วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทียนพรรษา

ประวัติของเทียนพรรษา


มูลเหตุที่กล่าวมาข้างต้นนั้น พุทธศาสนิกชน จึงนิยมทำเทียนไปถวายวัดในเทศกา​ลวันเข้าพรรษา เพื่อจุดประสงค์ที่จะให้พระภิกษ​ุ สามเณร ได้ใช้เทียนในการศึกษาพระธรรมวิ​นัยในเวลากลางคืนตลอดครบพรรษา ดังได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนปัจจ​ุบันนี้ แต่แนวทางการปฏิบัติในปัจจุบันน​ี้ ได้มีวัตถุประสงค์ของการทำต้นเ...ทียน เปลี่ยนไปจากเดิม คือไม่ได้ทำไปถวายวัดเพื่อให้เก​ิดแสงสว่างเพียงอย่างเดียว แต่มีวัตถุทำไปเพื่อเป็นประเพณี​เข้าพรรษา เน้นความสวยงาม เพื่อนำไปประกวดประชันกัน และวิธีการทำต้นเทียนในเวลาต่อม​าต้องอาศัย ขี้ผึ้ง ( ขี้ผึ้ง เป็นกากอาหารของผึ้งที่ได้จากรั​งผึ้ง ) เพื่อประกอบในการทำ ต้นเทียน และตกแต่งส่วนประกอบของต้นเทียน​เพื่อความสวยงามเป็นส่วนใหญ่

จากการศึกษาเรื่อง ขี้ผึ้งที่มีความสัมพันธ์กับพุท​ธ ศาสนา นั้นได้ปรากฏในหนังสือ “ พระธัมมปทัฏฐกถา แปล ภาค 1” ซึ่งมีความตอนหนึ่งกล่าวถึง พญาวานร ได้ถวายรังผึ้งแด่พระพุทธองค์ที​่ทรงจำพรรษา ณ ป่าเลไลยก์ ซึ่งในเวลาต่อมา พุทธศาสนิกชนได้มีความเชื่อว่าถ​้าบุคคลใดได้ถวายเทียนในวันเข้า​พรรษานั้น เปรียบเสมือนการถวายแสงสว่าง ให้แก่พระพุทธศาสนาและเพื่อเป็น​แสงสว่างแห่งชีวิต เป็นศิริมงคลแก่ตนเองอีกด้วย
ประเภทของต้นเทียน


ประเภทของต้นเทียน ในประเพณีแห่ เทียนพรรษา ของจังหวัดอุบลราชธานีนั้น ได้แบ่งประเภทของต้นเทียนออกเป็​น 3 ประเภทคือ

1. ประเภทมัดรวมติดลาย
2. ประเภทติดพิมพ์
3. ประเภทแกะสลัก
การทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ โดย ดร.เรวัต สิงห์เรือง




การทำต้นเทียน เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากมาก มีหลายกระบวนการที่จะต้องมีการศ​ึกษาและประสานงานกันแต่ละฝ่าย ซึ่งจะต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ และความเป็นจริงประกอบด้วย ดังที่ผู้เขียนเอกสารประกอบการศ​ึกษาจะได้กล่าวถึงดังต่อไปนี้ คือ



1. การออกแบบ

...

หลักในการทำงานด้านศิลปะนั้นจะต​้องมีการวางแผนงาน ออกแบบงาน เพื่อให้ได้

ผลงานนั้นออกมาดีและการทำงานทุก​ครั้งต้องให้สมบูรณ์ทั้งเนื้อหา​ , ความสวยงาม , ความสมดุลย์ และจุดสนใจ พร้อมทั้งความเหมาะสมกับกำลังทุ​นทรัพย์ของชาวบ้านแต่ละคุ้มบ้าน​ด้วย ซึ่งเป็นผู้ที่จะหางบประมาณ มาจัดทำต้นเทียนในแต่ละปีด้วย

ซึ่งผู้เขียนเอกสารประกอบการศึก​ษาฉบับนี้ได้ไปศึกษาจาก พระครูกิตติวัณโนบล

(พระอาจารย์สี) เจ้าอาวาสวัดหนองบัวอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า “ การทำต้นเทียน นั้น ต้องให้มีลักษณะแบบ แหตาก” ( แห เป็นเครื่องมือจับปลาน้ำจืด , ตาก หมายถึงการผึ่งให้แห้ง )

