วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนทางสังคมในท้องถิ่นสู่คุณภาพ

หัวข้องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนทางสังคมในท้องถิ่นสู่คุณภาพ


การศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล, 363 หน้า.

ผู้วิจัย ดร.เรวัต สิงห์เรือง

ปี พ.ศ. 2553
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพการจัดการทุนทางสังคมของสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการทุนทางสังคมในท้องถิ่นสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน โรงเรียนต้นแบบ และโรงเรียนในฝัน จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการจัดการทุนทางสังคมในสถานศึกษาในท้องถิ่น

ผู้บริหาร ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาเห็นว่าทุนทางสังคมในด้านทุนมนุษย์ ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนการบริหารจัดการองค์กร และทุนทางสังคมที่เป็นสารสนเทศส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทุนมนุษย์ รองลงมาคือ ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทางการบริหารจัดการองค์การ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและทุนทางสังคมที่เป็นสารสนเทศ ตามลำดับ

การจัดการทุนทางสังคมของสถานศึกษาในท้องถิ่นของโรงเรียนสังกัดเทศบาล ในด้านทุนมนุษย์ มีการดำเนินงานในระดับมากที่สุดคือ มีการร่วมมือของผู้ปกครองกลุ่มสถานศึกษา สมาคม ชมรม ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในการแสวงหาความร่วมมือในการสนับสนุนงานการศึกษาและการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง การจัดการทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการดำเนินงานในระดับมากที่สุดคือมีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้อื่นๆที่ส่งเสริมคุณ จริยธรรมในสถานศึกษา ด้านทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ มีการดำเนินงานในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในของสถานศึกษาให้ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านทุนทางการบริหารจัดการองค์การมีการดำเนินงานในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาให้ครอบคลุมโครงสร้าง ภารกิจ บุคลากร เทคโนโลยีและกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น และในด้านทุนทางสังคมที่เป็นสารสนเทศมีการดำเนินงานในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สถานศึกษามีการพัฒนา การใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอนและการบริหารได้

2. การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนทางสังคมในท้องถิ่นสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล

รูปแบบการการจัดการทุนทางสังคมในท้องถิ่นสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล มีองค์ประกอบของการบริหารจัดการได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย การจัดองค์การ การดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ การนำไปใช้และเงื่อนไขของความสำเร็จของการจัดการทุนทางสังคมที่เอื้อต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นใน 5 ด้านคือ ทุนทางสังคมที่เป็นทุนมนุษย์ ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางการบริหารจัดการองค์การ และทุนทางสังคมที่เป็นสารสนเทศ โดยการนำรูปแบบการจัดการทุนทางสังคม ไปใช้ในสถานศึกษาต้องมีแผนยุทธศาสตร์ กลไก ขั้นตอน วิธีการอย่างเป็นระบบทั้งด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอนและการพัฒนาบุคลากร โดยกำหนดโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องรวมถึงเงื่อนไขความสำเร็จ รูปแบบการจัดการทุนทางสังคมสู่คุณภาพการศึกษาในท้องถิ่นจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาในท้องถิ่น 3 ด้านคือ 1) คุณภาพของสถานศึกษา 2) คุณภาพของนักเรียน และ 3) คุณภาพของครูและบุคลากรในสถานศึกษา.

                              




Title Administrative Model of Social Capital Management for

Education Quality of Municipal School

Author Dr. Rewat Singruang

Years 2010

                                    ABSTRACT


The purposes of this research were 1) to study characteristic of social capital management of school in local and 2) to develop model of social capital management efforts to quality of education in local. The population composed of administrators, teachers and school’s committees in awarded school, originated school and dreaming school for 90 respondents. The research instruments were questionnaire and interview. The statistics were percentage, mean and standard deviation.

The research findings were as follows:

1. The characteristic of social capital management in local school

The administrators, teachers and school’s board view that there are 5 elements of social capital influential in school management namely human, culture and folk wisdom, natural resources, administration and management and information technology sequentially

Social capital management in local school, human resources is the most active capital furthermore enhanced achievement of school administrated by participation and cooperation of parents, community, educational related firm and concerned unit. Culture and folk wisdom, had implemented in high level as the second sequence. To encouraged learner in moral and ethic by providing variety learning organization in classroom and others knowledge center is necessary.

Natural resources activated to the population in high level every item. The highest average item was the school environment organization that support effective learning and learner’s safety. Administration and management capital had high level of implementation every item. The highest average item was to set the development policy by obligated structure, mission, personnel, technology and strategy in accordance of current situation , need and problem of community. The information technology had high level of implementation every item. The highest average item was school has development the utilization of media and technology to be a part of learning organization and administrative procedure.

2. The Development of model in social capital management efforts to local education quality

The model of social capital management efforts to local education quality compose of principle of management such as core principle, objective, administration and management success indicator, practicability . Thus, The systematic planning for strategy, motivative function, procedure and methodology including sophisticated plan to manage human capital, culture and folk wisdom capital, natural resources capital, administration and management capital and information technology capital is a must. Setting up the related project or campaign are conditions to achieve the social capital management in local school. The effective model of social capital management efforts to local school education quality enhanced achievement on 3 parts as follow 1) quality of school 2) quality of student and 3) quality of teachers and personnel in school.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น