี มีลำดับขั้นตอนในการดำเนินงาน และต้องมีการพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
   1.7.6 โครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการต้องมีสอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนในชุมชน

2. องค์ประกอบของการบริหารจัดการในสถานศึกษา
    องค์ประกอบนี้เป็นส่วนนำหรือบทนำของรูปแบบเป็นการอธิบายหลักการ จุดมุ่งหมาย การจัดองค์การ การดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ การนำรูปแบบไปใช้ และเงื่อนไขของความสำเร็จ องค์ประกอบของรูปแบบมีส่วนประกอบ ดังนี้
   2.1 การบริหารจัดการทุนที่เป็นทุนมนุษย์ในชุมชนท้องถิ่น ดังนี้
      2.1.1 สถานศึกษานำหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนมาประยุกต์ใช้ในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แผนปฏิบัติการของสถานศึกษา 2.1.2 ประชุม ชี้แจงการนำเอาทุนทางสังคมมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษาแก่บุคลากรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ
      2.1.3 จัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่นอย่างถูกต้อง แก่บุคลากรในสถานศึกษา
      2.1.4 จัดโครงสร้างการบริหารบุคคลของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการทุนสังคมมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษา
      2.1.5 สนับสนุนแหล่งความรู้ และสารสนเทศเกี่ยวกับทุนทางสังคมที่มีในชุมชนท้องถิ่น ให้กับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง
      2.1.6 นำระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและจัดการศึกษา
        1) สถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชน
        2) เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดสภาพและบรรยากาศภายในสถานศึกษา
       3) เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดแนวนโยบาย และการวางแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
       4) สถานศึกษาจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ และจิตอาสา
       5) สถานศึกษาเปิดโอกาสให้องค์กรหรือหน่วยงานอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและส่งเสริมการเรียนรู้ในสถานศึกษา
2.2 การบริหารจัดการทุนที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนี้
    2.2.1 จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปของสาระเพิ่มเติมทุกระดับ
    2.2.2 บูรณาการวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
    2.2.3 สนับสนุนให้ครูสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่เป็นของสถานศึกษาโดยเฉพาะ โดยใช้ประโยชน์จากวิทยากร ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
    2.2.4 จัดทำคู่มือการใช้หลักสูตร และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางให้ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
    2.2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    2.2.6 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาที่มีในสถานศึกษา และมี การแสวงหาแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษาอย่างเป็นระบบสอดคล้องและเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
       1 ) สถานศึกษานำคุณลักษณะความมีคุณธรรม นำความรู้มาปรับปรุงวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในหลักสูตรสถานศึกษา
       2) จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาในท้องถิ่นในรูปของสาระเพิ่มเติมทุกระดับ
       3) บูรณาการวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการกำหนดหน่วยการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และแสวงหาแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษาอย่างเป็นระบบสอดคล้องและเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
       4) สนับสนุนให้ครูสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่เป็นของสถานศึกษาโดยเฉพาะ โดยประยุกต์ใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากวิทยากร ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
       5) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.3 การบริหารจัดการทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ดังนี้
    2.3.1 จัดอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาที่เน้นความร่มรื่น และมีความปลอดภัย
    2.3.2 จัดพื้นที่ภายในให้เกิดประโยชน์ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาของท้องถิ่น 2.3.3 มอบหมายให้นักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแลรักษาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา
    2.3.4 มีการวิเคราะห์ต้นทุน กำไร และความมีประสิทธิผล เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะลงทุนทางการศึกษาอย่างรอบคอบ
    2.3.5 ส่งเสริมและพัฒนาบรรยากาศด้านคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งในและนอกสถานศึกษา
       1) จัดพื้นที่ภายในให้เกิดประโยชน์ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และภูมิปัญญาของท้องถิ่น
       2) จัดอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาที่เน้นความสะอาด ร่มรื่น และมีความปลอดภัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้
       3) มอบหมายให้นักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดูแลรักษาอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา
       4) พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็ง ครูประจำชั้น / ครูที่ปรึกษาเอาใจใส่นักเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างใกล้ชิด
       5) ส่งเสริมและพัฒนาจิตสำนึกด้านคุณธรรมและจริยธรรม ทั้งในและนอกสถานศึกษา
  2.4 การบริหารจัดการทุนที่เป็นการบริหารจัดการ ดังนี้
    2.4.1 สถานศึกษานำหลักการทางทุนสังคมในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
    2.4.2 ประชุม ชี้แจงการนำเอารูปแบบการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษาแก่บุคลากรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ
    2.4.3 จัดโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการนำการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษา
    2.4.4 สนับสนุนแหล่งความรู้ และสารสนเทศเกี่ยวกับการบริหารจัดการให้กับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ
    2.4.5 นำระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารและจัดการศึกษา
        1) สถานศึกษานำหลักการมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
       2) ประชุม ชี้แจงการนำเอารูปแบบการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษาแก่บุคลากรและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบ
       3) จัดโครงสร้างการบริหารของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับการนำการบริหารจัดการมาใช้ในการบริหารและจัดการศึกษา
       4) สนับสนุนแหล่งความรู้ และสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการให้กับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ
       5) นำระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษามาบริหารและจัดการศึกษา
  2.5 การบริหารจัดการทุนที่เป็น สารสนเทศ ดังนี้
    2.5.1 สถานศึกษาจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
    2.5.2 สถานศึกษาจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สารสนเทศ ในสถานศึกษาเพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจ ชุมชน และหน่วยงานอื่น
    2.5.3 สถานศึกษามีการขยายผลและเผยแพร่ สารสนเทศ ผ่านนักเรียนสู่บุคคลในครอบครัวและชุมชน
    2.5.4 สถานศึกษาจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ ข้อมูลข่าวสาร และระบบสารสนเทศ ในชุมชน โดยมีบ้าน วัด และโรงเรียน เป็นแกน ในการดำเนินงานร่วมกัน
    2.5.5 สถานศึกษามีการจัดทำเอกสาร เว็บไซต์ ซีดี วีซีดี เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การดำเนินการของสถานศึกษาให้ชุมชนและหน่วยงานอื่นได้ทราบอย่างสม่ำเสมอ
       1) สถานศึกษานำบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
       2) สถานศึกษาจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ สารสนเทศ ในสถานศึกษาเพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจ ชุมชน และหน่วยงานอื่น
       3) สถานศึกษามีการขยายผลและเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศ ผ่านนักเรียนสู่บุคคลในครอบครัวและชุมชน โดยมีบ้าน วัด และโรงเรียน เป็นแกน ในการดำเนินงานร่วมกัน
       4) สถานศึกษาจัดกิจกรรมยกย่อง เชิดชู ครู นักเรียน ผู้ปกครองที่ดำรงชีวิตเป็นแบบอย่างที่ดีตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
       5) สถานศึกษามีการจัดทำเอกสาร เว็บไซต์ ซีดี วีซีดี เพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์การดำเนินการของสถานศึกษาให้ชุมชนและหน่วยงานอื่นได้ทราบอย่างสม่ำเสมอ