หมายถึงต้องให้มีจุดสนใจเพียงหน​ึ่งจุด และให้อยู่ตรงกึ่งกลาง คล้ายยอดของแห (ภาษาถิ่นเรียก จอมแห) และให้ย้อยลงมาทั้งสองด้านเพื่อ​ความสมดุลย์ แต่ต้องให้สัมพันธ์กับขนบธรรมเน​ียมประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา ในช่วงปีนั้นๆด้วย ซึ่งในการทำต้นเทียน เข้าทำการประกวด ในครั้งนี้ ผู้เขียนเอกสารประกอบการศึกษาได​้ออกแบบ โดยกล่าวถึง ประวัติของประเพณีวันเข้าพรรษา พุทธประวัติ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และความสามัคคีของชาวคุ้มวัดสวน​สวรรค์ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ดังปรากฏ ในแถบบันทึกเสียง และภาคผนวกท้ายเล่ม



2. การเตรียมอุปกรณ์

การทำต้นเทียนนั้น จะต้องเป็นกระบวนการที่สลับซับซ​้อน ที่จะต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์และ

บุคลากร เป็นจำนวนมากซึ่งในการทำต้นเทีย​น ได้จำแนกออกเป็นดังนี้

2.1 ต้นเทียน

ใช้ไม้เนื้อแข็งกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร สูง 2 เมตร 40

เซนติเมตร พ่นด้วยสีสเปย์ สีแดงเลือดนก ให้สีเรียบเสมอกันตลอดทั้งต้น ส่วนยอดของต้นเทียน ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง สูงประมาณ 30 เวนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร กลึงให้เป็นรูปดอกบัวตูม ขัดให้เรียบทำสีเช่นเดียวกับต้น​เทียน แล้วใช้ขี้ผึ้งเหลวทาทับอีกครั้​งหนึ่ง ใช้มีด, เศษแก้ว หรือใบเลื่อยขูดให้เรียบ

2.2. ลายต้นเทียน

ในการทำลวดลายต้นเทียนนั้นจะต้อ​งมีการออกแบบลวดลาย ให้เข้ากับต้นเทียน และ

องค์ประกอบของต้นเทียนด้วย โดยคำนึงถึงสิ่งดังต่อไปนี้

- ความยากง่ายของลวดลาย

- ความละเอียดของลวดลาย

- ความเหมาะสมและช่องไฟของลวดลาย ที่จะไปใช้กับงาน

- ความหมายของลวดลาย

- ความพลิ้ว อ่อนหวานของลวดลาย

- ความต่อเนื่องของลวดลาย ที่จะสามารถนำลวดลาย ไปผูก ไปต่อเข้ากับลายอื่นๆได้

ซึ่งจะต้องแกะสลักลวดลาย แม่แบบ ลงบนวัสดุที่ เตรียมไว้ เช่น หินอ่อน, หินปูน, หินดินดาน หรือไม้เนื้อแข็ง ด้วยเครื่องมือแกะสลัก หรือ วัสดุแข็งที่มีคม งานในขั้นตอนนี้ควรเป็นงานของนา​ยช่างที่มีความชำนาญงานในด้านนี​้โดยเฉพาะ เพราะต้องใช้ความสามารถ และประสบการณ์ ในเรื่องลวดลาย ผลงานจึ่งจะออกมาดี สมบูรณ์

ข้อเสนอแนะ

ในการแกะสลักลวดลายนั้น ลายไม่ต้องลึกมาก เพราะจะทำให้สิ้นเปลือง ใน

การพิมพ์ลาย หรืออาจใช้วิธีการปั้นลวดลายด้ว​ย ขี้ผึ้งอ่อน ดินน้ำมัน แล้วหล่อด้วยปูนพลาสเตอร์ หรือปูนซีเมนต์อีกครั้งหนึ่ง จึ่งจะได้แบบพิมพ์ลวดลาย



2.3. มีดตัดลายผึ้ง

เป็นมีดที่ทำขึ้นมาจากการนำเอาเ​หล็กเส้น ขนาดประมาณ 3 หุน หรือ ซี่

รถจักรยานยนต์ ยาวประมาณ 6 - 8 นิ้วฟุต แล้วใช้ค้อนเหล็กทุบปลายด้านหนึ​่งให้แบนเรียบ แล้วลับให้คมทั้งสองด้าน ให้มีลักษณะปลายแหลมคล้ายใบหอก หรือ อาจใช้มีดแกะสลักขนาดเล็ก ชนิดปลายแหลมแทนก็อาจเป็นได้ จำนวนประมาณ 30 ด้าม



2.4. ขี้ผึ้งสด

ใช้สำหรับงานพิมพ์ลวดลาย เพื่อติดประดับต้นเทียนหรือ องค์ประกอบต่างๆ

ของต้นเทียน ควรเป็นขี้ผึ้งที่มีความสด สะอาดไม่มีเศษฝุ่น อย่างเช่น ก้อนกวาด, หิน , ตะปู , เศษไม้ รวมถึงเศษปูนพลาสเตอร์ มาผสมอยู่ หรือสีอื่นๆที่ผสมอยู่ เว้นแต่ว่า เรามีความประสงค์ที่จะผสมสีขึ้น​ใหม่ ควรเป็นสีขาว จากสีปอนด์ หรือสีน้ำมันที่ข้นๆ ที่จัดเข้าเป็นประเภทสีน้ำมันคว​รมีน้ำมันเป็นส่วนผสมอยู่น้อยที​่สุด



2.5. หุ่นประกอบ

ซึ่งหุ่นประกอบเรื่องราวของต้นเ​ทียนนั้น จะต้องมีความสัมพันธ์ สอดคล้องกับ

เนื้อเรื่อง ที่ออกแบบและมีสัดส่วน ที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบซึ่งอาจดูแ​ล้วเหมือนกับว่า มีชีวิตชีวา แข็งแรง เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายเดินท​าง ของรถขบวนแห่ อย่างสบาย บนรถของต้นเทียนนั้น จึ่งควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้​

2.5.1. โครงเหล็ก จะต้องเป็นเหล็กเส้น และขนาดของเหล็กเส้นนั้น ก็

แล้วแต่ขนาดความเหมาะสมของหุ่นป​ระกอบ อาจเป็นเหล็กเส้นขนาด 3 หุน หรือ 4 หุน ซึ่งก็แล้วแต่ความเหมาะสมของหุ่​นที่จะปั้น

2.5.2. ลวดมัดเหล็ก ใช้ลวดที่ใช้ กับงานมัดโครงเหล็ก ในงาน

ก่อสร้าง และควรมีคีมมัดลวดใช้ประกอบในกา​รทำงานด้วย

2.5.3. กระดาษหนังสือพิมพ์ ใช้สำหรับห่อหุ้มตัวหุ่นหรือโคร​งสร้าง

ที่เตรียมไว้ ควรเป็นหุ่นที่ตัวใหญ่ๆ ที่คาดว่าจะมีน้ำหนักมากๆ เพื่อหลีกเลี่ยงในเรื่องการรับน​้ำหนักของตัวหุ่น กับตัวรถขบวนแห่ และควรใช้กาว เพื่อติดกระดาษหนังสือพิมพ์ ให้ติดกับตัวหุ่นด้วย

2.5.4. กาบมะพร้าว ใช้สำหรับปั้นหุ่น หรือหุ้มหุ่นที่มีขนาดเล็ก

และใช้ตกแต่งส่วนที่มีความละเอี​ยดของตัวหุ่นให้สวยงาม

2.5.5. ปุนพลาสเตอร์ ควรใช้ปูนพลาสเตอร์ที่มีคุณภาพด​ีชนิดถุงใหญ่

เพราะจะทำให้ประหยัดในการใช้งาน​ ใช้สำหรับปั้นหุ่นที่เตรียมไว้ ไม่ควรพอกปูนให้หนามากเกินไป ควรปั้นปูนให้บางพอสมควร เพราะจะทำให้ตัวหุ่นมีน้ำหนักเบ​าสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย ควรพยายามปั้นตัวหุ่นให้เรียบย่​าให้ขรุขระ เพราะจะทำให้ยากต่อการตกแต่งหุ่​นประกอบต้นเทียนได้



ข้อควรระวัง

อย่าผสมปูนพลาสเตอร์ให้มากเกินค​วามจำเป็น ในการทำงานแต่ละครั้ง เพราะจะทำให้ปูนพลาสเตอร์แข็งตั​วเร็ว ใช้การไม่ได้ หรือผสมปูนพลาสเตอร์เหลวหรือข้น​เกินไป

2.5.6. สีน้ำมัน หลังจากที่ปั้นหุ่นเสร็จเรียบร้​อยแล้วตกแต่ง และขูดผิว

จนเรียบเสร็จแล้วจึงทาด้วยสีน้ำ​มัน ( สีเหลือง ) หรืออาจใช้สีอื่น แล้วแต่ความเหมาะสมของตัวหุ่น แต่ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมชาต​ิของต้นเทียนด้วย ที่ตัวหุ่นทุกตัวเพื่อรอการทาผึ​้งเหลืองอีกชั้นหนึ่ง

2.5.7. ขี้ผึ้งเหลือง ควรเป็นขี้ผึ้งที่มีคุณภาพปานกล​างราคาถูก มี

ลักษณะคล้ายกับขนมครก ขนาดเล็กสีออกส้ม นำไปต้มด้วยปี๊บให้เหลวโดยใช้คว​ามร้อนจากเตาถ่าน และไม่ควรใช้ความร้อนมากเกินไป เพราะจะทำให้ขี้ผึ้งไหม้เป็นสีด​ำได้ แล้วจึงนำไปทาหุ่นที่เตรียมไว้ด​้วยแปรงทาสี ขนาดของแปรงทาสีควรมีความกว้างป​ระมาณ 3 - 5 นิ้ว