                                                                                                            ดร.เรวัต  สิงห์เรือง

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เจ้าพ่อพละงุม ของชาวพิมูล

เจ้าพ่อพละงุม ของชาวพิมูล

ดร.เรวัต สิงห์เรือง ผอ.โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี


เจ้าพ่อพละงุม เป็นมเหศักดิ์ของชาวอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ที่เคารพนับถือกันมาก บางความเชื่อกล่าวว่าเป็นเชื้อเจ้าชาวเมืองจำปาศักดิ์ที่มาตรวจราชการได้ถึงแก่อนิจกรรมลงที่ข้างสระแก้วซึ่งเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์หน้าวัดสระแก้ว ที่ใช้ชำระร่างกายก่อนเข้าทำพิธีทางศาสนา เหล่าทหารจึงฝังศพเจ้าพ่อพละงุมพร้อมกับแก้วแหวนเงินทอง ศาสตรา อาวุธไว้ที่นั่น แต่เดิมของศาลจะเป็นลักษณะเป็นเพิงมีเสาไม้แก่น 4 ต้น หลังคามุงหญ้า ยกพื้นสูงเพียงตา มีหมอนรูปทรง 3 เหลี่ยม(หมอนขิด)และเครื่องบูชา เซ่นไหว้ อยู่ทางทิศเหนือของสระแก้วข้างต้นตะเคียนทองคู่ในปัจจุบัน หรืออีกนัยหนึ่งอาจเป็นทหารที่ปกปักรักษา คุ้มครองปราสาทหินที่สร้างขึ้นมาดังปรากฏตามแผ่นหินที่ค้นพบเป็นรูปแกะสลักเป็นเทวรูปบนหินทรายที่รอการไขปริศนาจากนักโบราณคดีอยู่ ซึ่งเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันได้มีการสร้างศาลขึ้นโดยคนไทยคหบดีเชื้อสายจีน และชาวพิบูลมังสาหารที่เคารพศรัทธาได้อย่างสวยงามเพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะของชาวพิบูลมังสาหารโดยมีพิธีบวงสรวงบูชาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปีเสมอมา

ในลักษณะของมเหศักดิ์ที่ชาวอีสานได้นับถือยกย่องศรัทธามาตั้งแต่ในสมัยโบราณก่อนที่จะมีการ นับถือศาสนาพุทธ ชาวอีสานเชื่อกันว่าเป็นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้วยังคงดูแลคุ้มครองลูกหลานให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข กระทำแต่ความดี มีความรักใคร่สามัคคีกันที่มี นางเทียม หรือ เฒ่าจ้ำ เป็นสื่อกลางที่ดวงวิญญาณสามารถติดต่อกับลูกหลาน และจะต้องจัดให้มีการบูชาหรือบวงสรวงดวงวิญญาณมเหศักดิ์ ปีละ 1 ครั้งในราวเดือน 6 – 7 ของทุกปีที่เป็นประเพณีสืบทอดกันมาแต่โบราณที่เรียกว่า การลงข่วง ผู้ที่เคารพนับถือ หรือลูกหลานจะต้องเตรียมเครื่องสักการะที่ประกอบด้วย เทียนเวียนหัว ( ศีรษะ ) 1 เล่ม หมากพลู บุหรี่ 1 พาน ไก่ต้มสุก 1 ตัว สุรา 1 ขวด และ ดอกไม้ ธูปเทียนสำหรับเครื่องบวงสรวงนั้นจัดเป็น พาขวัญ 1 สำรับสูง 9 ชั้นที่ประกอบด้วย หัวหมูควบด้วยเท้าและหางต้มสุก ไก่ต้มสุก 1 ตัว มะพร้าวอ่อน 1 ลูก กล้วยสุก 1 หวี สำรับคาว หวาน หมากพลู บุหรี่ ขนม 5 อย่าง ผลไม้ 5 อย่าง ดอกไม้ ธูป เทียน น้ำอบ น้ำหอม ขัน 5 ใช้คารวะมเหศักดิ์ สุรา 1 ขวด โดยทำพิธีในการถือฤกษ์ เวลา ประมาณ 08.00 น.ไปจนจบพิธีการ ที่สำนักนางเทียม หรือ เฒ่าจ้ำ และจะมีการฟ้อนรำ เบิกดาบพระขรรค์คู่ สำหรับเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการฟ้อนรำ ขับกล่อมที่ประกอบด้วย แคน ฉิ่ง ในจังหวะที่เร้าใจ และเหล่านางเทียมที่สวมชุดที่สวยงาม มีผ้าห่มสไบเฉียงที่มีสีแดงเป็นหลัก ทัดดอกไม้ที่หู แล้วมีการแห่แหนเจ้าพ่อพละงุมรอบเมืองโดยมีทหารเอกที่เป็นตัวแลน(กิเลน) และเต่าร่วมขบวนด้วย เพื่อให้ผู้เคารพศรัทธาเซ่นไหว้ด้วยน้ำอบ น้ำหอม ธูป เทียน ดอกไม้แดง โดยมีผู้สืบทอดเชื้อสายเจ้าพ่อพละงุมเป็นผู้ประพรมน้ำ เพื่อเกิดความร่มเย็นจนรอบเมืองจึงอัญเชิญเข้าไปประดิษฐานที่ศาลเจ้าแล้วทำพิธีบวงสรวงที่เป็นขันหมากเบ็ง เครื่องบายศรีสู่ขวัญ ตามขั้นตอนจึงมีการล่องส่งเครื่องสักการะบูชา และสิ่งที่ไม่ดีฝากไปในที่เป็นลักษณะเรือและบ้าน ลอยไปตามกระแสน้ำ จึงเสร็จพิธีแล้วมีการแสดงถวายตามประเพณีจนถึงบ่าย ค่ำ

ซึ่งในการเคารพนับถือมเหศักดิ์เจ้าพ่อพละงุมนี้ จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อให้ลูกหลานชาวพิบูล มังสาหารกระทำขึ้นเพื่อขอพรจากมเหศักดิ์ให้ปกปักษ์รักษา คุ้มครองให้ประชาชน ชาวบ้าน ลูกหลานที่เคารพนับถือให้มีความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากเภทภัยทั้งปวง ให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารมีความอุดมสมบูรณ์ ทำมาค้าขายขึ้น มีความปลอดภัยในชีวิต ในการเดินทางและยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจหรือเป็นนัยที่ต้องการสร้างพลังศรัทธาในความเป็นคนที่มีความกตัญญูรักพี่น้อง บรรพบุรุษ มีความสามัคคีในหมู่คณะ รักถิ่นฐาน บ้านเกิด และตั้งใจประกอบอาชีพโดยสุจริตอีกด้วย ถือได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของชาวพิบูลมังสาหาร เป็นอัตตลักษณ์ของคน “เมืองพิมูล” สืบไป.