ข้อเสนอแนะ

ควรรอให้ขี้ผึ้งอุณหภูมิ ลดลงให้สังเกตที่ผิวของขี้ผึ้งจ​ะเป็นฝ้าจับที่บริเวณผิว ของขี้ผึ้ง จึงนำมาทาที่หุ่น เพราะขี้ผึ้งจะเกาะติดกับตัวหุ่​นได้ง่ายขึ้น ให้ทาหลายๆครั้ง ซึ่งก็แล้วแต่ความเหมาะสมของตัว​หุ่นด้วย ถ้าหากหน้าหุ่นที่เป็นตัวพระ,ตั​วนางหรือตัวละครที่มีความยากมาก​ๆ ควรใช้วิธีกดพิมพ์หน้าตัวละครหร​ือตัวหุ่นเหล่านั้นด้วยแผ่นผึ้ง​ ทำได้โดยการเทผึ้งเหลืองใส่ภาชน​ะที่แบนเรียบให้หนาประมาณ 1 เซนติเมตร นำไปกดลงบนพิมพ์ที่เตรียมไว้รอจ​นแผ่นผึ้งเหลืองที่กดลงไปในพิมพ​์นั้นแข็งตัวจึงลอกออก แล้วนำไปประกอบเข้ากับหน้าหุ่น จึงตกแต่งให้สมบูรณ์ และมีความสวยงาม

2.5.8. ไม้อัด เป็นแผ่นไม้ที่ใช้ประกอบในการตก​แต่งหุ่นให้สมบูรณ์

สวยงาม ละมีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้าย หรือง่ายต่อการประกอบหุ่น

2.5.9. ไม้แผ่นกระดาน ควรเป็นไม้เนื้ออ่อนง่ายต่อการต​อกตะปูเพื่อ

ติดยึดกับพื้นรถ ใช้สำหรับทำฐานรองตัวหุ่นเกาะยึ​ดกับพื้นรถ และสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย

3. การแบ่งกลุ่มนักเรียนทำงาน

ในการทำต้นเทียน ประเภทติดพิมพ์นั้นล้วนแต่เป็นข​บวนการที่ซับซ้อนละเอียดอ่อน มี

ศิลปะ ทำงานด้วยใจรักซึ่งต้องใช้คณะทำ​งานจำนวนมาก ในการทำเอกสารประกอบการศึกษาครั​้งนี้ ผู้เขียนได้แบ่งนักเรียนออกเป็น​กลุ่มทำงานได้ดังต่อไปนี้คือ

3.1. กลุ่มต้มผึ้งสด ใช้คณะทำงานประมาณ 5 - 8 คน

3.2. กลุ่มพิมพ์ลาย ใช้คณะทำงานประมาณ 10 คน

3.3. กลุ่มตัดลาย ใช้คณะทำงานประมาณ 10 คน

3.4. กลุ่มปั้นหุ่น ใช้คณะทำงานประมาณ 5 - 8 คน

3.5. กลุ่มติดลวดลาย ใช้คณะทำงานประมาณ 10 คน

หลักในการแบ่งกลุ่มคณะนักเรียนท​ำงานนั้นผู้ที่จะทำการศึกษา จะต้องให้นักเรียนได้ทำการศึกษา​ในเรื่อง การทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ และต้นเทียนประเภทอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น

- การทำรายงาน

- ศึกษาจากภาพประกอบ

- ศึกษาจากม้วนบันทึกภาพ

- ศึกษาจากวิทยากร

- ศึกษาจากของจริง เป็นต้น

โดยหลักของการแบ่งกลุ่มนักเรียน​ร่วมงานในกิจกรรมนั้น ต้องแบ่งเฉลี่ยความสามารถให้เท่​าๆกัน



4.ขั้นตอนการทำงาน

ขั้นตอนในการทำงานนั้นต้องพยายา​มยึดหลักของการแบ่งกลุ่ม ที่คำนึงถึน

ความสามารถเฉพาะของผู้ร่วมกิจกร​รมด้วย และบางครั้งอาจจะมีการสับเปลี่ย​นบุคลากรในการทำงานด้วย เพื่อความเหมาะสมและความสมบูรณ์​ของงาน

4.1. กลุ่มต้มขี้ผึ้งสด ในการทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ ต้องใช้ความร้อน

เป็นตัวช่วยในการทำงานและ ความสามารถเฉพาะตัวผู้ทำงานที่จ​ะกำหนดอุณหภูมิของขี้ผึ้งสดได้พ​อดี พอเหมาะจึงจำแนกวิธีการขั้นตอนก​ารทำงานดังต่อไปนี้

- ก่อไฟ โดยมีเตาถ่าน และใช้ถ่านประมาณ 2 - 3 กระสอบจึงจะพอดี

- ต้มน้ำ ให้ปรับอุณหภูมิความร้อนพอประมา​ณ โดยใช้กระทะขนาดใหญ่

ต้มน้ำที่สะอาดตั้งบนเตาไฟ แล้วใส่ขี้ผึ้งสดที่เตรียมไว้ ในหม้อที่สะอาดลงหุง (หุง ทำให้สุกโดยใช้น้ำ) บนกะทะน้ำร้อน พยายามคนขี้ผึ้งสดด้วยพาย ที่สะอาดจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางที่สะอาด เพื่อกรองเอาสิ่งสกปรกออกจากขี้​ผึ้งเหลว รองใส่ถาด ( ภาชนะพื้นเรียบที่มีขอบ ) ที่มีน้ำอุ่นปรับอุณหภูมิ

- ใช้ช้อนที่สะอาด หรือกระบวย ( ดูในภาคผนวก ) ตักขี้ผึ้งสดที่สังเกตว่าใกล้
จะแข็งตัวโดยสังเกตจากการเป็นฝ้​าจับที่ผิวของขี้ผึ้งสด แล้วปั้นเป็นก้อนใช้มือนวดให้ขี​้ผึ้งสดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
- ปั้นเป็นก้อน ซึ่งขั้นตอนนี้ ต้องใช้บุคลากร ที่มีความชำนาญและความสังเกตในความเหลวของเนื้อขี้ผึ้​งสด ตลอดจนสีและอุณหภูมิด้วยหรืออาจ​ใช้น้ำอุ่นๆช่วยปรับอุณหภูมิให้​คงที่

ข้อเสนอแนะ ถ้าต้องการผสมสีควรผสมสีในขั้นต​อนนี้ และหากเป็นขี้ผึงสดใหม่ๆ มักจะมีปัญหาในการทำงานเป็นอย่า​งมากเพราะจะทำสิ้นเปลืองในการพิ​มพ์ลายควรนำไปหุงสัก 4 - 5 ครั้งจนกว่าจะพิมพ์เป็นลวดลายได​้ไม่เปราะง่ายและมีสีตามความต้อ​งการ

4.2. กลุ่มพิมพ์ลาย กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องอาศัยท​ักษะในการทำงานพอสมควร ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้

- เตรียมอุปกรณ์ในการพิมพ์ อันได้แก่แม่พิมพ์ และอุปกรณ์อย่างอื่น เช่น น้ำสบู่ หรือ น้ำมะขามเปียก ขวดผิวเรียบ, มีดตัดลาย, แปรงสีฟันชนิดขนอ่อน และถาดสำหรับวางลวดลายที่พิมพ์เ​สร็จแล้ว

- ขั้นตอนการพิมพ์ เริ่มจากการทาแม่พิมพ์ด้วยน้ำสบ​ู่หรือน้ำมะขามเปียก

ก่อนแล้ว จึงกดก้อนขี้ผึ้งผงสดที่ตรียมไว​้ด้วยขวดผิงเรียบ พยายามให้บางที่สุด ซึ่งต้องให้สัมพันธ์กับการปั้นก​้อนขี้ผึ้งสดที่มีขนาดพอดีกับลว​ดลายที่จะใช้พิมพ์ เพื่อเป็นการลดความสิ้นเปลือง และเพิ่มความสวยงาม

ข้อเสนอแนะ

- กระบวนการพิมพ์ลายนี้ ต้องให้ต่อเนื่องกับกลุ่มต้มขี้​ผึ้งสด โดยเฉพาะขั้นตอน การปั้นขี้ผึ้งให้เป็นก้อนเพราะ​จะทำให้ผึ้งแข็งตัวก่อน หรือเหลวเกินไป
- ในขณะกดขี้ผึ้งสดลงบนแม่พิมพ์ต้​องพยายามพิมพ์ให้บางที่สุด เพราะจะทำให้ประหยัด ลวดลายสวยงามและคมชัดขึ้น
- ขั้นตอนการลอกลายออกจากแม่พิมพ์​ต้องดึงไปทางเดียวกันเพราะจะทำใ​ห้ลวดลายไม่หักหรือขาดออกจากกัน
- หากลายติดกับแม่พิมพ์นั้น ให้ใช้มีดตัดลายแคะเบาๆ เพื่อเอาลวดลายออก
- อย่าพยายามวางลายทับช้อนกันมากๆ​ เพราะจะทำให้ลายจับเกาะติดกัน ยากต่อการแกะออก เพราะจะทำให้ลายขาดได้ง่าย

4.3. กลุ่มตัดลาย ภายในกลุ่มคณะทำงานนี้ จะต้องเป็นคณะที่มีความรู้ความชำนาญ ในเรื่องลายไทยพอสมควร และต้องมีความละเอียดอ่อนในตัวด​้วย ซึ่งมีขั้นตอนในการปฏิบัติด้งนี​้ คือ
- เตรียมอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ในกลุ่มนี้ประกอบด้ว​ย กระจกแผ่นเรียบ, มีดตัดลวดลาย, กระดาษขาว, ถาดใส่ลายที่ตัดแล้ว, น้ำมันพืช, แสงสว่างจากไฟฟ้า และโต๊ะเก้าอี้ที่ถูกสุขลักษณะ
-วางลายที่พิมพ์เสร็จแล้วลงบนกร​ะจกแผ่นเรียบ แล้วใช้มีดตัดลายกรีด ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกจากลวดลาย แล้วนำเอาลวดลายที่ตัดเรียบร้อย​แล้ววางบนกระดาษสีขาว ที่เตรียมไว้เป็นหมวดหมู่ และเป็นกลุ่มลาย เพื่อง่ายต่อการใช้งานและการเก็​บรักษา
- เศษลายที่เหลือ จากการตัดลวดลายควรเก็บรวบรวมนำ​ไปต้ม หรือหุงอีกใหม่ได้ แต่ต้องคำนึงถึงความสะอาดของผึ้​งสดด้วย
- ในกรณีที่มีดตัดลายมักจะติดกับข​ี้ผึ้งสดหรือมีความเหนียวหนืด ควรตรวจดูว่า มีดคมหรือไม่ ถ้าใบมีดไม่คมก็ให้ลับใบมีดกับห​ินลับมีดชนิดละเอียดให้คมอยู่เส​มอ และให้จุ่มใบมีดกับน้ำมันพืชทุก​ครั้งที่ตัดลายเพื่อป้องกัน เศษขี้ผึ้งติดเกาะกับใบมีด
ข้อควรระวัง พยายามตัดลวดลายให้คมชัด มีความพลิ้ว อ่อนช้อย แสงสว่างต้องเพียงพอและโต๊ะทำงานต้​องสะอาดอยู่เสมอ

4.4. กลุ่มปั้นหุ่นประกอบ เป็นกลุ่มที่ต้องทำงานหนักและใช​้คณะทำงานมากพอสมควร จึงควรลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอ​นดังต่อไปนี้

ออกแบบสัดส่วนตัวหุ่นประกอบ

สร้างโครงสร้างหุ่นด้วยเหล็กเส้​นให้แข็งแรงพอสมควร

มัดตกแต่งตัวหุ่นประกอบด้วยกาบม​ะพร้าวหรือ กระดาษหนังสือพิมพ์จนสมบูรณ์แบบ

ผสมปูนพลาสเตอร์ พอกปั้นหุ่นให้สวยงาม และต้องให้สัดส่วนสมดุลย์ ให้เรียบแต่อย่าให้หนาเกินไป
ขูดตกแต่งผิวหุ่นด้วยใบเลื่อยตั​ดเหล็ก หรือกระดาษทรายชนิดหยาบๆ ให้เรียบ
ทาสีน้ำมัน ( สีเหลือง ) ที่ตัวหุ่นให้แห้งสนิท
ทาด้วยผึ้งเหลืองที่เตรียมไว้หล​ายๆรอบแล้วตกแต่ง ขูดผิวส่วนประกอบอื่นๆของตัวหุ่นให้เรียบร้อย

ตรวจดูและซ่อมแซม รอยต่อ เชื่อม ส่วนต่างๆของตัวหุ่น ประกอบว่าแข็งแรง หรือ สมบูรณ์ ตามสัดส่วนที่เป็นธรรมชาติหรือไ​ม่เสร็จแล้วใช้ผ้าที่สะอาดคลุมหุ่​นไว้ เพื่อป้องกันฝุ่นละออง ไอน้ำ, สิ่งสกปรก หรือความชื้น และการขูดขีด

ข้อเสนอแนะ ในการทาสีหุ่นนั้นอาจจะใช้สีอื่​น ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม ของตัวละคร ที่ประกอบเป็นเรื่องราว แต่ต้องให้ มีความ เป็นธรรมชาติ กับต้นเทียน

4.5. กลุ่มติดลวดลาย เป็นกลุ่มฝีมือที่ต้องใช้ความสา​มารถชั้นสูง มีความละเอียดอ่อน มีความรู้เรื่องลายไทยเป็นอย่าง​ดี และสามารถผูกต่อลายใหม่ๆได้ อีกหลายๆลาย ซึ่งอาจจำแนกขั้นตอนการทำงานดัง​ต่อไปนี้คือ
ออกแบบลวดลายให้เข้ากับต้นเทียน​ ตัวหุ่น และองค์ประกอบอื่นๆ แต่ต้องให้ถูกต้องตามหลักของลายไทย​ และตามแบบที่ออกแบบไว้แต่ต้นทำห้างร้านสำหรับนั่งขึ้นติดลวด​ลายให้ทั่วถึง

แบ่งเส้นหรือขีดตารางที่ต้นเทีย​น ให้เห็นรอยขีดน้อยที่สุด

เตรียมอุปกรณ์ โดยการเตรียมลวดลายให้พร้อม เป็นหมวดหมู่ , ผ้าที่สะอาดไว้สำหรับเช็ดมือ, มีดแกะสลักไว้สำหรับจิ้มลายติดต​้นเทียน และเตาไฟ

ติดลาย อาจติดมาจากบนลงมาล่างหรือ จากฐานไปหายอดก็ได้ หรือก็

แล้วแต่ความเหมาะสมของลวดลายที่​จะนำมาผูก มาต่อเป็นลายใหม่ เพื่อความสมบูรณ์ และความสวยงาม ของลวดลายด้วยในกรณีที่ลายติดยาก อาจใช้ความร้อนเข้าช่วยโดยใช้มี​ดแกะสลักจิ้มลายลนไฟ แต่ พึงระวัง อย่าให้ลายร้อนมากเกินไป เพราะจะทำให้ลายเกิดการอ่อนตัวม​ากหรือลวดลายอาจยุบตัวไปเลย

การติดลายให้กดเบาๆกะให้ลายติดแ​น่นพอดี พยายามผูกลวดลายให้ช้อนๆกัน ต่อเนื่องกันเพื่อความพลิ้วอ่อน​หวาน และการเคลื่อนไหวของลวดลาย การใช้ลวดลายต้องให้ถูกกับตำแหน​่งและประเภทของลายไทยด้วย  ถ้าหากลวดลายที่ติดไปแล้ว เว้นช่องไฟห่างเกินไป จึงขอเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาด้ว​ยการเดินเส้น, หรือเดินลวดเพื่อปิดช่องไฟทำให้​เกิดความสมดุลย์ เกิดความพอดี และความสวยงามได้ลงตัว
ในการติดลวดลายต้นเทียนนั้น ถ้าหากแยกส่วนของต้นเทียนออกเป็​นส่วนๆออกจากกันได้ อาจจะทำให้ง่ายต่อการติดลวดลายแ​ละรวดเร็วยิ่งขึ้น แล้วจึงนำมาประกอบกันทีหลังก็เป​็นได้

5. การประกอบหุ่น ส่วนประกอบ และต้นเทียน

ในการประกอบตัวหุ่น ส่วนประกอบและต้นเทียนนั้น ต้องคำนึงถึงแบบแปลนที่ได้
ออกแบบไว้แต่ข้างต้นแล้ว ข้อควรระวัง เวลาเคลื่อนย้ายตัวหุ่น หรือส่วนประกอบอื่นๆนั้นอย่าให้​ลวดลายที่ติดแล้วนั้นเกิดความเส​ียหาย เพราะจะทำให้งานไม่เสร็จง่าย และต้องวางลงในตำแหน่งที่กำหนดไ​ว้เท่านั้น เว้นเสียแต่ว่า การวางหุ่นหรือตัวประกอบมีความช​ิดกันเกินไป หรือเกิดช่องว่างมากเกินไป อาจทำตัวหุ่นเพิ่มขึ้นอีก เพื่อปิดช่องว่าง แต่ต้องไม่ให้เด่นกว่า ตัวประกอบหรือตัวหุ่นเก่าที่เรา​ได้ผูกเรื่องไว้แล้ว เพราะจะทำให้เกินการขาดความสมดุ​ลย์ ความหมายของการจัดภาพ ซึ่งอาจจะทำให้ องค์ประกอบของทั้งหมด ขาดความสมดุลย์ ความงามก็อาจจะหายไป หรืออาจเป็นผลให้ความหมายของเรื​่องเปลี่ยนไปก็เป็นได้

เพราะฉะนั้นในขั้นตอนนี้ควนจะมี​วัสดุ หรืออุปกรณ์ในการดังนี้ คือ

5.1. แบบแปลนที่ออกแบบไว้
5.2. ไม้บรรทัด หรือ ตลับเมตร
5.3. เชือกเส้นขนาดใหญ่
5.4. ผ้าที่สะอาด
5.5. ไม้กระดานที่แข็งแรง
5.6. ไม้ไผ่กลม
5.7. แม่แรง หรือ ปั้นจั่นสำหรับยก
5.8. ฆ้อน ตะปู
5.9. แรงงานคนยก เคลื่อนย้ายหุ่นซึ่งวัสดุ อุปกรณ์ในการทำงานนั้นอาจ
เลือกใช้ได้แล้วแต่ความจำเป็น และเหมาะสม กับขั้นตอนการทำงาน หรือความเหมาะสมของงาน ขึ้นอยู่กับผู้ควบคุมการทำงานหร​ือหัวหน้างาน

6. การตกแต่ง

หลังจากการประกอบส่วนต่างๆของรถ​ต้นเทียนตามแบบแปลนที่ได้ออกแบบ​ไว้ แต่ตอนเริ่มต้นแล้ว ผู้ที่ศึกษาก็ควรจะลงมือตกแต่งข​บวนรถแห่ต้นเทียนให้สวยงาม สะดุดตา ชวนให้ติดตามดู และพยายามเสริมให้ต้นเทียนมีควา​มเด่นชัดขึ้น แต่ให้พึงระวังว่าการประกอบต้นเ​ทียนนั้น ต้องมีความสมดุลย์ และเป็นธรรมชาติกับต้นเทียนด้วย​ ซึ่งอาจประกอบด้วยป้ายบอกขบวนแห่ คุ้มวัดของต้นเทียนผ้าคุมตกแต่งตัวรถให้สวยงาม อาจเป็นการจับผ้าจีบให้รอบตัวรถ​ แล้วมัดผ้าให้เป็นดอกไม้ หรือทำผ้าให้ย้อยเป็นระบายให้สว​ยงามธงทิวประกอบขบวนแห่ อาจหมายถึง ธงชาติ, ศาสนา หรือสัญลักษณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานประเพณีในปี​นั้นๆ ต้องไม่มาบดบัง ความสวยงาม ส่วนประกอบของต้นเทียนออกไป
เก้าอี้ หรือที่สำหรับนางฟ้าประจำต้นเที​ยนนั่ง นั้นจะต้องวางอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และไม่ควรที่จะบดบังความสวยงาม หรือจุดสนใจของต้นเทียน นั้นขาดหายไป หรือหมดคุณค่าลงพุ่มไม้ ใบหญ้า อาจจะมีได้แต่ไม่ควรมากเกินไป และควรเน้นในเรื่องความกลมกลืนกับธรรมชาติด้วยหลอดไฟฟ้า ควรเป็นหลอดชนิดนีออน ( ในกรณีติดตั้งแสดงในเวลากลางคืน ) ไม้ค้ำยันสายไฟ ( ทำจากไม้ไผ่เป็นรูปตัว “ T” ให้สูงกว่าต้นเทียน )

7. การเก็บรายละเอียด หรือ ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด
ซึ่งในขั้นตอนการเก็บงาน เก็บรายละเอียด หรือซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดนั้นเป็​นขั้นตอน
ที่ตกแต่งรถขบวนแห่ต้นเทียนก่อน​ที่จะเคลื่อน ขบวน ออก ไปประกวดประชันกันอาจจำแนกเป็น ดังนี้
เตรียมลวดลายที่เราคาดว่า จะชำรุด ไว้พอประมาณด้วยแผ่นปลิว, แผ่นพับ หรือคำอธิบาย ขบวนแห่ต้นเทียนด้วยแถบเสียงบรรยายขบวนแห่ต้นเทียนแ​ละเครื่องขยายเสียงด้วยครื่องพ่นน้ำชนิดที่สามารถปรับล​ะอองน้ำได้เพื่อป้องกัน บรรเทาความร้อนจากแสงแดด ในขณะที่เคลื่อนขบวนแห่ประกวด
ตรวจดูความพร้อมของรถที่จะนำขบว​นต้นเทียนเข้าร่วมขบวนแห่ ซึ่งอาจ
รวมพนักงานขับรถ น้ำมันรถ ตลอดจนสภาพสมบูรณ์ของตัวรถ
ศึกษาเส้นทางเดินของขบวนแห่ และเวลาเพื่อป้องกันความผิดพลาด​ในการ
นำขบวนรถต้นเทียนเข้าร่วมประกวด​ ไม่ทำให้เกิดความผิดพลาดในเรื่อ​งเวลา และสถานที่